ชวรัตน์ ชาญวีรกูล

อดีตรักษาการนายกรัฐมนตรีไทย

ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2479) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรักษาการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หลังสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากถูกตัดสิทธิ์จากการเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนที่ถูกสั่งยุบลง นอกจากนี้ ยังเป็นประธานกรรมการบริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน)

ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ชวรัตน์ ใน พ.ศ. 2552
รักษาการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 14 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(นายกรัฐมนตรี)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 83 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
สนั่น ขจรประศาสน์
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ
สุวิทย์ คุณกิตติ
สหัส บัณฑิตกุล
ถัดไปสุเทพ เทือกสุบรรณ
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
สนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 232 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าโกวิท วัฒนะ
ถัดไปยงยุทธ วิชัยดิษฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 23 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 52 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าไชยา สะสมทรัพย์
ถัดไปเฉลิม อยู่บำรุง
หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
(3 ปี 242 วัน)
ก่อนหน้าพิพัฒน์ พรมวราภรณ์
ถัดไปอนุทิน ชาญวีรกูล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2479 (87 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสทัศนีย์ ชาญวีรกูล
บุตร
ลายมือชื่อ

ชวรัตน์เป็นบิดาของอนุทิน ชาญวีรกูล นักการเมืองชาวไทย

ประวัติ แก้

ชวรัตน์ ชาญวีรกูล มีชื่อเล่นว่า "จิ้น" คนในสภานิยมเรียก "ปู่จิ้น" เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน และได้ร่วมอบรมหลักสูตร Chairman 2000 รุ่นที่ 3/2001 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) อีกทั้งอบรมหลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 17/2004 สมาคมส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย (IOD)

เขาสมรสกับนางทัศนีย์ ชาญวีรกูล มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นชาย 2 คน คือ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ มาศถวิน ชาญวีรกูล และหญิง 1 คน คือนางสาวอนิลรัตน์ ชาญวีรกูล

การทำงาน แก้

เขาเริ่มทำงานในสายธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2505 ได้ก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทขึ้น ใช้ชื่อว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (STECON) ก่อนจะรับงานสัมปทานระดับ "เมกะโปรเจกต์" ของรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ พ.ศ. 2537 ผลงานที่สร้างชื่อ เช่น งานก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 12,260 ล้านบาท, ก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรี วงเงิน 4,325 ล้านบาท, งานโรงงานไฟฟ้าแก่งคอย 2,534 ล้านบาท, การก่อสร้างโรงงานไฟฟ้ากรุงเทพใต้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2,360 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ สัปปายะสภาสถาน วงเงิน 12,000 ล้านบาท

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง แก้

เขามีสายสัมพันธ์ทางการเมืองมาเป็นระยะเวลานาน เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2539 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ[1] ในโควตาพรรคชาติพัฒนา จากนั้นภายหลังพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง และทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ชวรัตน์ได้หันไปอยู่เบื้องหลังสนับสนุนอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชายซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดทักษิณ และเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยแทน แต่หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรค ทำให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คน รวมถึงอนุทิน ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ในปี พ.ศ. 2551 ชวรัตน์จึงกลับมารับตำแหน่งทางการเมืองอีกครั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่งสืบทอดมาจากพรรคไทยรักไทย และชนะการเลือกตั้งครั้งนั้น โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ในโควตาของกลุ่มคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[2] ตามโควตาของอนุทิน ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์

หลังจากที่สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากนายกรัฐมนตรี หลังถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองในฐานะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนเนื่องจากถูกยุบพรรค ชวรัตน์ได้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี[3] ต่อมา เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขของสภาผู้แทนราษฎร หลังจากนั้น ชวรัตน์ก็ได้วางมือทางการเมือง[4]

รางวัลและเกียรติยศ แก้

ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองอาสารักษาดินแดน
ประจำการพ.ศ. 2551 - 2554
ชั้นยศ  นายกองใหญ่
บังคับบัญชากองอาสารักษาดินแดน

ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ชวรัตน์ ชาญวีรกูล เมื่อ พ.ศ. 2552[5] ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  3. ตั้ง ชวรัตน์ รักษาการนายกฯ โอฬาร เยียวยาสนามบิน
  4. ชวรัตน์วางมือ ภท.หลังบ้านเลขที่ 111 ปลดล็อก
  5. ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนนายกองใหญ่
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๔, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2019-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘
ก่อนหน้า ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ถัดไป
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
   
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 57)
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
  สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
โอฬาร ไชยประวัติ
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
สมชาย วงศ์สวัสดิ์    
รักษาการนายกรัฐมนตรี (ครม. 58)
(2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
  อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
  ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
ไชยา สะสมทรัพย์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2551- 23 กันยายน พ.ศ. 2551)
  ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง