โกวิท วัฒนะ
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[1]
โกวิท วัฒนะ | |
---|---|
โกวิท ในปี พ.ศ. 2554 | |
รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข | |
ดำรงตำแหน่ง 19 กันยายน พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
ถัดไป | ยุทธศักดิ์ ศศิประภา |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | เฉลิม อยู่บำรุง |
ถัดไป | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
รักษาการแทน | พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (กุมภาพันธ์ - กันยายน พ.ศ. 2550) |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ (รักษาการ) |
ถัดไป | พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มีนาคม พ.ศ. 2490 อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พ.ญ.วันทนีย์ วัฒนะ |
ประวัติ
แก้พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นชาวอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายเกษม วัฒนะ อดีตข้าราชการครู และนายอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับ นางสวง วัฒนะ สมรสกับ แพทย์หญิงวันทนีย์ (ศรีอุทารวงค์) วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ ร้อยเอก พีรวิชญ์ และ นางสาวพิชญ์สินี วัฒนะ ส่วนประวัติการศึกษา โกวิทเข้าศึกษาชั้นประถมที่ โรงเรียนเทพประสิทธิ์วิทยา โรงเรียนผักไห่สุทธาประมุข โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจบจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 22
การทำงาน
แก้ราชการตำรวจ
แก้โกวิท วัฒนะ รับราชการเป็นตำรวจตระเวนชายแดน เป็นเวลากว่า 27 ปี เคยปฏิบัติราชการรับใช้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ในระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2518 สถานการณ์รบสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ในขั้นรุนแรง พล.ต.อ.โกวิท ในฐานะผบ.กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนในขณะนั้น ได้ออกงานรับใช้ราชการโดยการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ภาคเหนือตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า คุ้มครองการก่อสร้างเส้นทางในพื้นที่อันตราย โดยเฉพาะเขต อ.อุ้มผาง จ.ตาก รวมระยะทาง 120 กิโลเมตร
นอกจากนี้ ระหว่างที่เป็น ผบก.ตชด.ภาค 3 ซึ่งรับผิดชอบภาคเหนือทั้งหมด ยังมีรายงานผลงานการปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ปะทะต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย(หรือกลุ่มคนที่เห็นต่าง)ร่วม 50 ครั้ง จนสถานการณ์คลี่คลายลงจนไม่มีใครกล้าลุกขึ้นต่อต้านแล้ว ต่อมาได้รับความดีความชอบจากราชวงศ์ขึ้นเป็นรอง ผกก.1 บก.กฝ. (ค่ายพระรามหก อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี) แล้วขยับเป็น ผกก.1 บก.กฝ. ในวัยเพียง 32 ปี เป็นผู้กำกับที่หนุ่มที่สุดขณะนั้น(เพราะเหตุใด?) ต่อมาเลื่อนเป็นรอง ผบก.กฝ. แล้วโยกมาเป็นรอง ผบก.ตชด. ภาค 3 ก่อนสลับเป็นรอง ผบก.ตชด. ภาค 1
ติดยศ พล.ต.ต. ตำแหน่ง ผบก.ตชด. ภาค 3 เมื่อปี 2530 คุมพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด ยุคที่ยาเสพติดโดยเฉพาะเฮโรอีนแพร่ระบาดไปทั่ว กุมบังเหียนเข้าถล่มโรงงานผลิตเฮโรอีนใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ราบไป 21 โรงงาน ไม่นับรวมรายเล็กรายย่อย แต่ไม่เคยเจอไร่ขนาดใหญ่ที่ปลูกต้นฝิ่นในประเทศไทยเลย
พลตำรวจเอกโกวิท เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อ พ.ศ. 2537 รับคำชมเชยจาก พล.ต.อ.เภา สารสิน อธิบดีกรมตำรวจสมัยนั้น และ"กลุ่มบุคคล"จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นผู้นำหน่วยที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว กระทั่งขึ้นนั่งเก้าอี้ผบช.ตชด. ในปี พ.ศ. 2537 ต่อมาขึ้นเป็นผู้ช่วยผบ.ตร. รับผิดชอบงานบริหาร ก่อนจะดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2543 ได้คุมพื้นที่ชายแดนภาคใต้ กระทั่งปี พ.ศ. 2547 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติในที่สุด
พล.ต.อ.โกวิท ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยที่ในความเป็นจริงแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งใจจะแต่งตั้ง พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่จำเป็นต้องแต่งตั้ง พล.ต.อ.โกวิท แทน โดยให้เหตุผลว่ามีวัยวุฒิอาวุโสสูงสุด และนอกจากนั้นยังได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่า ซึ่งในเวลาต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้แต่งตั้ง พล.ต.อ.ชิดชัย ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติแทน ก่อนหน้าที่จะเกิดการรัฐประหารใหญ่ใน 2 ปีให้หลัง
พล.ต.อ.โกวิท ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[2] ถึง 9 ธันวาคม[3] พ.ศ. 2551
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
แก้ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 พล.ต.อ.โกวิท ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ และดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ในเวลาต่อมา
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ได้รับคำสั่งไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เลย แม้แต่น้อย
มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาราชการแทน (ซึ่งต่อมาเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกย้ายให้ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีอย่างน่าแปลกใจ)
พลตำรวจเอกโกวิท ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ระดับ 11 สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ภายหลังศาลปกครองได้วินิจฉัยว่า คำสั่งดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลลานนท์) ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เป็นเหตุให้ต้องยกเลิกคำสั่งดังกล่าวในที่สุด ส่งผลให้พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ สามารถดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจนครบวาระเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 กันยายน 2550
งานการเมือง
แก้ในปี พ.ศ. 2551 พล.ต.อ.โกวิท ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4] แต่ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งรวมถึง พล.ต.อ. โกวิท ด้วย
ต่อมาในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] และถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[6]
รางวัลและเกียรติยศ
แก้โกวิท วัฒนะ | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2513 - 2551 |
ชั้นยศ | พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ |
บังคับบัญชา | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
การยุทธ์ | การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย |
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เมื่อ พ.ศ. 2551[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[10]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[11]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[14]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
อ้างอิง
แก้- ↑ นายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ
- ↑ ปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 1
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๖, ๕ มกราคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖, ๗ กรกฎาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๖๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พลิกแฟ้ม : เมื่อ "ตำรวจป่า"มาเป็นรัฐมนตรี (คมชัดลึก)
- เปิดเส้นทางชีวิต โกวิท วัฒนะ จากผบ.ตร. สู่ตำแหน่งมท.1[ลิงก์เสีย]
- จาก ผบ.ตร.สู่ตำแหน่ง มท.1" พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ" เก็บถาวร 2009-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | โกวิท วัฒนะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุเทพ เทือกสุบรรณ | รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555) |
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา | ||
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สหัส บัณฑิตกุล พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 58) (18 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551) |
สุเทพ เทือกสุบรรณ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ | ||
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | ||
พลตำรวจเอกสุนทร ซ้ายขวัญ | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 22 เมษายน พ.ศ. 2550) |
พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส |