พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)

อดีตพรรคการเมืองไทย
(เปลี่ยนทางจาก พรรคพลังประชาชน)
บทความนี้เกี่ยวกับพรรคที่เป็นแกนนำรัฐบาลใน พ.ศ. 2551 สำหรับความหมายอื่น ดูที่ พรรคพลังประชาชน (แก้ความกำกวม)

พรรคพลังประชาชน (อักษรย่อ: พปช. อังกฤษ: People Power Party) เป็นพรรคการเมืองไทยในอดีต มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคคือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกพรรค คือร้อยโทกุเทพ ใสกระจ่าง ส.ส.ส่วนใหญ่ของพรรคแต่เดิมมาจากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนมีนโยบายประชานิยมและมีฐานเสียงที่เข้มแข็งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พรรคกลายเป็นผู้นำของรัฐบาลผสมหลังจากที่รัฐบาลทหารสนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2550 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณ สาบานว่าจะต่อต้านพรรคพลังประชาชนหลังจากที่พรรคตัดสินใจแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

พรรคพลังประชาชน
หัวหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
(รักษาการ)
เลขาธิการสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ก่อตั้ง9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
ยุบ2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าพรรคไทยรักไทย
ถัดไปพรรคเพื่อไทย
ที่ทำการเลขที่ 1770 ถนนเพชรบุรี แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
สีสีน้ำเงิน และสีแดง
เว็บไซต์
www.ppp.or.th
(ปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว)
โฆษกกุเทพ ใสกระจ่าง
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 รองหัวหน้าพรรคคือนายยงยุทธ ติยะไพรัช ถูกตั้งข้อหาทุจริตการเลือกตั้งในระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2550 ข้อหาเหล่านี้นำไปสู่การยุบพรรคโดยคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ประวัติแก้ไข

พรรคพลังประชาชนก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 โดยมีพันตำรวจโทกานต์ เทียนแก้ว เป็นหัวหน้าพรรคและดำรงอยู่ในฐานะพรรคขนาดเล็กเป็นเวลาหลายปี ซึ่งพรรคส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544, 2548 และ 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[1] เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่ตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชนหลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และลงสมัครรับเลือกตั้งในฐานะผู้สมัครของพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550[2][3] ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบโดยคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 อีกทั้งยังมีคำสั่งห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คนเล่นการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เช่น ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรค

อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและอดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งภายหลังประกาศตัวเป็น 'นอมินี' ของทักษิณ ชินวัตร และนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคพลังประชาชนตามลำดับ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550[4]

คณะกรรมการการเลือกตั้งได้นำกำลังทหารและตำรวจ 200,000 นาย รักษาความปลอดภัย และ 1,500 นาย เฝ้าระวังการทุจริตการเลือกตั้งในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การกล่าวโทษและการลาออกแก้ไข

รัฐบาลอายุ 5 เดือนของนายสมัคร สุนทรเวช ตกที่นั่งลำบากในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 หลังจากนายนพดล ปัทมะ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาออกจากตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคและประธานสภาผู้แทนราษฎรคือนายยงยุทธ ติยะไพรัช ถูกห้ามเล่นการเมืองเป็นเวลา 5 ปี หลังศาลฎีกามีคำพิพากษาข้อหาซื้อเสียง จากนั้น นายไชยา สะสมทรัพย์ ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะปกปิดทรัพย์สินของภรรยา

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมว่านายนพดล ปัทมะ และคณะรัฐมนตรีทั้งหมดกระทำการโดยไม่ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาสำหรับข้อตกลงทวิภาคีกับกัมพูชา โดยนายนพดลในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในข้อตกลงเมื่อเดือนมิถุนายนเพื่อสนับสนุนกัมพูชาในการขอสถานะมรดกโลกสำหรับปราสาทพระวิหารอายุ 900 ปี[5] พรรคฝ่ายค้านยื่นคำร้องต่อรองประธานวุฒิสภานายนิคม ไวยรัชพานิช ให้ถอดถอนนายนพดล ปัทมะ ประเด็นปราสาทพระวิหาร ซึ่งนายนพดลถูกกล่าวหาว่าทำผิดมาตรา 190 และมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ พรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติไม่ไว้วางใจก่อนที่นายนพดลจะลงจากตำแหน่ง[6]

การเลือกตั้ง ส.ส. 2 เมษายน 2549แก้ไข

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคส่งผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 5 คน ได้คะแนน 305,015 คะแนน ไม่ได้รับเลือก และส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขต ได้รับเลือกจำนวน 3 คนในการลงคะแนนรอบที่ 2 วันที่ 23 เมษายน 2549 ที่จังหวัดกระบี่ เขต 1 และเขต 3 และจังหวัดตรัง เขต 2 [7] โดยเป็นพื้นที่ในเขตฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผู้มีสิทธิ์ส่วนใหญ่ลงคะแนนเสียงให้ เพื่อไม่ให้ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้รับเลือก และคะแนนเสียงที่ได้ น้อยกว่าคะแนนเลือกที่จะไม่เลือก (No Vote)

ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง รอบที่ 2 เมื่อวันที่ 23 เมษายน ปีเดียวกัน ผู้สมัครในนามพรรคพลังประชาชน ที่จังหวัดสงขลา เขต 2 ถูกกรรมการการเลือกตั้งตัดสิทธิ์ เนื่องจากเป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อ เวียนเทียนมาสมัครใหม่ในระบบแบ่งเขต[8]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์แก้ไข

นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าพรรคแก้ไข

การเข้ามาของนายสมัครทำให้เกิดข้อวิจารณ์ในสังคม เนื่องจากแกนนำส่วนหนึ่งของพรรค ถูกมองว่า “ซ้ายจัด” เคยเข้าป่า ร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ขณะที่นายสมัคร เป็นสัญลักษณ์ของอุดมการณ์ “ขวาสุดขั้ว” โดยนายแพทย์สุรพงษ์ ได้กล่าวถึงข้อวิจารณ์ในกรณีดังกล่าวว่า “ผมว่าคนที่คิดอย่างนี้เป็นคนที่ใช้ประสบการณ์เดิมเมื่อ 30 ปีที่แล้วมาพูด อุดมการณ์ซ้ายกับขวานั้นเป็นแนวคิดเรื่องการบริหารประเทศในอดีต ที่แยกออกจากกันระหว่างฝ่ายทุนนิยมกับสังคมนิยม แต่ทุกวันนี้สถานการณ์มันเปลี่ยนไป เพราะสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ต้องเดินทางสายกลาง ฉะนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ยืนยันจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าพื้นเพความคิดจะเป็นซ้ายหรือขวา ถ้ามีจุดยืนที่จะทวงคืนประชาธิปไตยให้กลับสู่บ้านเมืองโดยเร็วที่สุดแล้วละก็ เราพร้อมที่จะร่วมมือ”[9]

รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณแก้ไข

วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีงานปฐมนิเทศผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ของพรรคพลังประชาชน โดยภายในงาน มีการแจกหนังสือวิพากษ์วิจารณ์ข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ชื่อหนังสือว่า “รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ” เขียนโดย พ.ต.อ.ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช ซึ่ง พ.ต.อ.ประจักษ์ศิลป์ ชี้แจงว่า ชื่อหนังสือได้นำมาจากเนื้อหาบางส่วนในบทความของ สุจิตต์ วงศ์เทศ และ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เขียนไว้ว่า รัดทำมะนวยปล้นอำนาจประชาชน และ ไอ้พวกทุจริตมันเป็นพวกหัวคูณ คือคิดอะไรแต่เรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง โดยการคูณ คูณ คูณ คูณ ว่าเป็นเงินเท่าไร โดยนำคำจากทั้งสองบทความ มาสมาสกันเป็นชื่อหนังสือ[10]

ต่อมา น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา และส่งเสริมการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 ได้ออกแถลงการณ์ประณามหนังสือเล่มดังกล่าว ว่าทำให้ผู้อ่านเข้าใจรัฐธรรมนูญ ที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไปในทางที่ไม่สุภาพ (ผวนแล้วเป็นคำหยาบ) [11]

สัญลักษณ์ของพรรคแก้ไข

สัญลักษณ์ของพรรคในยุคแรก เป็นรูปวงกลมสีเขียว อันหมายถึงความสงบสุขร่มเย็นของแผ่นดินไทย มีภาพเสาธงชาติไทยปักอยู่บนแผนที่ประเทศไทยอยู่ใจกลางของวงกลม รายล้อมด้วยตุ๊กตาแต่งตัวเป็นอาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นสื่อแทนชาวไทยในหลายสาขาอาชีพ โดยมีตัวอักษรชื่อพรรค เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รายล้อมสัญลักษณ์ดังกล่าวทั้งหมด

ส่วนสัญลักษณ์ของพรรคในปัจจุบัน เป็นตัวอักษรไทย สีน้ำเงิน โดยเส้นทแยงจากล่างซ้ายขึ้นบนขวาเป็นสีแดง และขาว ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับสัญลักษณ์ของพรรคไทยรักไทย ที่เป็นตัวอักษรไทย สีน้ำเงิน ที่มีเส้นทแยงจากล่างซ้ายขึ้นบนขวา เป็นสีแดง ขาว และน้ำเงิน

หัวหน้าพรรคแก้ไข

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ
1 พันตำรวจโทกานต์ เทียนแก้ว
(22 ตุลาคม พ.ศ. 2504 — )
30 ธันวาคม พ.ศ. 2541 29 มกราคม พ.ศ. 2546
2 นางสาวสุภาพร เทียนแก้ว
(5 มกราคม พ.ศ. 2516 — )
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550
3   นายสมัคร สุนทรเวช
(13 มิถุนายน พ.ศ. 247824 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 )
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 30 กันยายน พ.ศ. 2551 • อดีตนายกรัฐมนตรี
• อดีตรองนายกรัฐมนตรี 3 สมัย
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 2 สมัย

• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

•อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
• อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

4   นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
(31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 — )
30 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 • อดีตนายกรัฐมนตรี
• อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เลขาธิการพรรคแก้ไข

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ
1 นางสาวสุภาพร เทียนแก้ว
(5 มกราคม พ.ศ. 2516 — )
23 พฤศจิกายนพ.ศ. 2541 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541
2 นางสาวปิยะรัตน์ เทียนแก้ว
(13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 — )
31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550
3 นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
(2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 — )
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
• อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ผลการเลือกตั้งทั่วไปแก้ไข

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2550
233 / 480
26,293,456 36.63% พรรคจัดตั้งรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. Baker et al (2009), p. 307
  2. Thaksin's legal advisor to join People Power party, People's Daily, July 30, 2007
  3. Ex-TRT MPs join little-known party เก็บถาวร 2007-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nation (Thailand), July 29, 2007
  4. People Power to elect Samak as new leader on August 22 เก็บถาวร 2009-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nation (Thailand), August 2007
  5. afp.google.com, Thai government in disarray as foreign minister resigns เก็บถาวร 2008-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. nationmultimedia.com, Noppadon impeached by the Opposition เก็บถาวร 2008-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. ไทยรัฐ, สรุปรวม พรรคไม้ประดับ แย่งที่นั่ง ทรท.ได้ถึง 9 เขต เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. คมชัดลึก, ตัดสิทธิ์ผู้สมัครสส.พรรคเล็ก สงขลา 3 คนเมืองคอน 2 ราย เก็บถาวร 2008-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. ฐากูร บุนปาน, คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12, ลืมได้?, นสพ.มติชน, 8 สิงหาคม 2550
  10. มติชน, สนช.ประณาม พปช.แจก 'รัดทำมะนวยฯ' นศ.พระปกเกล้าแถลงสั่งสอนวัฒนธรรม, นสพ.มติชน, 15 พฤศจิกายน 2550
  11. ไทยรัฐ, “ประสงค์” ฉุนรัฐธรรมนูญถูกลบหลู่, นสพ.ไทยรัฐ, 16 พฤศจิกายน 2550

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข