เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไทย

พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ม.ก. (ชื่อเกิด เสรี เตมียเวส; เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2491) ชื่อเล่น ตู่ เป็นอดีตข้าราชการตำรวจและนักการเมืองชาวไทย หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ชุดที่ 25 และ ชุดที่ 26) อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ อดีตผู้บังคับการปรามปราบ และอดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ เจ้าของฉายา "วีรบุรุษนาแก" และ "มือปราบตงฉิน"

เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
เสรีพิศุทธ์ใน พ.ศ. 2561
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 161 วัน)
หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(5 ปี 323 วัน)
ก่อนหน้าไพบูลย์ พึ่งทองหล่อ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 8 เมษายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 190 วัน)
ก่อนหน้าพ.ต.อ.โกวิท วัฒนะ
ถัดไปพ.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กันยายน พ.ศ. 2491 (76 ปี)
จังหวัดธนบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองเสรีรวมไทย (2561 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสพัสวีศิริ เตมียเวส
บุตร3 คน
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกรมตำรวจ- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการพ.ศ. 2515–2551
ยศ พลตำรวจเอก

ประวัติ

แก้

พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เดิมชื่อ เสรี เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2491 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตร นายชื้น และ นางอรุณ สมรสกับพัสวีศิริ (สกุลเดิม เทพชาตรี) มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นางสาวศศิภาพิมพ์, นายทรรศน์พนธ์ และนางสาวทัศนาวัลย์ โดยสกุล “เตมียเวส” เป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2458 เลขสกุลลำดับที่ 2081 โดยพระราชทานแก่นักเรียนทหารกระบี่ ตุ๋ย (เล็ก)[1]

การรับราชการตำรวจและการเมือง

แก้

เสรีพิศุทธ์จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนทวีธาภิเศก หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 8 (ตท.8) และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน รุ่นที่ 24 (นรต.24) เคยรับราชการอยู่ที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ช่วง พ.ศ. 2515-2524 ได้ต่อสู้ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดเดี่ยว และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 5 และเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1[2] ซึ่งต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมได้ทำพิธีสถาปนาให้เป็นขุนพลของประชาชน ณ ศาลาประชาคม จังหวัดนครพนม ด้วยผลงานที่เสรีพิศุทธ์ ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้วยความกล้าหาญ เสียสละ จนได้รับการขนานนามว่า "วีรบุรุษนาแก"[3] นอกจากนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯยังได้รับพระราชทานรางวัล “คนไทยตัวอย่าง”[ต้องการอ้างอิง] รางวัล “บุคคลดีเด่นของชาติ” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ[ต้องการอ้างอิง] รางวัล “ข้าราชการที่ประพฤติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต” จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ[ต้องการอ้างอิง] ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายมหาวิทยาลัย

เขาเคยดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการปราบปราม เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2533 - 2534 วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2534 ได้มีผู้วางระเบิดห้องทำงานเขาขณะดำรงตำแหน่งดังกล่าว[4] และต้องพ้นจากตำแหน่ง ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น เสรีพิศุทธ์ นัยว่า เพื่อแก้เคล็ด เนื่องจากชื่อไม่ถูกโฉลก [5]

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจภาค 2) ได้จับกุม และดำเนินคดีกับนายสมชาย คุณปลื้ม หรือกำนันเป๊าะ ผู้กว้างขวางของจ.ชลบุรี และภาคตะวันออก ในคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะที่เขาไม้แก้ว จนศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกกำนันเป๊าะ

พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ฯ มีภาพลักษณ์เป็นนายตำรวจมือปราบที่ซื่อตรง ได้ฉายาว่า "มือปราบตงฉิน"[6]} ผู้มีอำนาจในหลายรัฐบาลมักเลือกเขาให้เข้ามาสืบสวนสอบสวนคดีสำคัญที่สังคมและสื่อตั้งข้อสงสัย[ต้องการอ้างอิง] มีการจับกุมนักการเมือง รัฐมนตรี เจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลหลายต่อหลายคน[ต้องการอ้างอิง] ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเมืองบ่อยครั้ง โดยมักถูกโยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้ควบคุมกำลัง เช่น กองวิทยาการตำรวจ หรือ ประจำกรมตำรวจ เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

กระนั้น เขาก็ยังได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ผู้บังคับการปราบปราม ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จเรตำรวจแห่งชาติคนแรก [7][8]

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

แก้

เขาได้รับแต่งตั้งให้รักษาการตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 แทน พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ที่ได้รับคำสั่งไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2550 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้มีประกาศ ฉบับที่ 1 แต่งตั้งเขาเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

ในการสับเปลี่ยนกำลังพลครั้งแรก เขาย้ายผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทรังษี ไปต่างจังหวัด ผู้ใกล้ชิดกับอดีต ผบ.ตร. พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ และอดีตนายกรัฐมนตรี ดร. ทักษิณ ชินวัตร ถูกย้ายไปตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจ ขณะเดียวกัน เขาเลื่อนยศนายตำรวจหลายนายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเขาให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ พล.ต.ท.อดิศร นนทรีย์ ซึ่งเป็นอดีตผู้ช่วยใกล้ชิดของเสรีพิศุทธ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ท. ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี พี่ชายของภรรยาเขา ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท. เจตนากร นภีตะภัฏ ซึ่งสมรสกับน้องสาวของภรรยาพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9[9]

เมื่อครั้งมีการยื่นเรื่องให้ถอดพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี พล.ต.ท. ธีระเดช รอดโพธิ์ทอง ซึ่งปฏิเสธยื่นข้อกล่าวหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ต่อนักเคลื่อนไหวที่ยื่นเรื่องดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายครอบคลุมเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น สองวันต่อมาเสรีพิศุทธ์ลดยศเขา[10]

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 พ.ต.อ. ทินกร มั่งคั่ง อดีตนายเวร ที่ถูกเขาปลดออกจากราชการ ลงนามหนังสือร้องเรียนถึงสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้ลงรับหนังสือร้องเรียนทั้ง 3 ฉบับ ไว้พร้อมกันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 วันรุ่งขึ้น สมัครออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ออกคำสั่งย้ายเขาไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน[11][12] วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 สมัครก็ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 73/2551 ให้เขาออกจากราชการไว้ก่อน วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เสรีพิศุทธ์แถลงข่าวว่าตนถูกปล้นตำแหน่ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม[13]

ต่อมาเมื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้สั่งให้ยุติการสอบสวน และยกเลิกคำสั่งให้เสรีพิศุทธ์ออกจากราชการไว้ก่อน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 364 วัน[ต้องการอ้างอิง]

พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ฟ้องร้อง พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในคดีหมิ่นประมาท แต่ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องในที่สุด[14]

การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556

แก้

ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ ได้เปิดตัวแสดงเจตนาที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ในนาม "กลุ่มพลังกรุงเทพ"[15] โดยได้เบอร์ 11 และได้รับคะแนนทั้งสิ้น 166,582 คะแนน โดยมีคะแนนเป็นอันดับสามต่อจากพรรคการเมืองใหญ่ทั้ง 2 พรรค และอันดับหนึ่งจากผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคอีก 23 คน [16]

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

แก้

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขากล่าวผ่านสื่อวิพากษ์วิจารณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาลหลายครั้งหลายคราว รัฐบาลสนองด้วยการออกหมายเรียก[17] วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พ.อ. บุรินทร์ ทองประไพ เสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชาฝ่ายกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม ในข้อหากระทำการที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ[18]

ในวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้นายมังกร ยนต์ตระกูล เลขาธิการพรรคเสรีรวมไทย ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับถัดมาได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน[19][20]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีรวมไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีรวมไทย

วัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

เรื่องราวของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เคยถูกสร้างเป็นละคร"วีรบุรุษนาแก" ซึ่งออกอากาศทางไทยทีวีช่อง 3 เมื่อปี 2530 โดยสร้างจากชีวประวัติของท่านตอนช่วงสมัยที่ยังเป็นตำรวจตระเวนชายแดน ในขณะที่ท่านยังดำรงยศเป็นร้อยเอกจนถึงพันตำรวจเอกและยังใช้ชื่อ"เสรี เตมียเวส" ซึ่งผู้รับบทคือ อนุสรณ์ เดชะปัญญา [21]

ยศตำรวจ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 28
  2. ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ประกาศเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2523
  3. วิวาทะเหรียญรามากลางสภา พี่ 'เสรีพิศุทธ์' ถึงน้อง 'ประยุทธ์' - ที่มาเหรียญกล้าหาญชั้นสูงสุด
  4. 365ปีแพะอาถรรพ์[ลิงก์เสีย]
  5. เปลี่ยนชื่อเป็น เสรีพิศุทธ์ นัยว่า เพื่อแก้เคล็ด เนื่องจากชื่อไม่ถูกโฉลก
  6. treesukee, natthakan. "ทำความรู้จัก 'เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส' วีรบุรุษนาแก ผู้ผ่านสมรภูมิเดือดนับครั้งไม่ถ้วน". เดลินิวส์.
  7. "ชื่อ-นามสกุลนั้น สำคัญไฉน "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส"". posttoday. 2021-08-27.
  8. "สีสันการเมือง ลูกผู้ชายชื่อ "เสรีพิศุทธ์" วีรบุรุษนาแก-หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย". เนชั่นทีวี. 2023-09-15.
  9. Bangkok Post, Officers close to govt promoted, 22 February 2007
  10. The Nation, Special Branch chief demoted in reshuffle เก็บถาวร 30 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 5 April 2007
  11. "คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
  12. คำสั่งเด้งผบ.ตร.
  13. เสรีพิศุทธ์ แฉถูกปล้นตำแหน่ง ผบ.ตร.จากกระปุกดอตคอม
  14. ยกฟ้อง'พัชรวาท'ไม่ผิดสอบสวน'เสรีพิศุทธ์'
  15. “เสรีพิศุทธิ์” เปิดตัวลงสมัครผู้ว่าฯกทม. จากเดลินิวส์
  16. "เผยผลคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.อย่างเป็นทางการ สถิติใหม่คนกรุง ส่งกกต.รับรองผลใน7วัน". ข่าวสด. 4 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 May 2014.
  17. “เสรีพิศุทธ์” อดีต ผบ.ตร.หลังออกรายการวิจารณ์ คสช.[ลิงก์เสีย]
  18. เบื้องหลัง 'ฟ้าให้ทีวี' กับ 'เสียงเสรี' ที่ทหารไม่ปลื้ม
  19. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่อในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
  20. "เสรีพิศุทธ์" ลาออก สส.บัญชีรายชื่อ มีผล 1 ก.ย.นี้ "มังกร" เลื่อนมาแทน
  21. "ช่อง 3 วีรบุรุษนาแก | ภาพยนตร์ชุด วีรบุรุษนาแก ออกอากาศทางไทยทีวีช่อง 3 เมื่อปี 2530 | By พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส | Facebook". www.facebook.com.
  22. ประกาศแต่งตั้งพลตำรวจตรี
  23. ประกาศแต่งตั้งพลตำรวจโท
  24. ประกาศแต่งตั้งพลตำรวจเอก
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๖ เมษายน ๒๕๒๓
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐๐๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ถัดไป
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ    
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 255030 กันยายน พ.ศ. 2551)
  พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ