มังกร ยนต์ตระกูล
มังกร ยนต์ตระกูล (เกิด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2503) เลขาธิการพรรคเสรีรวมไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
มังกร ยนต์ตระกูล | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
เลขาธิการพรรคเสรีรวมไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | วิรัตน์ วรศสิริน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2547–2551) เพื่อไทย (2551–2566) เสรีรวมไทย (2566–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้มังกร ยนต์ตระกูล เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายไชยวัฒน์ และนางอารีรัตน์ ยนต์ตระกูล มีพี่น้อง 5 คน หนึ่งในนั้นคือ สุรจิตร ยนต์ตระกูล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การทำงาน
แก้มังกร ยนต์ตระกูล เป็นนักธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์[1] ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้ง โดยเอาชนะเวียง วรเชษฐ์ จากพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2551 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและสามารถเอาชนะ รัชนี พลซื่อ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด แชมป์เก่าไปได้ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในปี 2555
ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 มังกรลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันกับเอกภาพ พลซื่อ อดีต ส.ส. โดยผลการเลือกตั้งปรากฎว่าเอกภาพ สามารถเอาชนะไปได้ 6,151 คะแนน[2] แต่ต่อมาเอกภาพถูกศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครและสิทธิรับเลือกตั้งของ เอกภาพ พลซื่อ นายก อบจ.ร้อยเอ็ด เป็นเวลา 10 ปี จากกรณีปราศรัยใส่ร้ายมังกร ยนต์ตระกูล ถือว่าเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562[3]
ในปี 2566 มังกรได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีรวมไทย ลำดับที่ 2 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเสรีรวมไทยได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 1 ที่นั่ง
หลังการเลือกตั้ง มังกรได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคเสรีรวมไทย[4] ต่อมาในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคและ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. ส่งผลให้มังกรได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทน[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ รู้จัก "มังกร ยนต์ตระกูล" อดีตดีลเลอร์รถรายใหญ่ภาคอีสาน ผงาดเป็น สส. แทน "เสรีพิศุทธ์"
- ↑ "เอกภาพ พลซื่อ"โค่น "มังกร ยนต์ตระกูล
- ↑ matichon (2022-08-05). "'เอกภาพ พลซื่อ' นายกอบจ.ร้อยเอ็ด โดนศาลสั่งตัดสิทธิ์เลือกตั้ง แห้วลงส.ส.พปชร". มติชนออนไลน์.
- ↑ “เสรีรวมไทย” ประชุมใหญ่ เลือกกรรมการบริหารพรรค 2 คน ที่ลาออก ดัน “วิรัตน์” นั่งรองหัวหน้าพรรค
- ↑ ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว ให้ "มังกร ยนต์ตระกูล" เป็น สส. แทน "เสรีพิศุทธ์" ที่ลาออก
- ↑ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/B/016_1/1.PDF
- ↑ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00177225.PDF