เวียง วรเชษฐ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายอิทธิพล คุณปลื้ม)[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 4 สมัย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เวียง วรเชษฐ์
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคเพื่อไทย (2554–2561)
พรรคพลังประชารัฐ (2561–????)
พรรคภูมิใจไทย (????-ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

เวียง วรเชษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายชาย กับ นางเหลา วรเชษฐ์[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปัจจุบัน)

การทำงาน แก้

เวียง วรเชษฐ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด สมัยแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย สมัยต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจประชาคม (และเป็นกรรมการบริหารพรรค[3]) สมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคความหวังใหม่เช่นเดียวกัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน กระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 86[4]

ใน พ.ศ. 2561 นายเวียงได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ และในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 36[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2010-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมการปกครอง
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคกิจประชาคม ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และนโยบายของพรรค)
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖