การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563

การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2563 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เพื่อเลือกตั้งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด ถือเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562[1]

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563

← 2556–57 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 2565 →

จำนวนทั้งสิ้น 76 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง
ลงทะเบียน46,573,974
ผู้ใช้สิทธิ29,274,372 (ร้อยละ 62.86)
  First party Second party Third party
 
พรรค เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ไม่สังกัดพรรคใด
จังหวัดที่ชนะ 9 1 66

แผนที่แสดงผลการเลือกตั้งนายก อบจ. พ.ศ. 2563
     ผู้สมัครไม่สังกัดพรรคใด      เพื่อไทย      ประชาธิปัตย์
หน่วยเลือกตั้งที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่มานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้ไข

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยมีที่มา ดังนี้

  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกเกิน 1 คน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง เท่ากับจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะพึงมีในอำเภอนั้น และมีสมาชิกเขตเลือกตั้งละ 1 คน

องค์ประกอบของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้ไข

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละจังหวัด ขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎรของจังหวัดนั้น โดยกำหนดไว้ดังนี้

จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละจังหวัด
จำนวนราษฎร จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ไม่เกิน 500,000 คน 24 คน
เกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1 ล้านคน 30 คน
เกิน 1 ล้านคน แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านคน 36 คน
เกิน 1.5 ล้านคน แต่ไม่เกิน 2 ล้านคน 42 คน
2 ล้านคนขึ้นไป 48 คน

วาระการดำรงตำแหน่ง แก้ไข

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปีก็ให้ถือว่าเป็น 1 วาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

รายนามนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้ไข

  ดำรงสมาชิกภาพ
  สิ้นสุดสมาชิกภาพ

แยกตามรายภาคตามการแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน

[2]

ภาคกลาง แก้ไข

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กำแพงเพชร สุนทร รัตนากร
ชัยนาท อนุสรณ์ นาคาศัย
นครนายก จักรพันธ์ จินตนาพากานนท์
นครปฐม จิรวัฒน์ สะสมทรัพย์
นครสวรรค์ สมศักดิ์ จันทะพิงค์
นนทบุรี ธงชัย เย็นประเสริฐ
ปทุมธานี คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
พระนครศรีอยุธยา สมทรง พันธ์เจริญวรกุล
พิจิตร กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์
พิษณุโลก มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์
เพชรบูรณ์ อัครเดช ทองใจสด
ลพบุรี อรพิน จิระพันธุ์วาณิช
สมุทรปราการ นันทิดา แก้วบัวสาย
สมุทรสงคราม สุกานดา ปานะสุทธะ
สมุทรสาคร อุดม ไกรวัตนุสสรณ์
สระบุรี สัญญา บุญหลง
สิงห์บุรี ศุภวัฒน์ เทียรถาวร
สุโขทัย มนู พุกประเสริฐ
สุพรรณบุรี บุญชู จันทร์สุวรรณ
อ่างทอง สุรเชษ นิ่มกุล
อุทัยธานี เผด็จ นุ้ยปรี

ภาคเหนือ แก้ไข

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
เชียงราย อทิตาธร วันไชยธนวงศ์
เชียงใหม่ พิชัย เลิศพงศ์อดิศร
น่าน นพรัตน์ ถาวงศ์
พะเยา อัครา พรหมเผ่า
แพร่ อนุวัธ วงศ์วรรณ
แม่ฮ่องสอน อัครเดช วันไชยธนวงศ์
ลำปาง ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
ลำพูน อนุสรณ์ วงศ์วรรณ
อุตรดิตถ์ ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้ไข

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กาฬสินธุ์ ชานุวัฒน์ วรามิต   ศาลสั่งให้เลือกตั้งใหม่[3]
เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล เลือกตั้งใหม่ 14 ส.ค. 65
ขอนแก่น พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
ชัยภูมิ อร่าม โล่ห์วีระ
นครพนม ศุภพานี โพธิ์สุ
นครราชสีมา ยลดา หวังศุภกิจโกศล
บึงกาฬ แว่นฟ้า ทองศรี
บุรีรัมย์ ภูษิต เล็กอุดากร
มหาสารคาม คมคาย อุดรพิมพ์
มุกดาหาร จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์
ยโสธร วิเชียร สมวงศ์
ร้อยเอ็ด เอกภาพ พลซื่อ   ศาลพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง[4]
เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ เลือกตั้งใหม่ 25 ก.ย. 65
เลย ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ
ศรีสะเกษ วิชิต ไตรสรณกุล
สกลนคร ชูพงศ์ คำจวง
สุรินทร์ พรชัย มุ่งเจริญพร
หนองคาย ยุทธนา ศรีตะบุตร
หนองบัวลำภู วุฒิพงษ์ ศิริสถิตย์
อุดรธานี วิเชียร ขาวขำ
อุบลราชธานี กานต์ กัลป์ตินันท์
อำนาจเจริญ วันเพ็ญ ตั้งสกุล

ภาคใต้ แก้ไข

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กระบี่ สมศักดิ์ กิตติธรกุล
ชุมพร นพพร อุสิทธิ์
ตรัง บุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ
นครศรีธรรมราช กนกพร เดชเดโช
นราธิวาส กูเซ็ง ยาวอะหะซัน
ปัตตานี เศรษฐ์ อัลยุฟรี
พังงา ธราธิป ทองเจิม
พัทลุง วิสุทธิ์ ธรรมเพชร
ภูเก็ต เรวัต อารีรอบ
ยะลา มุขตาร์ มะทา
ระนอง ธนกร บริสุทธิญาณี
สงขลา ไพเจน มากสุวรรณ์
สตูล สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์
สุราษฎร์ธานี พงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว

ภาคตะวันออก แก้ไข

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
จันทบุรี ธนภณ กิจกาญจน์
ฉะเชิงเทรา กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์
ชลบุรี วิทยา คุณปลื้ม
ตราด วิเชียร ทรัพย์เจริญ
ปราจีนบุรี สุนทร วิลาวัลย์
ระยอง ปิยะ ปิตุเตชะ
สระแก้ว ขวัญเรือน เทียนทอง   ลาออก 31 ม.ค. 66
ฐานิสร์ เทียนทอง เลือกตั้งใหม่ 26 มี.ค. 66

ภาคตะวันตก แก้ไข

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กาญจนบุรี สุรพงษ์ ปิยะโชติ
ตาก ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ
ประจวบคีรีขันธ์ สราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์
เพชรบุรี ชัยยะ อังกินันทน์
ราชบุรี วิวัฒน์ นิติกาญจนา

อ้างอิง แก้ไข