สุรยุทธ์ จุลานนท์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ม. ว.ป.ร. ๓ (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี[2] นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 จากการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สุรยุทธ์ จุลานนท์ | |
---|---|
สุรยุทธ์ใน พ.ศ. 2550 | |
ประธานองคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 มกราคม พ.ศ. 2563 (4 ปี 254 วัน)[1] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เปรม ติณสูลานนท์ |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 2 มกราคม พ.ศ. 2563 (3 ปี 4 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 24 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551 (1 ปี 120 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม สนธิ บุญยรัตกลิน |
ก่อนหน้า | สนธิ บุญยรัตกลิน (หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) |
ถัดไป | สมัคร สุนทรเวช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (0 ปี 126 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | อารีย์ วงศ์อารยะ |
ถัดไป | เฉลิม อยู่บำรุง |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก ณรงค์ ยุทธวงศ์ |
ถัดไป | พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545 (3 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร |
ถัดไป | พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส |
|
บุตร |
|
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2508–2546 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
หน่วย | กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ |
บังคับบัญชา | กองทัพบกไทย (2541–2545) กองบัญชาการทหารสูงสุด (2545–2546) |
ผ่านศึก | การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย |
ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และองคมนตรี
ประวัติ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ในค่ายจักรพงษ์ที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของ พันโท พโยม จุลานนท์ บุตรของ พันเอก พระยาวิเศษสิงหนาถ (ยิ่ง จุลานนท์) ต้นตระกูลจุลานนท์ บิดาเคยดำรงตำแหน่งสูงระดับแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันในนาม "สหายคำตัน" กับมารดาชื่ออัมโภช จุลานนท์ (สกุลเดิม ท่าราบ) บุตร พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)
ชีวิตครอบครัว พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สมรสครั้งแรกกับนางสาวดวงพร รัตนกรี มีบุตรชาย 1 คนคือ พันโท นนท์ จุลานนท์ ผู้บังคับกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยาที่ 1 กองทัพภาคที่ 1[3] สมรสครั้งที่สองกับ พันเอกหญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ (สันทัดเวช)[4] มีบุตรชาย 2 คน คือ
- นายสันต์ จุลานนท์ (ข้าว)
- นายจุล จุลานนท์ (น้ำ)
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้นิยมการเดินป่าชมธรรมชาติ เป็นประธาน "มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" และเป็นที่ปรึกษาของเยาวชนกลุ่ม "รักษ์เขาใหญ่" ตั้งแต่ พ.ศ. 2535
การศึกษา
จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์, โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เลขประจำตัว ส.ก.12129 ก่อนเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 1 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12 โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2508
เมื่อเข้ารับราชการแล้วยังผ่านการอบรมในหลายหลักสูตรคือ
- พ.ศ. 2509 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ
- พ.ศ. 2509 หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศจู่โจม
- พ.ศ. 2511 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2516 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52
- พ.ศ. 2517 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2517 หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2536 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
การทำงาน
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เริ่มรับราชการในยศร้อยตรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 จากนั้นจึงไปศึกษาต่อหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ที่สหรัฐอเมริกา และทำงานในหน่วยรบต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ในขณะที่บิดาก็ยังเป็นแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น ใน พ.ศ. 2529–2531 พลเอก สุรยุทธ์ เป็นนายทหารคนสนิทของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น
ต่อมาสมัยชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้ง พลเอก สุรยุทธ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541[5]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 พลเอก สุรยุทธ์ ถูกทักษิณ ชินวัตร ปรับย้ายพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรับผิดชอบต่อเหตุโจมตีฐานผลิตยาเสพติดในประเทศพม่าโดยพลการ[6]
หลังจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ วางเป้าหมายไว้ว่า จะอุปสมบทและออกธุดงค์ไปในภาคอีสาน แต่ยังไม่ทันได้เข้าอุปสมบทดังที่ตั้งใจไว้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 จนเมื่อดำรงตำแหน่งองคมนตรีได้สักระยะจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลาอุปสมบทเป็นเวลา 1 พรรษา ณ วัดป่าแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน
การดำรงตำแหน่งที่สำคัญ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เคยดำรงตำแหน่งทางทหาร และตำแหน่งพิเศษอื่นดังนี้
ราชการทหาร
- พ.ศ. 2508 รับราชการประจำศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2509 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31
- พ.ศ. 2513 ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่มป่าหวาย) ที่ 2
- พ.ศ. 2515 ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
- พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23
- พ.ศ. 2526 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1
- พ.ศ. 2529 นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1
- พ.ศ. 2535 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
- พ.ศ. 2537 แม่ทัพภาคที่ 2
- พ.ศ. 2540 ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
- พ.ศ. 2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
- พ.ศ. 2541 - 2545 ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2545 -2546 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ตำแหน่งพิเศษ
- พ.ศ. 2526 ราชองค์รักษ์เวร
- พ.ศ. 2529 - 2531 นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
- พ.ศ. 2531 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2535 และ 2539 สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2
- พ.ศ. 2546 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ภายหลังจากที่ พลเอก สุจินดา คราประยูร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีประชาชนรวมตัวกันชุมนุมตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อขับไล่ พลเอก สุจินดา ให้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลของ พลเอก สุจินดา ต้องสลายการชุมนุม โดย พลเอก สุรยุทธ์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี ได้เป็นผู้สั่งการกองกำลังทหารเข้าตรวจค้นในบริเวณโรงแรมรัตนโกสินทร์ โดยไม่ให้ใช้อาวุธ[7][8][9]
การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากการเชิญเพื่อให้ช่วยรับภาระในการนำรัฐบาลชั่วคราวถึง 2 ครั้งจาก พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงเข้าดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมี พลเอก สนธิ หัวหน้า คปค. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การปฏิบัติงานของรัฐบาล
- วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการพัฒนาคนและครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีงบประมาณส่วนกลาง 5,000 ล้านบาท ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประสานงานจากส่วนกลางสู่ชุมชน[10]
การคลัง
- นำพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก มาใช้[11]
วัฒนธรรม
- ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่สามารถโมษณาได้ในเวลา 22 นาฬิกาเป็นต้นไป[12]
- ออกมาตรการคุมเข้มไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เต้นโคโยตี้[13]
สาธารณสุข
- ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เปลี่ยนเป็น รักษาฟรีทุกโรค และให้คนไทยห่างไกลจากโรค[12]
พลังงาน
- ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า[14]
การศึกษา
- ให้โรงเรียนดัง 430 แห่งทั่วประเทศรับเด็กนักเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนครึ่งหนึ่ง ส่วนโรงเรียนอื่นจะต้องรับนักเรียนเข้าทั้งหมดโดยไม่มีการสอบ หากมีผู้สมัครเกินจำนวนที่รับ ให้ใช้วิธีจับสลาก[15]
สิทธิมนุษยชน
- ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯ เรื่องห้ามการชุมนุมประท้วง แต่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก[16]
- การสั่งห้ามคนขับรถแท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพเข้าร่วมการประท้วงรัฐบาล สมัชชาคนจนหลายพันคนถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการประท้วงในกรุงเทพฯ โดยอ้างว่าพวกเขาไม่มีใบอนุญาตให้เดินทางตามกฎอัยการศึก (ซึ่งยังมีผลครอบคลุม 30 กว่าจังหวัดในเวลานั้น)[17]
- สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายใต้รัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ กล่าวว่า "การวิพากษ์วิจารณ์ประธานองคมนตรีถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ" ดังนั้น การปิดเว็บไซต์ที่มีข้อความวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเหมาะสม[18]
- รัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ผลักดันกฎหมายที่ระบุว่า ผู้ที่พยายามเข้าเว็บไซต์ใด ๆ ที่รัฐบาลได้เซ็นเซอร์ไว้หนึ่งหมื่นกว่าเว็บ จะต้องรับโทษตามกฎหมาย และเอาผิดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่เปิดเผยไอพีแอดเดรสของผู้ใช้แก่รัฐบาล[19]
- การปิดวิทยุชุมชนที่ต่อสายตรงสัมภาษณ์ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังเกิดรัฐประหารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยได้โทรศัพท์เข้ามาที่สถานีวิทยุชุมชนคลื่น 87.75FM และคลื่น 92.75FM วันต่อมา รัฐบาลทหาร กรมประชาสัมพันธ์ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้เข้ามาตรวจสอบวิทยุชุมชนแห่งนี้ ทำให้วิทยุชุมชนนี้งดออกอากาศ[20]
- การก่อตั้งเครือข่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารจำนวน 700,000 คน เพื่อสกัดกั้นผู้ประท้วงรัฐบาลทหาร ผู้อำนวยการ กอ.รมน. กล่าวว่า "เราต้องสกัดกั้นผู้ประท้วงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ถ้ามีผู้ประท้วงน้อยกว่า 50,000 คน ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร"[21]
- วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลสั่งเซ็นเซอร์การแพร่ภาพการสัมภาษณ์ ทักษิณ ชินวัตร ทางซีเอ็นเอ็นในประเทศไทย[22]
สื่อสารมวลชน
- ได้ปิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550
- ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 และปิดตัวลงเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 00.08 นาฬิกา
- ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส (ปัจจุบันใช้ชื่อว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 และเปิดทำการออกอากาศเป็นครั้งแรกอย่างเต็มรูปแบบโดยอยู่ภายใต้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551
- จัดรายการที่ให้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลให้แก่ประชาชน คือ รายการสายตรงทำเนียบ และรายการเปิดบ้านพิษณุโลก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
บัญชีทรัพย์สิน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549 พบว่า พลเอก สุรยุทธ์ มีทรัพย์สินรวม 25,246,091 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 5 บัญชี จำนวน 7,283,341 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 82,500 บาท ที่ดิน 9 แปลง มูลค่า 17,880,250 บาท
พันเอกหญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ (ภริยาของ พลเอก สุรยุทธ์) มีทรัพย์สินรวม 65,566,363 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 15 บัญชี จำนวน 20,620,933 บาท เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล 10,030,000 บาท เงินลงทุนอื่น 33,430 บาท ที่ดิน 3 แปลง มูลค่า 7 ล้านบาท บ้าน 3 หลัง มูลค่า 10 ล้าน ยานพาหนะ 3 คัน มูลค่า 3,725,000 ทรัพย์อื่น 14,157,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับอัญมณี ทั้งสองคนมีทรัพย์สินรวม 90,812,454 บาท[23]
ฉายานาม
เนื่องจากรัฐบาลของ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีที่เป็นผู้สูงอายุ และข้าราชการประจำที่เกษียณอายุแล้วจำนวนมาก สื่อมวลชนจึงตั้งฉายาให้ว่า "รัฐบาลขิงแก่" แต่ก็มีสื่อมวลชนบางแขนง ตั้งฉายาให้ว่า ยุทธ ยายเที่ยง เนื่องจากมีคดีพัวพันเกี่ยวกับการโกงที่ดินเขายายเที่ยง และโดยที่นายกรัฐมนตรีเองถูกมองว่ามุ่งเน้นการรักษาคุณธรรม จริยธรรม และในขณะเดียวกันก็ทำงานเชื่องช้า ทำให้ได้รับฉายาจากธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าเป็น "ฤๅษีเลี้ยงเต่า" โดยตั้งล้อกับฉายาของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยได้รับฉายาว่า "ฤๅษีเลี้ยงลิง"[24]
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
นอกจากจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากรับตำแหน่งจากคณะรัฐประหารแล้ว พลเอก สุรยุทธ์ ยังถูกกล่าวหาในเรื่องการบุกรุกป่าสงวนและการคอรัปชั่นด้วย
การบุกรุกป่าสงวน
พลเอก สุรยุทธ์ ถูกกล่าวหาว่าครอบครองพื้นที่ป่าสงวนเขายายเที่ยง ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งขัดต่อกฎหมายพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อย่างไรก็ดี กรมป่าไม้ได้พิสูจน์แล้วว่าที่ผืนนี้เป็นหนึ่งในจำนวนหลายร้อยแปลงที่เรียกว่า "พื้นที่จัดสรรแบบหมู่บ้านป่าไม้" และเอกสารสิทธิ์คือ ภบท.5 ซึ่งสามารถตกทอดได้ทางทายาทโดยธรรมเท่านั้น และแปลงที่พลเอกสุรยุทธ์ครอบครองนั้นผู้ได้รับจัดสรรโดยถูกต้องแต่แรกคือ นายเบ้า สินนอก เมื่อพลเอกสุรยุทธ์เป็นผู้นำแม่ทัพภาคที่ 2 ได้ซื้อที่ดินมาจากพันเอก สุรฤทธิ์ จันทราทิพ ซึ่งก็ซื้อมาอีกทอดหนึ่ง โปรดสังเกตว่าช่องว่างทางกฎหมายนี้ที่ทำให้บุคคลมากมายทั่วประเทศยอมเสียเงินซื้อที่ ภบท.5 ที่ไม่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ยกเว้นตกทอด ทั้ง ๆ รู้แก่ใจว่าเมื่อรัฐเรียกคืนก็ต้องคืน พลเอก สุรยุทธ์กล่าวว่าเขาจะลาออกและคืนที่ดินนี้ (ซึ่งเขาไม่ได้ปฏิเสธว่าเขาเป็นเจ้าของ) ทันทีหากพบความผิด[25] อารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวปกป้องสุรยุทธ์ว่า "พลเอก สุรยุทธ์ ซื้อที่ดินนี้มาจากคนอื่น ดังนั้นจะต้องไปถามคน ๆ นั้นว่าที่ดินนี้เป็นพื้นที่สงวนหรือไม่"
จรัญ ดิษฐาอภิชัย อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ กล่าวว่า "ผมรับไม่ได้ที่ใครคนหนึ่งสร้างบ้านหรูหราในพื้นที่ป่าสงวน กลับเรียกตัวเองว่าเป็นผู้มีจริยธรรมและความพอเพียง"[26]
อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ปปช.) ปฏิเสธที่จะตรวจสอบคดีนี้โดยให้เหตุผลว่าไม่มีอำนาจไปตรวจสอบ กล้าณรงค์ จันทิก หนึ่งในกรรมการ ปปช. กล่าวว่า พลเอก สุรยุทธ์ เกษียณจากกองทัพเมื่อ พ.ศ. 2546 แต่เพิ่งมาฟ้องร้องกัน 4 ปีหลังเกษียณ คณะกรรมการ ปปช. ไม่สามารถสอบสวนคดีที่มีอายุเกิน 2 ปีหลังจากเกษียณได้[27]
การฉ้อราษฎร์บังหลวง
พลเอก สุรยุทธ์ ชื่นชอบสะสมโมเดลรถไฟ เขาถูกกล่าวหาว่าครอบครองโบกี้รถไฟ 4 โบกี้ ไว้ที่บ้านเขายายเที่ยง จังหวัดนครราชสีมา อย่างผิดกฎหมาย พลเอก สุรยุทธ์กล่าวว่าจริง ๆ แล้วเขามีมากกว่า 4 โบกี้ แต่ทั้งหมดเป็นรถไฟจำลองขนาดเล็กวิ่งด้วยไฟฟ้า อยู่ในกรุงเทพฯ และได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[28]
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ข่าวสดฉบับวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ได้เผยแพร่ภาพสิ่งปลูกสร้างคล้ายรางรถไฟที่อยู่บนเขาใกล้ที่พักของ พลเอก สุรยุทธ์ ที่เขายายเที่ยง ซึ่งก่อนการสิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง พลเอก สุรยุทธ์ ได้เชิญสื่อมวลชนราว 40 คน ขึ้นไปเยี่ยมชมและทานอาหารกลางวัน ณ บ้านพักบนเขายายเที่ยงดังกล่าว จึงปรากฏความจริงว่าสิ่งที่ดูคล้ายโบกี้รถไฟนั้นคืออาคารที่ปลูกอยู่ใกล้กับตัวบ้านพัก[29]
หลังจากที่มีการชุมนุมบนหมู่บ้านเขายายเที่ยง และด้วยเกรงว่าชาวบ้านอีกมากที่ครอบครองที่ดินลักษณะเดียวกันจะได้รับผลกระทบ พลเอก สุรยุทธ์ จึงให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมารับมอบที่ดินที่มีปัญหาของตนกลับไปพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดโดยไม่รื้อถอน[29][30]
รางวัลและเกียรติยศ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2550[31]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ[32] ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2561 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[33]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[34]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[35]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 6 เหรียญรามมาลา (ร.ม.)[36]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[37]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[38]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[39]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[40]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- สิงคโปร์ :
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2543 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[42]
- กัมพูชา :
- พ.ศ. 2544 – เครื่องอิสริยยศลำดับสหไมตรี ชั้นมหาเสรีวัฒน์[44]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นทวีติยาภรณ์[45]
- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2545 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราการติกาเอกปักษี ชั้นที่ 1[46]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นประถมาภรณ์[47]
- มาเลเซีย :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ภายใต้สุลต่านแห่งมาเลเซีย
ยศทางทหาร
ลำดับสาแหรก
พงศาวลีของสุรยุทธ์ จุลานนท์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งประธานองคมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 4 มกราคม 2563
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานองคมนตรี
- ↑ "ชีวิตครอบครัวพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.
- ↑ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในพระราชพิธีวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 1
- ↑ The Nation, NLA 'doesn' t represent' all of the people เก็บถาวร 2006-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 October 2006
- ↑ ย้อนตำนาน ย้าย ผบ.ทบ. The Untouchable หลังกระแสเปลี่ยน ‘ทบ.1’ ‘บิ๊กตู่’ ทิ้งทวน จัดทัพ ‘บิ๊กแก้ว-บิ๊กบี้-บิ๊กต่อ-บิ๊กโต’/รายงานพิเศษ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22 - 28 เมษายน 2565
- ↑ เผยผู้จุดชนวนพฤษภาทมิฬ ‘สุรยุทธ์’ รับนำพลบุกรอยัล
- ↑ "รำลึก 15 ปี พฤษภาทมิฬเสียงแตก แบ่งขั้วจัดงาน "ทรท.ร่วม 12 องค์กรต้านรัฐประหาร"จัดโชว์ละครล้อเลียนทหารฆ่าประชาชน ส่วน "ปชป.จับมือพันธมิตร-ญาติวีรชน"ร่วมทำบุญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-25.
- ↑ สุรยุทธ์ จุลานนท์ คนดีที่ตายแล้ว
- ↑ วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นำ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-18. สืบค้นเมื่อ 2011-12-03.
- ↑ 12.0 12.1 The Nation, NHSO backs plan to ditch Bt30 fee เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, No 'coyote dances' for Loy Krathong: Culture Ministry, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ Asia Times, Unplugging Thailand, Myanmar energy deals เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, Famous schools ordered to take in half of new students from neighbourhood, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, NLA revokes ban on demonstrations, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, Some 1,000 villagers prevented from catching buses to Bangkok
- ↑ The Nation, Sitthichai gets no kick from the Net เก็บถาวร 2007-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 15 เมษายน พ.ศ. 2550
- ↑ Bangkok Post, Thailand gets new cyber crime law, 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
- ↑ Bangkok Post, After Thaksin calls, officials drop by, May 2007
- ↑ The Nation, Govt in move to head off violence เก็บถาวร 2007-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
- ↑ Thai generals pull plug on Thaksin CNN interview
- ↑ "เปิดทรัพย์สิน "ครม.สุรยุทธ์" ฮือฮา "อุ๋ย-ภรรยา" กว่าพันล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-30. สืบค้นเมื่อ 2006-12-02.
- ↑ ธีรยุทธ เปรียบ รบ.ฤๅษีเลี้ยงเต่า! ให้แสดงผู้นำแบบ ขุนพันธ์
- ↑ The Nation, Activists call on Surayud to resign for alleged forest encroachment, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, Thumbs down for the next charter, 15 มกราคม พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, NCCC rules against probe into Surayud's land, 22 มิถุนายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, Surayud denies train carriages allegation เก็บถาวร 2007-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549
- ↑ 29.0 29.1 สุรยุทธ์ ณ เขายายเที่ยง ไม่คืน ไม่ออก ไม่จบ ข่าวสด สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2549 แหล่งสำรอง
- ↑ ปิดฉาก บ้าน"สุรยุทธ์" บนเขายายเที่ยง โพสต์ทูเดย์ สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2553
- ↑ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ "นายกรัฐมนตรี คนที่ 24 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม 135 ตอนที่ 1 ข หน้า 1, 3 มกราคม 2561
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 112 ตอนที่ 17 ข หน้า 1, 3 ธันวาคม 2538
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 109 ตอนที่ 153 ง ฉบับพิเศษ หน้า 6, 3 ธันวาคม 2535
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม 107 ตอนที่ 55 ง หน้า 2660, 5 เมษายน 2533
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม 91 ตอนที่ 188 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2, 11 พฤศจิกายน 2517
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 106 ตอนที่ 13 ง หน้า 363, 23 มกราคม 2532
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 96 ตอนที่ 92 ง ฉบับพิเศษ หน้า 37, 8 มิถุนายน 2522
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 136 ตอนที่ 36 ข หน้า 1, 16 สิงหาคม 2562
- ↑ DEPUTY PRIME MINISTER & MINISTER FOR DEFENCE DR. TONY TAN CONFERS THE COMMANDER-IN-CHIEF OF THE ROYAL THAI ARMY (RTA) GENERAL SURAYUD CHULANONT THE MERITORIOUS SERVICE MEDAL (MILITARY) AT MINDEF
- ↑ 42.0 42.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 117 ตอนที่ 28 ข หน้า 86, 28 ธันวาคม 2543
- ↑ President Nathan Confers Top Military Award on Supreme Commander of the Royal Thai Armed Forces
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 118 ตอนที่ 1 ข หน้า 5, 26 มกราคม 2544
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 118 ตอนที่ 2 ข หน้า 3, 8 กุมภาพันธ์ 2544
- ↑ 46.0 46.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 119 ตอนที่ 13 ข หน้า 2, 30 สิงหาคม 2545
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 120 ตอนที่ 3 ข หน้า 6, 7 มีนาคม 2546
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 83)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 69)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 63)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 75)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 59)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 50)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 7)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 5096)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
แหล่งข้อมูลอื่น
- ชีวประวัติ จาก เว็บกองทัพบก เก็บถาวร 2001-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com เก็บถาวร 2007-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วาสนา นาน่วม. เส้นทางเหล็ก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ จากลูกคอมมิวนิสต์สู่ ผบ.ทบ.. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546. ISBN 978-974-323-009-7
- วาสนา นาน่วม. เส้นทางเหล็ก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 978-974-323-792-8
- รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ, 2550. ISBN 978-974-261-124-8
ก่อนหน้า | สุรยุทธ์ จุลานนท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | ประธานองคมนตรี (2 มกราคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในตำแหน่ง | ||
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี) |
รักษาการประธานองคมนตรี (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 2 มกราคม พ.ศ. 2563) |
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (ประธานองคมนตรี) | ||
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร | นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม. 56) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551) |
สมัคร สุนทรเวช | ||
อารีย์ วงศ์อารยะ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) |
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง | ||
พลเรือเอก ณรงค์ ยุทธวงศ์ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546) |
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ | ||
พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545) |
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ | ||
พลโท อานุภาพ ทรงสุนทร | แม่ทัพภาคที่ 2 (พ.ศ. 2537–2540) |
พลโท เรวัต บุญทับ |