โคโยตี้
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
ในสังคมไทย คำว่า "โคโยตี้" หมายถึง บุคคลที่หาเลี้ยงชีพด้วยเต้นทำเพลงทำนองเร้าใจในแนวเย้ายวนกามารมณ์ ชื่ออาชีพนี้มาจากชื่อภาพยนตร์ตะวันตกเรื่อง "โคโยตี้ อั๊กลี่ บาร์ห้าวสาวฮ็อต" เนื้อหาเกี่ยวกับหญิงที่ทำงานในสถานบันเทิงและเต้นในบาร์
ในเมืองไทยเริ่มมีสาวโคโยตี้ครั้งแรกที่ฟอร์เต้ สถานบันเทิงแห่งหนึ่งในซอยสุขุมวิท 24 ในช่วง พ.ศ. 2545
ปัญหาสังคมแก้ไข
อาชีพโคโยตี้ในประเทศไทยยังก่อปัญหาให้แก่สังคมอีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549 คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้รับหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการความว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชปรารภทรงห่วงใยถึงเรื่องการจัดแสดงโคโยตี้ในวัด หลังจากทอดพระเนตรการถ่ายทอดสดงานบั้งไฟพญานาคจากจังหวัดหนองคายในช่วงวันออกพรรษา[1] ภายหลังกระทรวงวัฒนธรรมจึงเตรียมออกมาตรการคุมเข้มไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เต้นโคโยตี้ [2]
การแต่งกายแก้ไข
การแต่งกายของโคโยตี้จะเน้นไปทางเสื้อผ้าที่น้อยชิ้น โดยหลักๆก็คือเสื้อเอวลอยที่มีขนาดพอดีตัว กางเกงยีนส์ที่มีขาที่สั้นเกือบถึงก้น และความสูงของเอวกางเกงอยุ่ในระดับตํ่ากว่าสะดือลงมา หรือบางคนอาจจะใส่ชุดชั้นในในการเต้นของผู้หญิง สําหรับโคโยตี้บางคนอาจจะมีการนําเสื้อผ้าที่ใช้ในชีวิตประจําวันนํามาสวมใส่แล้วทําการตัดแต่งช่วงบริเวณหน้าท้องให้มีรอยฉีกขาดเห็นช่วงบริเวณสะดือตามที่เราตัดแต่งไว้
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ข่าว กปส., สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงการเผยแพร่ภาพสาวโคโยตี้ในวัด เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ข่าว กปส., รมว.พม.จี้ อปท.ดูแลความเหมาะสมการแสดงโคโยตี้ ชี้ต้องแก้ทั้งระบบ เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน