สมทัต อัตตะนันทน์
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมทัต อัตตะนันทน์ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 — ) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และแม่ทัพภาคที่ 1 อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1]
สมทัต อัตตะนันทน์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | |
ก่อนหน้า | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ถัดไป | ชัยสิทธิ์ ชินวัตร |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546 | |
ก่อนหน้า | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ถัดไป | ชัยสิทธิ์ ชินวัตร |
แม่ทัพภาคที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2544 | |
ก่อนหน้า | ทวีป สุวรรณสิงห์ |
ถัดไป | พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 (76 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงศุภนภา อัตตะนันทน์ (จารุเสถียร) |
ศาสนา | พุทธ |
การเข้าเป็นทหาร | |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
ประวัติแก้ไข
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ เดิมชื่อ สมภพ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ในค่ายทหาร ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของจอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ กับคุณหญิงกานดา อัตตะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงศุภนภา อัตตะนันทน์ (จารุเสถียร) ธิดาของจอมพลประภาส จารุเสถียร[2]
คุณวุฒิก่อนเข้ารับราชการแก้ไข
- พ.ศ. 2503 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ชั้น ม.6
- พ.ศ. 2505 โรงเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ 2
- พ.ศ. 2510 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ชั้นปีที่ 5
วุฒิการศึกษาเมื่อรับราชการแล้วแก้ไข
- พ.ศ. 2510 หลักสูตรจู่โจม (จปร.) รุ่นที่ 14 รร.ศสพ.
- พ.ศ. 2510 หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 2 รร.ร.ศร.
- พ.ศ. 2511 หลักสูตรโดดร่ม รุ่นที่ 40 รร.ศสพ.
- พ.ศ. 2514 หลักสูตรภาษาอังกฤษและอาวุธนำวิถี รุ่นที่ 1/14 ยศ.ทบ.
- พ.ศ. 2515 หลักสูตรชั้นนายพัน ฟอร์ค เบนนิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2516 หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 53 รร.สธ.ทบ.
- พ.ศ. 2524 หลักสูตรการรบร่วมอากาศพื้นดิน รุ่นที่ 63 รร.การรบร่วม คปอ.ทอ.
- พ.ศ. 2524 หลักสูตร เสธ.ทหาร รุ่นที่ 23 รร.สธ.ทหาร บก.ทหารสูงสุด
- พ.ศ. 2534 หลักสูตร วทอ.สอส.รุ่นที่ 26 วทอ.
- พ.ศ. 2540 หลักสูตร ปรอ.รุ่นที่ 10 (วปรอ. 4010 )
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2544 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2541 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2544 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2518 - เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2513 - เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2526 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)
- พ.ศ. 2545 - เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 11 กันยายน พุทธศักราช 2516. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่วัฒนธรรมการค้า, 2516.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2544" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (22ข): 2. 4 ธันวาคม 2544. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2544" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (8ข): 2. 4 พฤษภาคม 2544. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)
ก่อนหน้า | สมทัต อัตตะนันทน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547) |
พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร | ||
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2546) |
พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร |