โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2452 โดยจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[2] เพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับยุทธวิธีทางการทหารให้กับทหารในระดับมันสมองของกองทัพ โดยต้องมีการสอบคัดเลือกเพื่อมาเข้ารับการศึกษา หลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันได้ยึดตามโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เน้นการให้การศึกษาภาคปฏิบัติยิ่งกว่าการบรรยายตามความต้องการของกองทัพบก และมีการรับนายทหารจากมิตรประเทศเข้ามารับการศึกษาด้วย
Command and General Staff College | |
ชื่อย่อ | รร.สธ.ทบ. / CGSC.RTA |
---|---|
คติพจน์ | ปลูกฝังความรู้ ควบคู่คุณธรรม สร้างผู้นำกองทัพบกไทย |
ประเภท | สถาบันการศึกษาทางทหาร |
สถาปนา | 3 เมษายน พ.ศ. 2452 |
สังกัดการศึกษา | กองทัพบก |
ผู้บัญชาการ | พลตรี ดิษฐรัตน์ อมรวิทวัส [1] |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | https://cgsc.rta.mi.th/ |
ประวัติ
แก้นับตั้งแต่ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2452 ซึ่งเป็นวันที่กองทัพบกได้ออกคำสั่งให้เปิดการศึกษาของนักเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 1 เป็นต้นมา จนถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 ก็ครบรอบ 100 ปี ของการสถาปนาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาหลักของกองทัพบกสถาบันหนึ่ง
จากวันสถาปนามาจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ได้ผลิตนายทหารชั้นมันสมองให้กับหน่วยราชการในกองทัพเป็นจำนวนมากรวมทั้งการ สนับสนุนการผลิต ฝอ.แก่เจ้าหน้าที่จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (หลักสูตรฝ่ายอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน) และในอดีตก็ได้สนับสนุนการผลิต ฝอ. แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(หลักสูตร ฝอ.ตร.และหลักสูตรฝอ.ตร.(ตชด.)) อีกด้วย
ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมานี้ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ ทั้งในด้านการจัดหลักสูตร การจัดการศึกษา ตำรา สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ และนโยบายที่ได้รับมอบสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ของนายทหารนักเรียนที่มีอยู่แล้วก่อนเข้ารับการศึกษา รวมทั้งให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับวิวัฒนาการทางด้านวิชาการตามยุคตามสมัย จากการพัฒนาการดังกล่าว สามารถแบ่งวิวัฒนาการของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ได้เป็น 3 สมัยด้วยกัน คือ
- สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เริ่มตั้งแต่สถาปนาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ในปี พ.ศ. 2452 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475
- สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 (รร.สธ.ทบ.ถูกยุบเลิก 2 ปี 2475 - 2476) จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2488
- สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 จนถึงปัจจุบัน อันเป็นสมัยที่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงไปในแนวทางของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกต่างประเทศหลายประเทศ[3]
หลักสูตรการศึกษา
แก้ตามที่กองทัพบกกำหนด ได้แก่
- หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2452) ระยะเวลาการศึกษา 46 สัปดาห์
- หลักสูตรการบริหารความมั่นคงการทัพบก (บมท.)
- หลักสูตรการพัฒนาองค์ความรู้การก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบสำหรับผู้บริหาร (พรส.)
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การทหาร) รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2529) ปัจจุบันรุ่นที่ 39 (ความมั่นคงศึกษา)
- หลักสูตรนายทหารบกอาวุโส ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2533) ถึง ชุดที่ 42 ระยะเวลาการศึกษา 26 สัปดาห์
- หลักสูตรอื่น ๆ ได้แก่
- หลักสูตรฝ่ายอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน จำนวน 14 ชุด
- หลักสูตรฝ่ายอำนวยการตำรวจ จำนวน 15 ชุด
- หลักสูตรฝ่ายอำนวยการตำรวจ (ตำรวจตระเวนชายแดน) จำนวน 8 ชุด
- หลักสูตรฝ่ายอำนวยการชั้นต้นในการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ จำนวน 1 ชุด (พ.ศ. 2547)
รายนามผู้บัญชาการ
แก้รายนามผู้บัญชาการ | |||
ลำดับ | นาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ |
พ.ศ. 2452 - 2457 | |
2 | พลตรี พระยาพิชัยสงคราม (แก๊ป สรโยธิน) | พ.ศ. 2457 - 2464 | |
3 | พลตรี พระยาสรกิจพิศาล | พ.ศ. 2464 - 2473 | |
4 | พลตรี พระยาสราภัยสฤษฏิการ | พ.ศ. 2473 - 2474 | |
5 | พลตรี ประศาสน์ พิทยายุทธ | พ.ศ. 2475 - 2475 | |
6 | พลตรี พระอภัยสงคราม | พ.ศ. 2477 - 2481 | |
7 | พลตรี หลวงไพรีระย่อเดช | พ.ศ. 2481 - 2482 | |
8 | พลตรี สุรจิต จารุเศรนี | พ.ศ. 2482 - 2486 | |
9 | พลตรี สมบุญ กงศะพุกก์ | พ.ศ. 2486 - 2488 | |
10 | พลตรี เนตร เขมะโยธิน | พ.ศ. 2488 - 2491 | |
11 | พลตรี สุทธิ์ สุทธิสารรณกร | พ.ศ. 2491 - 2493 | |
12 | พลตรี หลวงจุลยุทธ์ยรรยง | พ.ศ. 2493 - 2495 | |
13 | พลตรี หม่อมเจ้าพิสิษฐดิษพงษ์ ดิศกุล | พ.ศ. 2495 -2495 | |
14 | พลตรี หม่อมหลวงคำรณ สุทัศน์ | พ.ศ. 2495 - 2496, พ.ศ. 2498 - 2501 | |
15 | พลตรี รัศมี รัชนีวัต | พ.ศ. 2496 - 2498 | |
16 | พลตรี ธีระเดช มุ่งทางธรรม | พ.ศ. 2501 - 2502 | |
17 | พลตรี อ่อง โพธิกนิษฐ์ | พ.ศ. 2502 - 2503 | |
18 | พลตรี เล็ก แนวมาลี | พ.ศ. 2503 - 2506 | |
19 | พลตรี ฉลาด หิรัญศิริ | พ.ศ. 2506 - 2507 | |
20 | พลตรี ถวิล เกษตรทัต | พ.ศ. 2507 - 2514 | |
21 | พลตรี สมัคร สุวรรณนาคร | พ.ศ. 2514 - 2520 | |
22 | พลตรี เสฐียร ศิริวิโรจน์ | พ.ศ. 2520 - 2524 | |
23 | พลตรี จำรัส นิคมบริรักษ์ | พ.ศ. 2524 - 2526 | |
24 | พลตรี สมคิด เจริญขำ | พ.ศ. 2526 - 2531 | |
25 | พลตรี สมชาย ชุติมันต์ | พ.ศ. 2531 - 2532 | |
26 | พลตรี ไพโรจน์ นุชฉายา | พ.ศ. 2532 - 2535 | |
27 | พลตรี มนตรีศักดิ์ บุญคง | พ.ศ. 2535 - 2537 | |
28 | พลตรี บุรี มนต์ไตรเวศย์ | พ.ศ. 2537 - 2541 | |
29 | พลตรี บัณฑิต พิริยาสัยสันติ | พ.ศ. 2541 - 2543 | |
30 | พลตรี พหล สง่าเนตร | พ.ศ. 2543 - 2546 | |
31 | พลตรี ระบิล สมคิด | พ.ศ. 2546 - 2548 | |
32 | พลตรี ภาณุมาต สีวะรา | พ.ศ. 2548 - 2549 | |
33 | พลตรี ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์ | พ.ศ. 2549 - 2552 | |
34 | พลตรี สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล | พ.ศ. 2552 - 2556 | |
35 | พลตรี ฐิตินันท์ อุตมัง | พ.ศ. 2556 - 2558 | |
36 | พลตรี วัลลภ แดงใหญ่ | พ.ศ. 2558 - 2559 | |
37 | พลตรี พร ภิเศก | พ.ศ. 2559 - 2561 | |
38 | พลตรี บุญรอด ศรีสมบัติ | พ.ศ. 2561 - 2562 | |
39 | พลตรี ดิเรก ดีประเสริฐ | พ.ศ. 2562 - 2564 | |
40 | พลตรี กัณห์ สถิตยุทธการ | พ.ศ. 2564 - 2566 | |
41 | พลตรี เจษฎ์ จันทรสนาม | พ.ศ. 2566 - 2567 | |
41 | พลตรี ดิษฐรัตน์ อมรวิทวัส [4] | พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ "ตอนที่ 279 "ทหารทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า" (ถึง..."ฉันทน...ไม่ได้แล้ว!!!?")". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "history and honor of Command and General Staff College". Command and General Staff College (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-21.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567