ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488) เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก
ชัยสิทธิ์ ชินวัตร | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ |
ถัดไป | พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | |
ก่อนหน้า | พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ |
ถัดไป | พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางวีณา ชินวัตร (สุขสภา) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2512–2548 |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก |
ประวัติ แก้ไข
พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร มีชื่อเล่นว่า "ตุ้ย" เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของ พ.อ. (พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร และนางทวี ชินวัตร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2503 หลังจากนั้นได้สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 และได้เลือกเข้าศึกษาต่อเป็นนักเรียนนายร้อย (จปร.รุ่นที่ 16 ) ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยเลือกเหล่าทหารช่าง จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2511 และได้รับพระราชทานยศเป็น ว่าที่ ร.ต.ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดทหารช่าง สังกัดกองพันทหารช่างที่ 4 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นพี่ชายเรืออากาศเอกประวิตร ชินวัตร อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ [1] บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 28
ตำแหน่งที่สำคัญทางทหาร แก้ไข
- พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดกองพันทหารช่างที่ 4
- พ.ศ. 2516 ผู้บังคับกองร้อยทหารช่าง กองพันทหารช่างที่ 4
- พ.ศ. 2517 นายทหารส่งกำลังกองพันทหารช่างที่ 3
- พ.ศ. 2518 ครูโรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
- พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองร้อย โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
- พ.ศ. 2522 ผู้ช่วยหัวหน้ากองส่งกำลัง กองทัพภาคที่ 3
- พ.ศ. 2524 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองแผนและโครงการ กองบัญชาการช่วยรบที่ 3
- พ.ศ. 2525 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารช่างที่ 112
- พ.ศ. 2526 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมทหารช่างที่ 11
- พ.ศ. 2528 เสนาธิการกรมทหารช่างที่ 11
- พ.ศ. 2530 รองผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 11
- พ.ศ. 2533 ผู้บังคับการกรมพัฒนาที่ 4 กองพลพัฒนาที่ 4
- พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 4
- พ.ศ. 2541 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 (ยศ พลตรี)
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด (ยศ พลโท)
- เม.ย.-ก.ย. พ.ศ. 2545 ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ยศ พลเอก)
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ผู้บัญชาการทหารบก
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ยศพลเรือเอก พลอากาศเอก)[2]
งานการเมือง แก้ไข
พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[3][4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554[5] ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย[6] ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย[7] ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นนายทัพ[14]
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2547 - เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[15]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-17.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/B/026/34.PDF
- ↑ ชัยสิทธิ์ ชินวัตร พร้อมนั่งหน.เพื่อไทย
- ↑ ชัยสิทธิ์ นั่งหัวหน้าพรรค เพื่อไทย
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 146/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-10-01.
- ↑ http://www.nationtv.tv/main/content/378670467/
- ↑ https://www.springnews.co.th/programs/insidethailand/356162
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๘, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 121, ตอนที่ 6 ข หน้า 3, 25 มีนาคม พ.ศ. 2547
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
ก่อนหน้า | ชัยสิทธิ์ ชินวัตร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548) |
พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ | ||
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547) |
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ |