ประวิตร วงษ์สุวรรณ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (ชื่อเล่น: ป้อม; เกิด: 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488) เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมระหว่างปี 2551 ถึง 2554 และ 2557 ถึงปัจจุบัน ผู้บัญชาการทหารบกระหว่างปี 2547 ถึง 2548, หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ชื่อว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มแยกบูรพาพยัคฆ์
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ต.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
ประวิตร วงษ์สุวรรณในปี 2561 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 314 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ถัดไป | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 232 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ถัดไป | ยุทธศักดิ์ ศศิประภา |
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กันยายน พ.ศ. 2557 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 308 วัน) | |
หัวหน้า | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 (0 ปี 365 วัน) | |
ก่อนหน้า | ชัยสิทธิ์ ชินวัตร |
ถัดไป | สนธิ บุญยรัตกลิน |
แม่ทัพภาคที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา |
ถัดไป | ไพศาล กตัญญู |
ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย คนที่ 7 | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา |
หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | อุตตม สาวนายน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (75 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคพลังประชารัฐ (2563–ปัจจุบัน) |
บิดา | ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ |
มารดา | สายสนี วงษ์สุวรรณ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2512–2548 |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพบก |
ชีวิตและการงาน
เขาเกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตของพลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีน้องชาย 4 คน คือ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ, พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมทีโอที และ พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ[1]
เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลในปี พ.ศ. 2505 จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2521 เข้าศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 พ.ศ. 2556
เขาถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี" ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับนายทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบกสองนาย คือ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552
ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่างๆ ที่ถูกครหา[2] ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
เขาเป็นที่ราบกันว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มทหารเรียก "บูรพาพยัคฆ์" ซึ่งหมายถึงทหารที่เริ่มต้นรับราชการจากกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ("ทหารเสือราชินี") กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี 2551 ถึง 2554 กล่าวว่าตลอดอาชีพของประวิทย์ เขาให้คำปรึกษาแก่พลเอกประยุทธ์และช่วยให้เขาไต่เต้าลำดับชั้นยศ[3] เขามักถือเป็นผู้สนับสนุนการประท้วงต่อต้านรัฐบาลระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 บ้างว่าเขาอาจเป็นผู้นำคณะรัฐประหาร หรือเป็นผู้มีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีกรณีที่ กปปส. ล้มรัฐบาลสำเร็จ[4][5]
หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[6] เขายังเป็นประธานคณะกรรมการอีกกว่า 50 คณะ[7]
รับราชการทหาร
- พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
- พ.ศ. 2514 ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2517 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2519 นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2520 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2522 นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2523 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2529 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2536 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2540 รองแม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2541 แม่ทัพน้อยที่ 1
- พ.ศ. 2543 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
- พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
- พ.ศ. 2545 แม่ทัพภาคที่ 1
- พ.ศ. 2546 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารบก
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- 2 เมษายน พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย[8]
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทย[9]
ในปี พ.ศ. 2558 เขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ[10]
กรณีอื้อฉาว
กรณีไม่เปิดเผยนาฬิกาหรู
การยกมือขึ้นบังแดดของ พล.อ. ประวิตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างรอถ่ายรูปกับคณะรัฐมนตรีใหม่ "ประยุทธ์ 5" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามว่าเหตุใด นาฬิกาเรือนโตยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ (Richard Mille) จำนวน 9 เรือน จึงไม่ปรากฏอยู่ในประเภท "ทรัพย์สินอื่น" ที่มีราคามากกว่าสองแสนบาท ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช ของ พล.อ. ประวิตร เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ปี 2557[11]
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากเอกสารแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.อ. ประวิตร ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 นั้น พบว่า พล.อ. ประวิตร มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 87,373,757.62 บาท ประกอบด้วย 1. เงินในบัญชี 53 ล้านบาท 2. เงินลงทุน 7 ล้านบาท 3. ที่ดิน 17 ล้านบาท 4. โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 10 ล้านบาท และ 5. รถโฟล์คสวาเก้น (Volkswagen) ครอบครองปี 2543 และไม่พบว่ามีการยื่นชี้แจงในส่วนของบัญชีทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีมูลค่าเกิน 2 แสนบาทไว้โดยคาดว่า นาฬิกาประดับข้อมือของ พล.อ. ประวิตร น่าจะเป็นยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ (Richard Mille) รุ่น RM 029 ตัวเรือนทำด้วยแพลทินัม ส่วนสายเป็นยางอย่างดี มีจุดเด่นอยู่ตรงตัวเลขวันที่ขนาดใหญ่ สนนราคา 111,492.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวๆ 3.6 ล้านบาท ขณะที่แหวนเพชรก็น่าจะอยู่ที่ราว 5 กะรัตขึ้นไป โดยมูลค่าในตลาดของเพชรเริ่มต้นที่ 4 - 7 ล้านบาท[12]
สื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่กล้าปลด พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่า เนื่องจากเขาเป็นมือประสานสิบทิศรู้จักคนในวงการนักการเมืองและทหารตำรวจอย่างกว้างขวาง[13]
การวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีอื่นๆ
พล.อ. ประวิตร แสดงความคิดเห็นภายหลังเหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561 ว่า "คนจีนเป็นเป็นคนนำนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา เป็นเรื่องของนักท่องเที่ยวเขา เขาทำของเขาเอง เขาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เราจะให้ไปเรียกความเชื่อมั่นได้อย่างไร" ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ[14]
ต่อมาหลังเหตุการโจมตีโรงแรมที่ไนโรบี พ.ศ. 2562 เขาให้สัมภาษณ์ว่ามูลเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มติดอาวุธโจมตีโรงแรมดุสิตดีทูในเครือดุสิตธานี ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้นอาจเกิดจากอาหารในโรงแรมอร่อย ส่งผลให้มีผู้ไม่พอใจในความคิดเห็นดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2546 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2543 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2548 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[18]
- พ.ศ. 2515 - เหรียญชัยสมรภูมิ กรณีการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ประดับเปลวระเบิด)[19]
- พ.ศ. 2526 - เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 1 (ส.ช.)[20]
- พ.ศ. 2517 - เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[21]
- พ.ศ. 2526 - เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[22]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ - เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
อ้างอิง
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/D/110/11.PDF
- ↑ ฉายานักการเมืองปี 53
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFP-20150521
- ↑ Wassana Nanuam (12 December 2013). "'Silent' military coup beats having a real one". Bangkok Post.
- ↑ Jason Szep; Amy Sawitta Lefevre (13 December 2013), Powerful forces revealed behind Thai protest movement, Reuters
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ "Prawit moved to 'ease work'". Bangkok Post. 17 August 2018. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
- ↑ คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่132/2553 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย<
- ↑ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01EVXdNVEV6TURVMU5BPT0=
- ↑ http://www.soc.go.th/acrobat/9_580908.pdf
- ↑ ประวิตรมีทรัพย์เท่าไร ถึงใส่นาฬิกาเรือนละหลายล้านบาทได้, BBC Thailand, 6 ธันวาคม 2017
- ↑ อ้าง “บิ๊กป้อม” ยืมแหวนเพชรแม่มาใส่ ส่วนนาฬิกาหรูนักธุรกิจเพื่อนรักให้ยืมมา, Mgr Online, 10 ธ.ค. 2560
- ↑ ประวิตร วงษ์สุวรรณ: อนาคต “พี่ใหญ่” วัย 72
- ↑ เรือล่มภูเก็ต: สื่อทางการจีนไม่พอใจคำพูด ประวิตร ที่ว่า "เขาทำของเขาเอง"
- ↑ สื่อนอกอึ้ง ‘ประวิตร’ บอกกลุ่มติดอาวุธโจมตีรร.ดุสิตในเคนยา อาจเพราะอาหารอร่อย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๒ เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๒ เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า หน้า ๒ เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า ๙ เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๗๗ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๐, ตอน ๖, ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖, ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑, ตอน ๑๕๓, ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๗, ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐, ตอน ๒๐๗, ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖, ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙๑๔
แหล่งข้อมูลอื่น
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก | รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง (ครม.61 และ 62) (30 สิงหาคม 2557 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.61) (30 สิงหาคม 2557 – 10 กรกฎาคม 2562) |
ประยุทธ์ จันทร์โอชา | ||
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.59) (20 ธันวาคม 2551 – 9 สิงหาคม 2554) |
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา | ||
พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม 2547 – 30 กันยายน 2548) |
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน | ||
พลโท พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา | แม่ทัพภาคที่ 1 (2545 – 2546) |
พลโท ไพศาล กตัญญู |