สงครามกลางเมืองลาว

สงครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2502-2518) บ้างเรียก การปฏิวัติลาว เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ (ปะเทดลาว) ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากชาวลาวในประเทศเวียดนามเหนือ กับรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจแห่งสงครามเย็น ในหมู่ทหารอเมริกันจากกองกิจการพิเศษ หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา และทหารผ่านศึกชาวม้งเรียกสงครามนี้ว่า สงครามลับ (Secret War)

สงครามกลางเมืองลาว
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม, สงครามอินโดจีน และสงครามเย็น

พื้นที่ของลาวที่ถูกควบคุมโดยปะเทดลาว ถูกทิ้งระเบิดโดยกองทัพอากาศสหรัฐเพื่อสนับสนุนราชอาณาจักรลาว
วันที่23 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
(16 ปี 6 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่
ผล

ปะเทดลาวและเวียดนามเหนือชนะ

คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
ทหาร 50,000 นาย (2497)[1]
ทหารรับจ้าง 21,000 นาย (2506)[2]
ทหารม้ง 19,000–23,000 นาย (2507)[3]
8,000 นาย (2503)[4]
48,000 นาย (2513)[4]
ความสูญเสีย
กองทัพราชอาณาจักรลาวประมาณ 15,000 นาย[5] ไม่ทราบ
มากกว่า 3,000 คน[6]
รวมเสียชีวิต 20,000–62,000 คน[7]

ราชอาณาจักรลาวกลายเป็นสมรภูมิลับระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในสงครามเวียดนาม สนธิสัญญาไมตรีและสมาคมฝรั่งเศส-ลาวที่ลงนามในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ส่งผลให้ฝรั่งเศสถ่ายโอนอำนาจที่เหลือคืนให้กับรัฐบาลลาวในระบอบกษัตริย์ ยกเว้นอำนาจควบคุมการทหาร โดยสนธิสัญญาไม่มีตัวแทนจากขบวนการลาวอิสระ ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธซึ่งมีความคิดต่อต้านการล่าอาณานิคมและสนับสนุนแนวคิดชาตินิยม ได้ร่วมลงนามด้วย สนธิสัญญายังสถาปนาให้ลาวเป็นสมาชิกซึ่งมีสถานะเป็นเอกราชในสหภาพฝรั่งเศส หลังจากที่สนธิสัญญาได้รับการลงนาม ก็มีการต่อสู้กันทางการเมืองระหว่างฝ่ายนิยมความเป็นกลาง นำโดยเจ้าสุวรรณภูมา รัตนวงศา, ฝ่ายขวา นำโดยเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ และฝ่ายซ้าย ในนามแนวร่วมรักชาติลาว นำโดยเจ้าสุภานุวงศ์ และไกสอน พมวิหาน นายกรัฐมนตรีในอนาคต มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสม จนกระทั่งสามารถจัดตั้งรัฐบาลสามพรรคได้สำเร็จ โดยจัดตั้งขึ้นที่นครเวียงจันทน์

การสู้รบในประเทศลาวเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพเวียดนามเหนือ, กองทัพอเมริกัน, กองทัพไทยและกองทัพเวียดนามใต้ ซึ่งทำการสู้รบทั้งทางตรงและผ่านทหารกองโจร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อครอบครองด้ามขวานของลาว กองทัพเวียดนามเหนือสามารถเข้าควบคุมพื้นที่นี้ได้ และนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้เป็นเส้นทางเสบียงโฮจิมินห์ และเป็นที่มั่นในการระดมกำลังเพื่อรุกเข้าไปยังเวียดนามใต้ จุดที่สองที่เกิดการสู้รบกันอย่างหนักที่ทุ่งไหหินและบริเวณโดยรอบ

กองทัพเวียดนามเหนือ และปะเทดลาว ได้รับชัยชนะในที่สุดใน พ.ศ. 2518 และถือว่าเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน

ภาพรวม

แก้

จากการประชุมเจนีวาใน พ.ศ. 2497 ลาวได้ประกาศให้ตนเองเป็นรัฐที่เป็นกลาง อย่างไรก็ตาม กองทัพประชาชนเวียดนาม (PAVN) ยังคงปฏิบัติการอยู่ในทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของลาว มีความพยายามหลายครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ในการบังคับกองกำลังเวียดนามเหนือให้ออกจากประเทศลาว แต่ไม่ว่าจะด้วยข้อตกลง หรือคำยินยอมใด ๆ ก็ไม่สามารถทำให้รัฐบาลฮานอย ซึ่งตั้งใจที่จะไม่ทิ้งสหายคอมมิวนิสต์ชาวลาวไป ออกไปจากประเทศได้

ฝ่ายเวียดนามเหนือจัดตั้งเส้นทางเสบียงโฮจิมินห์ขึ้นมา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว ซึ่งมีชายแดนติดเวียดนามอยู่ เส้นทางเสบียงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทหารเวียดนามเหนือสามารถแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามใต้ได้ ทั้งยังเป็นเส้นทางในการส่งเสบียงไปเพื่อช่วยเหลือแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้อีกด้วย

ฝ่ายเวียดนามเหนือมีกำลังทหารเป็นจำนวนมากอยู่ทางตอนเหนือของลาว ซึ่งทำหน้าที่เป็นกำลังสนับสนุนกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว และเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับรัฐบาลลาวในระบอบกษัตริย์

หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA) ที่ต้องการจะรบกวนปฏิบัติการณ์ในลาวโดยไม่ใช้กำลังทหาร ตอบโต้เวียดนามเหนือด้วยการฝึกกองโจรที่ประกอบด้วยชาวเขาบนดอยลาวประมาณ 30,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเผ่าม้ง กับชาวเผ่าเมี่ยนกับชาวเผ่าขมุอีกบางส่วน นำโดยนายพลหวังเปา จากกองทัพบกลาว ซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวม้ง กองทัพนี้ได้รับการสนับสนุนจากสายการบินแอร์อเมริกา (ซึ่ง CIA ควบคุมอยู่อย่างลับ ๆ), ประเทศไทย, กองทัพอากาศลาว และปฏิบัติการลับทางอากาศที่ควบคุมโดยเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศลาว เพื่อต่อสู้กับกองทัพประชาชนเวียดนาม, แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ (NLF) และสหายปะเทดลาว ซึ่งผลการรบออกมาโดยที่ต่างฝ่ายต่างก็ยังคุมเชิงกันอยู่ แต่ก็ยังส่งผลดีต่อสหรัฐ อย่างมากในสงครามเวียดนาม

ความเป็นไปของสงครามทางตอนเหนือขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศในแต่ละช่วงเวลาของปี เมื่อฤดูแล้งเริ่มต้นขึ้น ซึ่งมักอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ปฏิบัติการณ์ทางทหารของทหารเวียดนามเหนือก็เริ่มต้นขึ้นเช่นกัน โดยทหารใหม่และเสบียงจะเดินทางจากเวียดนามเหนือลงมาตามทางที่แห้งพอจะเดินผ่านได้ ซึ่งอาจจะเริ่มเดินทางมาจากเดียนเบียนฟู ผ่านทางหลวงสภาพดีของแขวงพงสาลีลงมา หรืออาจจะผ่านทางสาย 7 ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทุ่งไหหิน กองทัพลับของ CIA จะยอมหลีกทางให้ โดยจะทำการก่อกวน PAVN และปะเทดลาวก่อนที่จะถอนกำลังออกไป จากนั้นกองควบคุมการบินระวังหน้าเรเวน (Raven FACs) จะสั่งให้โจมตีฝ่ายคอมมิวนิสต์ทางอากาศด้วยเครื่องบินไอพ่นของกองทัพอากาศสหรัฐ และกองทัพอากาศลาวก็จะโจมตีด้วยรถถัง ที-28 เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดครองนครเวียงจันทน์และหลวงพระบางได้สำเร็จ เมื่อฤดูฝนมาถึงในอีก 6 เดือนต่อมา ฝนที่ตกลงมาจะทำให้เส้นทางเสบียงของเวียดนามเหนือใช้การไม่ได้ จากนั้นฝ่ายเวียดนามก็จะต้องล่าถอยกลับไปยังประเทศของตนเอง

ในขณะเดียวกัน การสู้รบในบริเวณด้ามขวานทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการสู้รบเพื่อทำลายเส้นทางเสบียงโฮจิมินห์ ซึ่งส่วนมากแล้วมักจะเป็นการโจมตีทางอากาศจากกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐ เนื่องจากข้อจำกัดทางการเมืองทำให้ไม่สามารถโจมตีเส้นทางเสบียงทางบกได้ Raven FACs ยังเป็นผู้สั่งการโจมตีทางอากาศในภูมิภาคนี้ด้วย ในขณะที่กองควบคุมการบินระวังหน้าอื่น ๆ จากเวียดนามใต้ อย่างเช่น Covey FACs จากกองบินยุทธวิธีสนับสนุนทางอากาศที่ 20 และ Nail FACs จากกองบินยุทธวิธีสนับสนุนทางอากาศที่ 23 ก็ทำการสั่งการโจมตีเช่นกัน การโจมตีทางอากาศอื่น ๆ จะได้รับการวางแผนล่วงหน้า โดยการประสานงานการยุทธทางอากาศโดยรวมจะถูกควบคุมโดยศูนย์ควบคุมและบัญชาการทางอากาศ

บางครั้งสื่อในสหรัฐ จะรายงานถึงความขัดแย้งในลาว โดยเรียกความขัดแย้งนี้ว่า "สงครามลับในลาวของ CIA" เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะรัฐบาลปฏิเสธว่าความขัดแย้งดังกล่าวเกิดขึ้น การปฏิเสธจากรัฐบาลสหรัฐ ถูกพิจารณาว่าจำเป็นเนื่องจากทั้งรัฐบาลเวียดนามเหนือและรัฐบาลสหรัฐ ต่างก็ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความเป็นกลางของลาว แต่ในทางปฏิบัติ สหรัฐ ถือว่าการเข้าไปแทรกแซงนั้นจำเป็น เนื่องจากเวียดนามเหนือนั้นสามารถยึดครองพื้นที่ขนาดใหญ่ในประเทศลาว อีกทั้งบทบาทของเวียดนามเหนือในลาวก็มีมากไม่แพ้กัน ถึงกระนั้น แม้รัฐบาลสหรัฐ จะปฏิเสธว่าได้เข้าไปเกี่ยวข้อง แต่สงครามกลางเมืองลาวก็ถือเป็นปฏิบัติการณ์ลับที่ใหญ่ทุกสุดของสหรัฐ ก่อนหน้าสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน มีการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องในดินแดนของลาวที่เวียดนามเหนือควบคุมอยู่ โดยเครื่องบินของสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการยุทธที่มีการทิ้งระเบิดหนักหน่วงที่สุดในประวัติศาสตร์ เจตจำนงค์ของสหรัฐ นั้นไม่พ้นการต่อสู้เพื่อเอาชนะสงครามเย็นด้วยการจำกัดการแพร่กระจายระบอบสังคมนิยม ซึ่งมาจากนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในการเผยแพร่ระบอบคอมมิวนิสต์ด้วยการบ่อนทำลายและการก่อกบฏ

ปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย

แก้

ด้านประเทศไทยได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เลย นครพนม หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2496[8] และได้มีการประกาศสถานการณ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ สกลนคร และศรีสะเกษ ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2496[9] ต่อมารัฐบาลไทยได้สั่งให้ประชาชนอยู่ในเคหะสถานตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนถึงตี 5 ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย ตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย กับในเทศบาลเมืองนครพนม ตำบลอุเทน อำเภออุเทน ตำบลบ้านแพง กิ่งอำเภอบ้านแพง ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม ตำบลมุกดาหาร อำเภอมุกดาหาร ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม [10]ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2497 และออกคำสั่งห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ในวันเดียวกัน[11]

ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2497 รัฐบาลได้ออกข้อบังคับตามพระราชบัญญัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 โดยห้ามคนต่างชาติกักตุนสินค้า เรี่ยไรสินค้า ชวนคนไทยให้ก่อการเป็นปฏิปักษ์ต่อราชอาณาจักรหรือแม้แต่ให้ที่อยู่คนไทยเพื่อก่อการเป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าหน้าที่[12]

ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร[13] และในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร[14]

ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2501 มีการยกเลิก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เลย นครพนม หนองคาย อุดรธานี อุตรดิตถ์ สกลนคร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และเขตท้องที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา[15]

อ้างอิง

แก้
  1. "The rise of Communism". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  2. "Global security - Pathet Lao Uprising". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2017. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  3. "Hmong rebellion in Laos". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2010. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  4. 4.0 4.1 "Area Handbook Series- Laos - Glossary". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 March 2017.
  5. T. Lomperis, From People's War to People's Rule (1996)
  6. "S&S": Small, Melvin & Joel David Singer, Resort to Arms: International and Civil Wars 1816–1980 (1982)
  7. Obermeyer, Ziad; Murray, Christopher J. L.; Gakidou, Emmanuela (2008). "Fifty years of violent war deaths from Vietnam to Bosnia: analysis of data from the world health survey programme". BMJ. 336 (7659): 1482–6. doi:10.1136/bmj.a137. PMC 2440905. PMID 18566045. See Table 3.
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/A/079/1.PDF
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/A/079/1_1.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/003/1_2.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/003/3.PDF
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/003/4_1.PDF
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/022/2.PDF
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/2.PDF
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/A/047/5.PDF

บรรณานุกรม

แก้

เอกสารรัฐบาล

แก้

ปะวัติศาสตร์

แก้

บันทึกความทรงจำ

แก้

ข้อมูลทุติยภูมิ

แก้
  • Adams, Nina S. and Alfred W. McCoy, eds. Laos: War and Revolution. New York: Harper & Row, 1970.
  • Breaux, Jarred James, The Laotian Civil War: The Intransigence of General Phoumi Nosavan and American Intervention in the Fall of 1960. Morrisville, North Carolina: Lulu, 2008.
  • Blaufarb, Douglas, The Counterinsurgency Era.
  • Champassak, Sisouk Na, Storm Over Laos. New York: Praeger, 1961.
  • Conboy, Kenneth; Morrison, James (1995). Shadow War: The CIA's Secret War in Laos (Paper ed.). Boulder CO: Paladin Press. ISBN 978-1581605358. ASIN 1581605358.
  • Corn, David, Blond Ghost: Ted Shackley and the CIA's Crusades. Simon & Schuster, 1994. ISBN 978-0-671-69525-5, ISBN 978-0-671-69525-5
  • Duiker, William J., The Communist Road to Power in Vietnam 2nd ed. Westview Press, 1996.
  • Issacs, Arnold, Gordon Hardy, MacAlister Brown, et al., Pawns of War: Cambodia and Laos. Boston: Boston Publishing co, 1987.
  • Karnow, Stanley, Vietnam: A History. New York: Viking, 1983.
  • Khamvongsa, Channapha; Russell, Elaine (2009). "Legacies of War: Cluster Bombs in Laos" (PDF). Critical Asian Studies. 41 (2): 281–306. doi:10.1080/14672710902809401. S2CID 142615236. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-30. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  • McCoy, Alfred W.; Read, Kathleen B. (1972), The Politics of Heroin in Southeast Asia, Harper & Row, ISBN 978-0060129019, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2015
  • McGehee, Ralph W. Deadly Deceits: My 25 Years in the CIA. New York: Sheridan Square, 1983.
  • Morrison, Gayle L. Sky is Falling: an Oral History of the CIA evacuation of the Hmong from Laos, Jefferson, North Carolina: McFarland, 1999
  • Osornprasop, Sutayut (2012), "Thailand and the secret War in Laos, 1960–1974", ใน Lau, Albert (บ.ก.), Southeast Asia and the Cold War (hardback), Milton Park, Abingdon, Oxon; New York: Routledge, ISBN 978-0-415-68450-7.
  • Robbins, Christopher (1985), Air America, New York: Avon.
  • ——— (2000), The Ravens: Pilots of the Secret War in Laos, Bangkok: Asia Books.
  • Schanche, Don A. (1970), Mister Pop, New York: David McKay Company, OCLC 68288
  • Thompson, Larry Clinton (2010), Refugee Workers in the Indochina Exodus, 1975–1982, Jefferson, North Carolina: McFarland & Co., ISBN 9780786445295.
  • Warner, Roger (1996), Shooting at the moon : the story of America' clandestine war in Laos, South Royalton, Vt.: Steerforth Press, ISBN 978-1883642365
  • Watry, David M. Diplomacy at the Brink: Eisenhower, Churchill, and Eden in the Cold War. Baton Rouge: Louisiana State University Press, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้