มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด
มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เป็นมูลนิธิที่กองทัพบกจัดตั้งขึ้นเพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์ป่าในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออกของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 1.2 ล้านไร่ มีการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549[2] ด้านสำนักข่าวเวิร์กพอยท์ลงว่า มูลนิธิป่ารอยต่อเป็น "บ้านใหญ่" หมายถึง ครอบครัวที่มีอำนาจในแต่ละจังหวัด ทั้งนี้เพราะกรรมการและมูลนิธิล้วนแต่เป็นผู้มากบารมี เช่น พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานกรรมการ พล.อ.พัฑฒะนะ พุธานานนท์ เป็น รองประธานกรรมการ พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเอก วลิต โรจนภักดี พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ พลเอก คณิต สาพิทักษ์ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ตลอดจนนายทหารอาวุโสยศนายพลหลายคน ทั้งยังมีนักธุรกิจรายใหญ่ เช่น นายกองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นที่ปรึกษา และยังมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี เป็นประธานกิตติมศักดิ์ด้วย[3]
ก่อตั้ง | 28 กุมภาพันธ์ 2549 |
---|---|
ประเภท | สถานสาธารณกุศล[a] |
ที่ตั้ง |
|
หลังพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิ มูลนิธิดังกล่าวเป็นแหล่งเงิน อำนาจ และกำลังคน โดยมีพลเอกประวิตร เป็นศูนย์กลาง ได้สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลทางการเมือง ทหาร และธุรกิจจนมีสถานะมั่นคงในรัฐบาล มูลนิธิดังกล่าวเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในการเมืองไทยหลายครั้ง เช่น การประชุมเมื่อครั้งที่สมชาย วงศ์สวัสดิ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การทำบัญชีรายชื่อนายทหารในช่วงปีหลัง หรือการประชุมหน่วยงานความมั่นคง[3] รวมถึงการประชุมของพรรคพลังประชารัฐซึ่งพลเอกประวิตรเป็นหัวหน้าพรรค[4]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535