วลิต โรจนภักดี
พลเอก วลิต โรจนภักดี (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2499) กรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดสมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12[1]ผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รองเลขาธิการ ฯ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา) นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์[2] และกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์[3] ราชองครักษ์พิเศษ[4] อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด[5] อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก/ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[6] อดีตรองเสนาธิการทหาร อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตแม่ทัพน้อยที่ 1[7] อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 1[8] อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์[9] กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษามาตรการการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[10] ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อดีตกรรมการอิสระ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[11]
วลิต โรจนภักดี | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
รองผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | ฉัตรชัย สาริกัลยะ |
ถัดไป | พิสิทธิ์ สิทธิสาร |
แม่ทัพภาคที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
ก่อนหน้า | สกล ชื่นตระกูล |
ถัดไป | ปราการ ชลยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มีนาคม พ.ศ. 2499 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 |
ชื่อเล่น | อู๊ด |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย (2522-2557) กองทัพไทย (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2558) กองทัพบก (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559) |
ยศ | พลเอก |
ประวัติ
แก้พลเอก วลิต เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2499 มีชื่อเล่นว่า อู๊ด บรรดาสื่อมวลชนจึงมักจะเรียกว่า บิ๊กอู๊ด เขาเคยได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดเอ็ม 79 ทำให้ขาหัก 3 ท่อนจากเหตุการณ์ปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553[12]ที่สี่แยกคอกวัว ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553
การศึกษา
แก้พลเอกวลิตจบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15) และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 (จปร.26) รุ่นเดียวกับ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตแม่ทัพภาคที่ 3
การทำงาน
แก้แม่ทัพภาคที่ 4
แก้วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ซึ่งตรงกับช่วงโยกย้ายนายทหารกลางปีพลเอกวลิตขณะมียศ เป็น พลโท ดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยที่ 1 ได้ขยับเป็น แม่ทัพภาคที่ 4[13] แทน พลโท สกล ชื่นตระกูล หรือ บิ๊กแขก ที่ได้ขึ้นเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และที่ปรึกษาของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
แก้พลเอกวลิตได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
รองเสนาธิการทหาร
แก้พลเอก วลิต ได้ขยับขึ้นเป็นรองเสนาธิการทหาร[14] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 โดยมี พลโท ปราการ ชลยุทธ หรือ บิ๊กตี๋ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ขึ้นเป็น แม่ทัพภาคที่ 4 แทน
รองผู้บัญชาการทหารบก
แก้วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก วลิต เป็นรองผู้บัญชาการทหารบก[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[18]
- พ.ศ. 2550 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[19]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[20]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา หน้า ๖ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง,๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์
- ↑ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์
- ↑ ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 96/2557
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๐ ตอน พิเศษ ๓๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๕๖ ง ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑
- ↑ "กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษามาตรการการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 177/2557
- ↑ ประวัติ วลิต โรจนภักดี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๕๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม 132 ตอน พิเศษ 198 ง ราชกิจจานุเบกษา 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๕, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๗, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕๙, ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๔, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙