สกล ชื่นตระกูล
พลเอก สกล ชื่นตระกูล หรือ บิ๊กแขก อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก[1]อดีตแม่ทัพภาคที่ 4[2]อดีตราชองครักษ์พิเศษ[3]อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[4] ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล อดีตหัวหน้าฝ่ายติดตามและประสานงาน ศูนย์ปฎิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอดีตประธานกรรมการธนาคารธนชาต
สกล ชื่นตระกูล | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | |
แม่ทัพภาคที่ 4 กองทัพบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2556 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 | |
ก่อนหน้า | พลโท อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ |
ถัดไป | พลโท วลิต โรจนภักดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 กรุงเทพมหานคร |
เสียชีวิต | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (68 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 13 (ตท.13) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 24 (จปร.24) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก |
ชื่อเล่น | แขก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2557 |
ยศ | พลเอก |
ประวัติ
แก้พล.อ.สกล เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 มีชื่อเล่นว่า แขก เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 13 (ตท.13) รุ่นเดียวกับ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย และ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 24 (จปร.24)
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระราชทานเพลิงศพ ณ ศาลา 10 วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
การศึกษา
แก้- วิทยาศาตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- หลักสูตร เสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 63
- หลักสูตร เสนาธิการทหาร รุ่นที่ 41 จาก สถาบันป้องกันประเทศ
การรับราชการ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
- ↑ แม่ทัพภาคที่ 4
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
- ↑ เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4
- ↑ รองแม่ทัพภาคที่ 4
- ↑ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก(อัตราพลโท)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๗ สิงหาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒๔๙, ๒ กันยายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓