ประจิน จั่นตอง
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง (เกิด 7 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง[2] ประธานกรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[3] กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา[4] กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประจิน จั่นตอง | |
---|---|
ประจิน ใน พ.ศ. 2559 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (3 ปี 262 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (1 ปี 166 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ |
ถัดไป | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (0 ปี 354 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ |
ถัดไป | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | |
รักษาราชการแทน | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2559 – 15 กันยายน พ.ศ. 2559 (0 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อุตตม สาวนายน (รัฐมนตรีว่าการ) |
ถัดไป | กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | |
รักษาราชการแทน | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กันยายน พ.ศ. 2559 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (0 ปี 90 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ถัดไป | พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ (รัฐมนตรีว่าการ) |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 60 วัน) | |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มีนาคม พ.ศ. 2497[1] อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก |
คู่สมรส | จินตนา จั่นตอง[1] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2522–2557 |
ยศ | พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารอากาศ |
อดีตรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ลำดับที่ 22[5] โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหาร ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555[6] และได้มีพิธีมอบธงประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศจาก พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ซึ่งเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่โรงเรียนนายเรืออากาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554[7][8] และเป็นอดีตกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ประวัติ
แก้ประจิน จั่นตอง เกิดที่อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรชายของแย้ม (บิดา) และปิ่น (มารดา) เมื่ออายุได้ 9 ปี ต้องย้ายตามบิดาและครอบครัวไปอาศัยอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์[9] จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอุตรดิตถ์รุ่น 2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 13 (ตท.13), โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 20 (นนอ.20), วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 48 (วปรอ.48) และสำเร็จการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ในปี พ.ศ. 2556 พล.อ.อ. ประจิน ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554[1]
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ประจิน เข้ากระทำพิธีรับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยได้เปิดเผยความตั้งใจที่จะสานต่อทางยุทธศาสตร์ที่ผู้บัญชาการทหาร (ผบ.ทอ.) คนเดิม (พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์) ได้วางไว้ ตลอดจนการตามรอยเบื้องพระยุคลบาท และปฏิบัติภารกิจกองทัพอากาศควบคู่กับรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติผู้สื่อข่าวตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการให้ว่า "บิ๊กจิน"[10][11]
ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 คณะกรรมการบริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีมติให้ พล.อ.อ. ประจิน ซึ่งดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริษัทฯ คนที่หนึ่ง อยู่แต่เดิม ขึ้นเป็นประธานกรรมการบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม แทนอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ลาออกจากการเป็น ประธานกรรมการบริษัทฯ[12]
ประจิน ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[13] และทำหน้าที่รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกหน้าที่หนึ่ง กระทั่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ถูกปรับมารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบงานกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ[14]
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีมติแต่งตั้งให้พลอากาศเอกประจินในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมารักษาการในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อีกตำแหน่งหนึ่งแทนนาย อุตตม สาวนายน ที่ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559[15]
ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[18]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[19]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[20]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[21]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- อินโดนีเซีย :
- พ.ศ. 2557 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราสวภูวนปักษะ ชั้นอุตมา[23]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2558 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[24]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "แม่ทัพฟ้า" ชื่อ "ประจิน"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก[ลิงก์เสีย], เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
- ↑ แต่งตั้งประธานกรรมการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา
- ↑ 'พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง'ผบ.ทอ.คนใหม่เข้ารับมอบตำแหน่ง
- ↑ การเมือง - โปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายพล 811 นาย
- ↑ คมชัดลึก. ปีที่ 11 ฉบับที่ 4000. วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16851390. หน้า 1
- ↑ "กองทัพอากาศ ทำพิธีส่งมอบ พร้อมรับตำแหน่ง ผบ.ทอ.คนใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
- ↑ "พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง จากโรงเรียนเตรียมทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20.
- ↑ ""ประจิน" รับเก้าอี้ ผบ.ทอ. ลั่นพร้อมสานงาน "อิทธพร" พัฒนากองทัพอากาศยุคดิจิตอล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
- ↑ ประจิน ลั่น! พร้อมทำงานร่วมรัฐบาล – ผบ.เหล่าทัพ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ′อำพน กิตติอำพน′ ลาออกจากประธานบอร์ดการบินไทย ตั้ง ′พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง′ นั่งแทน, ข่าวประชาชาติธุรกิจ, 21 กุมภาพันธ์ 2557.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ นายกรัฐมนตรี"แบ่งงาน 6 รองนายกรัฐมนตรี....
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๐๖ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
- ↑ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๔๑, ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๘, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๑, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
- ↑ Ministry of Defence Singapore. Royal Thai Air Force Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 17 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
- ↑ บิ๊กจิน เยือนอิเหนา รับเครื่องราชย์ จาก ผบสส. อินโดนีเซีย พร้อมอำลาเกษียณ กองทัพอากาศ อาเซี่ยน. วาสนา นาน่วม 3 กันยายน 2557
- ↑ Agong confers 194 Darjah Kepahlawanan ATM awards
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ประจิน จั่นตอง
ก่อนหน้า | ประจิน จั่นตอง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ยงยุทธ ยุทธวงศ์ |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 61) (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อนุทิน ชาญวีรกูล | ||
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 61) (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
สมศักดิ์ เทพสุทิน | ||
สถาปนาตำแหน่ง | รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ครม. 61) (16 กันยายน พ.ศ. 2559 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559) |
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ (รัฐมนตรี) | ||
อุตตม สาวนายน (รัฐมนตรี) |
รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ครม. 61) (13 กันยายน พ.ศ. 2559 – 15 กันยายน พ.ศ. 2559) |
ล้มเลิกตำแหน่ง | ||
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | ||
พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557) |
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง |