ปรีชา จันทร์โอชา
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา เป็นสมาชิกวุฒิสภา[3]กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว นายทหารชาวไทย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตแม่ทัพภาคที่ 3 อดีตอุปนายกองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก น้องชายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 โรงเรียนเตรียมทหารได้มอบรางวัลเกียรติยศจักรดาวให้พลเอก ปรีชา ใน พ.ศ. 2559 และองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้มอบเหรียญเกียรติคุณชั้นที่ 1 ให้แก่พลเอก ปรีชา ใน พ.ศ. 2560
ปรีชา จันทร์โอชา | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[1] – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ปลัดกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | ศิริชัย ดิษฐกุล |
ถัดไป | ชัยชาญ ช้างมงคล |
แม่ทัพภาคที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
ก่อนหน้า | ชาญชัยณรงค์ ธนารุณ |
ถัดไป | สาธิต พิธรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ผ่องพรรณ จันทร์โอชา |
บุตร | 2 คน |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนวัดนวลนรดิศ โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย กระทรวงกลาโหม |
ประจำการ | พ.ศ. 2522–2559 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก[2] |
บังคับบัญชา | สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม |
ชีวิตช่วงแรก
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ภูมิลำเนา ณ ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอก ประพัฒน์ กับนางเข็มเพชร จันทร์โอชา มีชื่อเล่นว่า "ติ๊ก" สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กติ๊ก" เป็นน้องชายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 15 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 26 สมรสกับนางผ่องพรรณ จันทร์โอชา อดีตนายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีบุตรคือ ปฐมพล จันทร์โอชา และ ร้อยตรี ปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 3 กรรมการ บริษัท พี-ไรท์แอนด์บริส จำกัด
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ปรีชา ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พบมีการแจ้งยอดเงินฝากทั้งหมด 42 ล้านบาท มีการแจ้งบัญชีเงินฝาก 10 บัญชี เป็นเงิน 89 ล้านบาทและนำเงินกองทัพภาคที่ 3 ฝากไว้ในบัญชีภรรยาคือนางผ่องพรรณ จันทร์โอชา ส่วนดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีดังกล่าวยังไม่ทราบว่าเป็นของใคร ยังไม่มีการชี้แจงในประเด่นนี้ ด้านนายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวอาจเกิดจากความผิดพลาด อาจแจงบัญชีเงินฝากของกองทัพที่พลเอก ปรีชา เป็นผู้ถือบัญชีด้วยเพื่อความโปร่งใส[5] วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ปรีชา ชี้แจงว่า ภรรยาตนเป็นผู้มีฐานะอยู่แล้ว อีกทั้งเก็บเงินสะสมเกือบ 30 ปี และทรัพย์สินบางส่วนเป็นบัญชีของทางราชการที่ตนเองมีอำนาจลงลายมือชื่อด้วย ไม่ใช่เงินของตัวเอง[6]
ปลัดกระทรวงกลาโหม
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558[7] ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลเอก ปรีชา ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมแทนพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ที่เกษียณอายุราชการโดยเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ในขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอก ปรีชา ได้มีคำสั่งบรรจุแต่งตั้งบุตรชายของตนเองเข้ารับราชการทหาร ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการดำเนินการ[8]
สมาชิกวุฒิสภา
เดือนพฤษภาคม 2562 เขาลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อไปสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา[9] ด้านวีระ สมความคิดระบุว่า เขาลาประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 394 วันจาก 400 วัน[10]
กรณีอื้อฉาว
ในปี 2564 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิดเขาว่าจงใจแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ สมัยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[11] และยังปรากฏว่า บริษัทของบุตรเป็นคู่สัญญาของรัฐรวมมูลค่าเท่าที่ทราบ 742 ล้านบาท[12] ในวันที่ 12 ตุลาคม 2564 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณามีมติ 8 ต่อ 1 ตีตกข้อกล่าวหาดังกล่าว เนื่องจากมีความเห็นว่า ปรีชาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาฟังขึ้น โดยเขาชี้แจงว่า เหตุที่ไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินบ้านและที่ดินต่อป.ป.ช. เพราะขณะนั้นบ้านหลังดังกล่าวยังก่อสร้างอยู่ จึงมีความเข้าใจผิดว่าไม่ต้องแจ้งทรัพย์สินนี้กับ ป.ป.ช. เมื่อดูข้อเท็จจริงแล้วเขาขาดเจตนาจงใจปกปิด เมื่อดูทรัพย์สินทั้งหมดแล้ว ไม่ได้ส่งผลให้ทรัพย์สินงอกเงยผิดปกติ สรุปให้มีมติตีตกข้อกล่าวหาดังกล่าว[13]
รางวัลที่ได้รับ
- รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2559[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[17]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[18]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
ลำดับวงศ์ตระกูล
ลำดับสาแหรกของพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง,๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ
- ↑ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซต์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ "น้องบิ๊กตู่” แจง รวยเกือบร้อยล้าน เพราะเป็น "บัญชีกองทัพ"
- ↑ "บิ๊กติ๊ก" น้องบิ๊กตู่ แจงบัญชีทรัพย์สิน บอกภรรยาผมเป็นคนมีฐานะอยู่แล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม 132 ตอน 198 ง หน้า 1 28 สิงหาคม 2558
- ↑ "ดันลูกเป็นทหารเรื่องปกติหรือคิดไปว่าปกติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-19. สืบค้นเมื่อ 2016-05-02.
- ↑ "บิ๊กติ๊ก" รับลาออกจาก สนช.ไปเป็น สว.ชุดใหม่แล้ว....- โพสต์ทูเดย์
- ↑ ย้อนดูผลงาน พล.อ.ปรีชา ขาดประชุมสนช. 394 วัน จาก 400 วัน แต่ยังถูกเลือกให้เป็น สว.
- ↑ "ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหา 'พล.อ.ปรีชา' คดียื่นทรัพย์สินเท็จ - ชี้มูล ส.ส.รัฐบาลเสียบบัตรแทนกัน". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 10 June 2021.
{{cite news}}
: zero width space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 75 (help) - ↑ "ข้อมูลใหม่! บ.ให้เช่ารถ'ปฐมพล'ลูก 'พล.อ.ปรีชา'เพิ่มทุน 120 ล.-คู่สัญญารัฐ 130 ล." สำนักข่าวอิศรา. 9 June 2021. สืบค้นเมื่อ 10 June 2021.
- ↑ "โล่งอก! ป.ป.ช. ตีตกคดี 'ปรีชา จันทร์โอชา' ซุกทรัพย์สิน ชี้ขาดเจตนาจงใจปกปิด". ข่าวสด. 12 October 2021.
- ↑ "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๖, ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๓ ข หน้า ๖๓, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๐, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑