สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 (31 กรกฎาคม 2557 – 21 พฤษภาคม 2562) จัดตั้งขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลังรัฐประหาร และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | |
ผู้บริหาร | |
ประธาน | |
รองประธานคนที่ 1 | |
รองประธานคนที่ 2 | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 250[1] |
กลุ่มการเมือง | แต่งตั้ง (250) |
การเลือกตั้ง | |
แต่งตั้ง | |
ที่ประชุม | |
อาคารรัฐสภาไทย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดในฉบับที่ 3 กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา มีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 250 คน โดยมีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้เสนอชื่อ[2]
ซึ่งในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกจำนวน 200 คน ลาออกรวม 12 ราย และได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติม 31 คน หลังจากนั้นมี สมาชิกเสียชีวิต 2 ราย คงเหลือ 217 ราย วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีการแต่งตั้งเพิ่ม 33 ราย จนครบ 250 ราย วันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เสียชีวิต คงเหลือสมาชิก 249 ราย
วันที่ 8 สิงหาคม 2557 สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการลงมติเลือกประธานและรองประธาน ผลปรากฏว่าศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธาน สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธานคนที่ 1 และ พีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานคนที่ 2[3]
สื่อต่างประเทศวิจารณ์สภานี้ว่าเป็นสภาตรายาง เพราะมีสมาชิกที่เป็นทหารจำนวนมาก[4] ด้านภายในประเทศสภานิติบัญญัติถูกวิจารณ์เรื่องการเพิ่มอำนาจให้กับพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม[5] รวมทั้งอำนาจให้พระมหากษัตริย์ให้ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเลขานุการในคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย[6]สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ยังนับเป็นสภาแรกที่ออกพระราชบัญญัติมากถึง 450 ฉบับ[7] พระราชกำหนด 16 ฉบับ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) เฉพาะที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่นับรวมการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อีก 4 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 470 ฉบับ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
สนช.ชุดนี้ยังมีมติในการแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย
สภานิติบัญญัติแห่งชาติประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ก่อนจะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากมีการเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562
รายนามสมาชิก
แก้การแต่งตั้งรอบแรก
แก้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[8] ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้หลังจากที่มีประกาศแต่งตั้งแล้ว อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีได้ทำหนังสือแจ้งต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติขอไม่รับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากจุฬาราชมนตรีเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของศาสนาอิสลามในประเทศไทยจึงไม่สมควรรับตำแหน่งทางการเมือง และที่ผ่านมายังไม่มีใครทาบทามให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก สนช.[12] และได้ยื่นหนังสือลาออกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557[13] ในวันเดียวกันนี้ พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร ได้ยื่นหนังสือลาออกเนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญเพราะเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา[14] วันที่ 4 สิงหาคม 2557 พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติเนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญเพราะเคยถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[ต้องการอ้างอิง]
วันที่ 28 สิงหาคม 2557 ได้มีสมาชิกลาออกเพิ่มจำนวน 5 ราย ได้แก่ ณรงค์ชัย อัครเศรณี กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัชตะ รัชตะนาวิน อาคม เติมพิทยาไพสิฐ[15] และ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์[16]ต่อมามีลาออกเพิ่ม 2 รายในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้แก่พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์[17]และวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ได้ยื่นลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[18]ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 นาย บุญทักษ์ หวังเจริญ ได้ลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมลาออก 12 ราย
การแต่งตั้งรอบสอง
แก้25 กันยายน 2557 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม[19][20] ดังต่อไปนี้
|
|
การแต่งตั้งรอบสาม
แก้22 ตุลาคม 2558 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมอีก 3 รายดังต่อไปนี้[21]
|
การแต่งตั้งรอบสี่
แก้11 ตุลาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมอีก 33 รายดังต่อไปนี้[22]
|
|
การแต่งตั้งรอบห้า
แก้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมอีก 3 คนดังต่อไปนี้ [23]
- พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล
- พลเอก สสิน ทองภักดี
- พลเอก ธนเกียรติ ชอบชื่นชม
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 พลเอก ยุวนัฎ สุริยกุล ณ อยุธยา ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยให้เหตุผลเรื่องสุขภาพทำให้จำนวนสมาชิกเหลือ 245 คน
ต่อมาวันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง อดีต ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อไปรับตำแหน่งองคมนตรีส่งผลให้เหลือสมาชิกทั้งสิ้น 243 คน ในเวลาต่อมานาย อำพน กิตติอำพน ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อไปรับตำแหน่งองคมนตรี คงเหลือสมาชิกทั้งสิ้น 238 คน
การประชุม
แก้มีรัฐพิธีเปิดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันที่ 7 สิงหาคม 2557 โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธาน วันที่ 8 สิงหาคม 2557 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งแรกเพื่อเลือกประธาน ผลปรากฏว่าศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับเลือก[24]
วันที่ 18 สิงหาคม 2557 เวลา 09.19 น. มีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งประธานและรองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในเวลา 10.10 น. ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาตินัดที่ 2 เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558[ต้องการอ้างอิง]
วันที่ 19 สิงหาคม 2557 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 เป็นวันแรก โดยคณะกรรมาธิการฯ อนุญาตให้ผู้ที่มาชี้แจงรับฟังเท่านั้น ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังการพิจารณา และไม่มีการถ่ายทอดการประชุม นรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุเหตุผลว่า อาจเป็นเพราะต้องการพิจารณาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม สื่อมวลชนไม่ได้รับอนุญาตให้ไปสัมภาษณ์ คสช. ที่บริเวณชั้นลอย อาคารรัฐสภา 1 ซึ่งปกติสื่อมวลชนไปรอสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี[25]
วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีวาระการประชุมวาระเดียว คือ การให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[26] ซึ่งผลปรากฏว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือก
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้อำนาจตนเองถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นับเป็นอีกก้าวหนึ่งเพื่อถอนรากถอนโคนอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร[27]
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิเสธการเพิ่มหลักฐาน 72 ชิ้นในคดีรับจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ มีกำหนดการนั่งพิจารณาคดีการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม 2558[28]
วันที่ 23 มกราคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติฟ้องให้ขับยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งฐานละเลยต่อหน้าที่ต่อโครงการรับจำนำข้าว เป็นผลให้เธอถูกห้ามเล่นการเมืองห้าปี นอกจากนี้ ยังถูกแจ้งข้อกล่าวหาทางอาญาต่อโครงการ ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับโทษจำคุกอีกหากพบว่ามีความผิด[29] หลังมีมติดังกล่าว ยิ่งลักษณ์ถูกห้ามแถลงข่าว[30]
วันที่ 3 มีนาคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติให้ญาติของสมาชิกที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยให้ออกจากตำแหน่ง[31]
วันที่ 9 เมษายน 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มคำถามประชามติว่าจะให้รัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใน 5 ปีหลังรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ได้หรือไม่[32]
สื่อข่าว
แก้ในวันที่ 30 กันยายน 2557 ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งในคดีระหว่างพลเอก นพดล อินทปัญญา กับพวกรวม 28 คน กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยผู้ฟ้องฟ้องว่า การที่ ป.ป.ช. มีมติให้ผู้ฟ้องซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ถูกฟ้องคดี และให้ประกาศเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนมิใช่ผู้ดำรงตำแห่นงทางการเมือง จึงไม่จำเป็นต้องกระทำตามนั้น ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. เห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ ป.ป.ช. ยังเคยมีมติตั้งแต่ปี 2549 ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินด้วย[33]
วันที่ 10 พฤศจิกายน มีการกำหนดค่าตอบแทนให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 75,590 บาท รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เดือนละ 73,420 บาท สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เดือนละ 71,230 บาท[34]
วันที่ 29 มกราคม 2558 กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อภิปรายตอบโต้แดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า การที่นายแดเนียล พูดแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยแถวบ้านตนภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เสือก”[35]
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักข่าวอิศราได้รายงานว่ามีสมาชิกหลายรายตั้งคนในครอบครัวเป็นผู้ช่วย ซึ่งสมาชิกบางคนได้ตั้งบุตรที่ยังไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้ามาช่วยงาน[36]
วันที่ 15 สิงหาคม 2558 มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งให้ สมเกียรติ รอดเจริญ เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย[37]โดยพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559
วันที่ 1 มีนาคม 2559 วิปสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้สมาชิกที่ตั้งบุคคลใกล้ชิดและเครือญาติมาช่วยงานปรับออกทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้ พลเรือเอก ธราธร ขจิตสุวรรณ ตั้งภรรยาดำรงตำแหน่ง 3 ตำแหน่ง กินเงินเดือนรวม 59,000 บาท ตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตั้งบุตรมาช่วยงาน กล่าวว่าที่ผ่านมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทำกันเป็นปกติ จึงถามว่าที่มาพูดตอนนี้มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ และคาดว่าตำแหน่งที่มีเงินเดือนน้อยจะไม่มีผู้ใดรับ ส่วน สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 1 กล่าวว่า สมาชิกชี้แจงว่า ที่ตั้งคนในครอบครัวเพราะเหตุผลด้านการเมืองและมีข้อมูลเป็นความลับ จึงต้องการคนที่ไว้ใจ[38]
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้ง นางสาวสายพิณ นนท์ปฏิมากุล เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง พีระศักดิ์ พอจิต โดยพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560[39]
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ ร้อยตำรวจตรีหญิง ณัฐสภรณ์ เทศบรรทัด เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย[40]โดย ร้อยตำรวจตรีหญิง ณัฐสภรณ์ เทศบรรทัด ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2561
วันที่ 5 ธันวาคม 2559 พลเอกธีรชัย นาควานิช ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อมา วันที่ 15 ธันวาคม 2559 วีระศักดิ์ ฟูตระกูล ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[41]
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งมนตรี ธนภรรคภวิน[42] เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง พีระศักดิ์ พอจิต
อ้างอิง
แก้- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๕๕๙ กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคำแนะนำ"
- ↑ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทน
- ↑ ด่วน!!! นายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้รับเลือกเป็นประธาน สนช.ตามโผ, sanook news, 27 สิงหาคม 2557
- ↑ ดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับล่าสุด วิจารณ์ สนช. เป็นเหมือนสภาตรายาง, ข่าวสด, 27 สิงหาคม 2557
- ↑ การแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม
- ↑ "ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2018-07-18.
- ↑ "กระบวนการตราพระราชบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-24. สืบค้นเมื่อ 2018-05-28.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 147 ง วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และ แก้ไขคำผิดพระบรมราชโองการ, ราชกิจจานุเบกษา, 9 กันยายน 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล, เล่มที่ 134, ตอนที่ 12 ข, 11 มีนาคมคม พ.ศ. 2560, หน้า 1-8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ เล่มที่ 132, ตอนพิเศษ 303 ง, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558, หน้า 5
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อautogenerated1
- ↑ "อาศิส พิทักษ์คุมพล" จุฬาราชมนตรีขอไม่รับตำแหน่ง "สนช." เก็บถาวร 2015-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยพีบีเอส, 2 สิงหาคม 2557
- ↑ จุฬาราชมนตรียื่นหนังสือลาออก สนช.แล้ว[ลิงก์เสีย], อสมท., 6 สิงหาคม 2557
- ↑ พล.อ.ธวัชชัยยื่นหนังสือลาออกสนช. เก็บถาวร 2021-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์, 6 สิงหาคม 2557
- ↑ 4 สนช. ยื่นหนังสือลาออก แจงติดภารกิจส่วนตัว[ลิงก์เสีย], sping news,28 สิงหาคม 2557
- ↑ 'พล.ท.สุรเชษฐ์'ลาออกสนช.เป็นคนที่ 5[ลิงก์เสีย], กรุงเทพธุรกิจ, 28 สิงหาคม 2557
- ↑ ศิริชัย'-'อนันตพร' ลาออกสนช.แล้วคาดร่วมครม. เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานข่าวไอเอ็นเอ็น, 20 สิงหาคม 2558
- ↑ วัชรพล ประสารราชกิจลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สำนักงานข่าวเดลินิวส์, 1 ตุลาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ ๑๒๑, ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง, ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
- ↑ โปรดเกล้าฯตั้งสนช.อีก28คน[ลิงก์เสีย], กรุงเทพธุรกิจ, 27 กันยายน 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ 132, ตอนพิเศษ 269 ง, 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ 230 ง, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559, หน้า 1-2
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๓๖ ง พิเศษ หน้า ๑ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
- ↑ พรเพชรเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[ลิงก์เสีย] ,now26.tv,8 สิงหาคม 2557
- ↑ "สั่งห้ามสื่อเข้าฟัง กมธ.งบฯ 58 เข้ม! กันสื่อตรวจสอบงบ 2.5 ล้านล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ 2014-08-20.
- ↑ "วิปสนช.แจงเกณฑ์เลือกนายกฯ ต้องได้เสียงโหวต 99 คะแนน ขึ้นไป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2014-08-21.
- ↑ "Thai assembly votes itself the power to impeach politicians, sideline critics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-02.
- ↑ Shaohui, Tian (November 30, 2014). "Former Thailand's PM Yingluck Impeachment Case to Kick Off in Early 2015". Women of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-10. สืบค้นเมื่อ 30 November 2014.
- ↑ "Profile: Yingluck Shinawatra" (ภาษาอังกฤษ). BBC. 2015-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.
- ↑ "คสช. ประสาน "ยิ่งลักษณ์" งดแถลงที่เอสซีปาร์ค ตำรวจ-ทหาร ตรึงกำลังแน่น!". มติชน. 2015-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.[ลิงก์เสีย]
- ↑ เผยมติวิปสนช.เห็นควรให้สมาชิกเชิญ"เมีย-ลูก-ญาติ"ออกจากตำแหน่ง ผช., อิศรา, 3 มีนาคม 2558, สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2558
- ↑ สนช.เคาะตั้งคำถามพ่วงประชามติให้รัฐสภาฯโหวตเลือกนายกฯ โพสต์ทูเดย์.
- ↑ “บิ๊กกี่”นำทัพสนช.28 คน ฟ้องเงียบป.ป.ช. ลงมติให้เปิดเผยทรัพย์สินโดยมิชอบ
- ↑ "คลอดแล้ว!ค่าตอบแทน หน.คสช. สนช. สปช. รับ 113,560 -125,590 บาท/ด". Isra News. 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.
- ↑ "หลุดกลางที่ประชุมสนช. กิตติศักดิ์ กร้าว ผู้ช่วยรมว.ต่างประเทศสหรัฐ ทีหลังอย่า ′เสือก′". มติชน. 2015-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-22. สืบค้นเมื่อ 2015-02-01.
- ↑ เปิดชื่อ! สนช.กว่าครึ่งร้อยตั้ง“เมีย-ลูก-ญาติ”ช่วยงาน-เงินเดือน 1.5-2 หมื่น, อิศรา, 27 กุมภาพันธ์ 2558, สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2558
- ↑ ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ↑ สนช.ตั้งภรรยาควบ 3 ตำแหน่ง รับเงินเดือนละ 5.9 หมื่น[ลิงก์เสีย], มติชน, 4 มีนาคม 2559, สืบค้นวันที่ 9 มีนาคม 2559
- ↑ ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ↑ ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ↑ ‘วีระศักดิ์ ฟูตระกูล’ ลาออก สนช. เผย ยังบอกไม่ได้ ปมไปเป็นรัฐมนตรี รอความชัดเจน
- ↑ ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง