พลตำรวจโท ศานิตย์ มหถาวร (ชื่อเล่น : แป๊ะ , บิ๊กแป๊ะ , เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2499) สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 นายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[2]อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ,นายตำรวจ ราชสำนักเวร[3]เจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร[4],อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[5]กรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษา ความปลอดภัย[6] และอดีตผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ศานิตย์ มหถาวร
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[1] – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าพลตำรวจโท​ ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล
ถัดไปพลตำรวจโท ชาญเทพ เสสะเวช
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสฉวีวรรณ มหถาวร
บุตรร้อยตำรวจเอกหญิง ฉัตรนภา มหถาวร
ร้อยตำรวจโท​ ปราชญ์​ มหถาวร
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 34 (นรต. 34)
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แผนก/สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล (ไทย)
ชั้นยศ พลตำรวจโท

ประวัติ แก้

พลตำรวจโทศานิตย์เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ที่ กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ ทำให้บรรดาสื่อมวลชนเรียกว่า บิ๊กแป๊ะ เช่นเดียวกับ พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่มีชื่อเล่นว่าแป๊ะเหมือนกันด้านชีวิตครอบครัวสมรสแล้วกับ คุณฉวีวรรณ มหถาวร มีบุตรสาวและบุตรชายคือร้อยตำรวจเอกหญิง ฉัตรนภา มหถาวร[7] หรือ ผู้กองแปลน และ ร้อยตำรวจโท ปราชญ์ มหถาวร

พลตำรวจโทศานิตย์จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับปริญญาตรีจาก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 34 รุ่นเดียวกับ พลตำรวจเอกชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล อดีตเลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ระดับปริญญาโทจาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาโท นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน แก้

วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553 พลตำรวจโทศานิตย์ได้รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อยื่นต่อศาลอาญาขออนุมัติออกหมายจับ ที่ฉฉ.8-24/2553 ออกหมายจับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จำนวน 17 ราย[8]

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พลตำรวจโทศานิตย์ขณะมียศเป็น พันตำรวจเอก และดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการปราบปรามได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3 [9] พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจตรี [10]

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 พลตำรวจตรีศานิตย์ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3 ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการประจำกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด [11]

วันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกันพลตำรวจตรีศานิตย์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองร้องทุกข์ [12]

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 พลตำรวจตรีศานิตย์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ [13]

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พลตำรวจตรีศานิตย์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 [14]

ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลตำรวจตรีศานิตย์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่บริหารงานด้านป้องกันปราบปราม) [15] พร้อมกับรับตำแหน่งรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาลอีกตำแหน่งหนึ่งโดยได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท ในวันเดียวกัน [16]

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจหรือ ก.ตร. ซึ่งในที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์แต่งตั้งให้พลตำรวจโทศานิตย์เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลโดยให้มีผลนับแต่วันที่แต่งตั้งให้รักษาราชการแทน

ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้พลตำรวจโทศานิตย์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล [17] เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พลตำรวจโทศานิตย์ มหถาวร ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[18]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  2. ประกาศแต่งตั้งนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ
  3. ประกาศแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ,นายตำรวจราชสำนักเวร
  4. เจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 230 ง หน้า 1-2 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559
  6. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 67/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความปลอดภัย
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร (หน้า ๒๔๗)
  8. ออกหมายจับเพิ่ม17แกนนำคนเสื้อแดง
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (จำนวน 194 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน 7 ง พิเศษ หน้า หน้า 32 19 มกราคม พ.ศ. 2554
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (จำนวน 73 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน 6 ข หน้า 10 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอน 40 ง พิเศษ หน้า 1 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (จำนวน 195 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอน 149 ง พิเศษ หน้า 14 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (จำนวน 205 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอน 146 ง พิเศษ หน้า 2 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (จำนวน 225 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 226 ง พิเศษ หน้า 6 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (จำนวน 52 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 247 ง พิเศษ หน้า 4 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล (จำนวน 28 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 24 ข หน้า 9 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (จำนวน ๔ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๒๑ ง พิเศษ หน้า ๑๐ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ 230 ง, 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559, หน้า 1-2
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓
  20. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/B/047/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๗ ข หน้า ๑ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-28. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.