อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 25 กันยายน พ.ศ. 2499) เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | |
---|---|
อาคมใน พ.ศ. 2560 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (2 ปี 335 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีช่วย | สันติ พร้อมพัฒน์ |
ก่อนหน้า | ปรีดี ดาวฉาย |
ถัดไป | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (3 ปี 325 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ประจิน จั่นตอง |
ถัดไป | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (0 ปี 354 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | พฤณท์ สุวรรณทัต พ้อง ชีวานันท์ |
ถัดไป | ออมสิน ชีวะพฤกษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กันยายน พ.ศ. 2499 จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
คู่สมรส | มุกดา เติมพิทยาไพสิฐ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เดิมชื่อ อาคม แซ่จึง เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2499 ที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายงี้ยง กับนางกิมเอง แซ่จึง สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนรวมสินวิทยา จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จบมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2520 และระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากวิทยาลัยวิลเลียม รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2526[1]
อาคม สมรสกับนางมุกดา เติมพิทยาไพสิฐ (เสียชีวิต)
การทำงาน
แก้อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เข้ารับราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และประมาณการเศรษฐกิจ ในระหว่างปี 2539 ถึงปี 2542 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 9 ชช.) ในปี 2542–2543 จากนั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ สศช. (2543–2546) และเป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (2546–2547) กระทั่งในปี 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[2] และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี 2553[3][4]
ในปี 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อมาในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน เขาได้ลาออกจาก สนช.[5] และเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[6] ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งควบคู่ทั้งตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ และตำแหน่งทางการเมือง ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2558 นายอาคม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[7] แทนพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ต่อมานายอาคม ได้ยื่นลาออกจากข้าราชการในตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ให้ข้าราชการประจำที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีเกษียณอายุราชการหรือลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป[8]
อาคม ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการหลายคณะในช่วงรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาทิ กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[9] อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบูรณาการการพัฒนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง[10] กรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ[11] และอีกหลายคณะกรรมการในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมถึงเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[12] กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก[13] อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร[14]
จากนั้นในวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการกฤษฎีกาพร้อมกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 2[19][20]
อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดประวัติ 'อาคม เติมพิทยาไพสิฐ' ขุนคลังคนใหม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๐๖ ง หน้า ๕, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง หน้า ๓, ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๓
- ↑ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'อาคม เติมพิทยาไพสิฐ'ยื่นใบลาออกจากสนช.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง หน้า ๒, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง หน้า ๓, ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๒๓๖ ง หน้า ๑๖, ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๗ ก หน้า ๑๖๑, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ http://www.opm.go.th/imageopm/nps/nps6950.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๑๒ ก หน้า ๔๘, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง หน้า ๓, ๕ สิงหาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒/๒๕๖๐ เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๙ ง หน้า ๓๑, ๑๗ มกราคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง หน้า ๑๗, ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๗๖, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
- ↑ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2567, 29 เมษายน พ.ศ. 2567
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ, ญี่ปุ่นมอบเครื่องราชฯ มงกุฏแสงแห่งอาทิตย์ ชั้นที่ 2 แก่ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 06 พฤษภาคม 2567
ก่อนหน้า | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ปรีดี ดาวฉาย | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) |
เศรษฐา ทวีสิน | ||
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ | ||
พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต พ้อง ชีวานันท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
ออมสิน ชีวะพฤกษ์ | ||
อำพน กิตติอำพน | เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558) |
ปรเมธี วิมลศิริ |