อำพน กิตติอำพน
อำพน กิตติอำพน (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวไทย
อำพน กิตติอำพน | |
---|---|
อำพน ใน พ.ศ. 2553 | |
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | |
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 (5 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุรชัย ภู่ประเสริฐ |
ถัดไป | ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส |
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553 (5 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช |
ถัดไป | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2498 |
คู่สมรส | กษมน กิตติอำพน |
บุตร | 2 คน |
ประวัติ
แก้อำพน กิตติอำพน เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของ นายแพทย์กวี กิตติอำพน กับ นางวลี (สกุลเดิม เอื้อวิทยา) กิตติอำพน สำหรับพี่ชายอีก 3 คน คือ 1.นายแพทย์กิตติ กิตติอำพน 2.พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน อดีต นายกสภาสถาปนิก[1] และ 3.น.ท.ดร.กฤษณ์ กิตติอำพน (เสียชีวิต 8 ส.ค.2554)[2]
อำพนจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นได้ศึกษาต่อปริญญาโททางด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์ กลับมาสอบเข้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ด้วยคะแนนสูงสุด เริ่มตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เป็นหนึ่งในผู้แทนเจรจาการค้าที่ WTO กลุ่มแรก[3] และต่อมาได้ทุนไปศึกษาต่อปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่สหรัฐอเมริกา
ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางกษมน (สกุลเดิม กิตะพานิชย์) มีบุตรชาย 2 คน คือ นายหริต กิตติอำพน และนายกิตพน กิตติอำพน[4]
หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เป็นที่คาดการณ์ว่าดร.อำพน จะพ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแต่ ดร.อำพน ไม่ได้ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปลด ในตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี จนเกษียณอายุราชการ ภายหลังเกษียณอายุราชการเขาดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการคณะกรรมการบริหารสำนักงานและผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดร.อำพน นับว่าเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ทำงานให้แก่นายกรัฐมนตรีทั้งหมด 3 คน จำนวนมากรองจาก นาย สุรชัย ภู่ประเสริฐ อดีต เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ทำงานให้นายกรัฐมนตรีจำนวนมากที่สุด ทั้งหมด 4 คน
ในขณะที่ พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน พี่ชาย ดร.อำพน พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เขาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552[5]ถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 นับเป็นผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในปัจจุบัน
การศึกษา
แก้- ปี 2529 ปริญญาเอก Applied Economics, Clemson University เก็บถาวร 2018-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, South Coralina สหรัฐอเมริกา
- ปี 2522 ปริญญาโท Economics Policy and Planning, Northeastern University สหรัฐอเมริกา
- ปี 2520 ปริญญาตรี สาขาสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประถมศึกษา - มัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
การทำงาน
แก้เริ่มเข้ารับราชการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2524 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยคำแนะนำของที่ปรึกษากฎหมายกระทรวง ดร.มาลดี วสีนนท์ และต่อมาได้รับทุนการศึกษาของกระทรวงไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก โดยเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในขณะนั้น คือ ดร.สมนึก ศรีปลั่ง และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.อาชว์ เตาลานนท์ ในปี 2535 และทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ในปี 2537–2538 ในระหว่างปี 2538–2540 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนเกษตรในการเจรจาด้านสินค้าเกษตรของ WTO และ ASEAN[6] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงเกษตร[7] ก่อนจะโอนย้ายจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งรวมระยะเวลา 6 ปี[8] มาเป็น "เลขาธิการคณะรัฐมนตรี" ในปี 2553[9] ตามคำเชิญของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ดร.อำพน กิตติอำพน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทการบินไทย 5 ปี นานที่สุดในประวัติศาสตร์การบินไทย และเคยเป็นประธานกรรมการบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด[10]
องคมนตรี, ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.[11], กรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์[12]สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อดีตประธานกรรมการคณะกรรมการบริหารสำนักงานและอดีตผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีตาม คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 183/2559 กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[13], กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ในคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี[14]และอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[15], กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[16], นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยถึง 2 สมัย[17][18][19] ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สวพส.[20] ประธานกรรมการคณะกรรมการบริหารและขับเคลื่อนงานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (มพพ.)[21] รองประธานกรรมการบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.), รองประธานกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ ประธานกรรมการคณะกรรมการตรวจสอบของ ปตท.สผ.[22] ประธานอ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการเตรียมกำลังคนภาครัฐ[23] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[24] เคยดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)[25]
เมื่อนับถึงปี 2558 อำพน ในฐานะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถือเป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งซี 11 นานที่สุด อาวุโสสูงสุด ในบรรดาข้าราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง ยาวถึง 12 ปี ทำงานให้แก่ 7 รัฐบาล[26] 7 นายกรัฐมนตรี แต่ในฐานะเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เขาทำงานให้แก่ 3 นายกรัฐมนตรี ได้แก่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[27]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[28]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[29]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[30]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[31]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
- ↑ ชีวประวัติ อำพน กิตติอำพน
- ↑ การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม WTO
- ↑ อำพน กิตติอำพน กับชีวิตรักที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
- ↑ สบร.ของบ1.4พันล้านดัน3โปรเจกท์ยักษ์
- ↑ พชร อิศรเสนา ณ อยุธยา
- ↑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงเกษตร
- ↑ "สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 2 พฤศจิกายน 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
{{cite web}}
: line feed character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 29 (help) - ↑ ประกาศแต่งตั้งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ อำพน กิตติอำพน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทการบินไทย 5 ปี นานที่สุดในประวัติศาสตร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งหน่วยราชการในพระองค์ ๙๐๔ (สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ฯ) ที่ ๘๓/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.
- ↑ ประกาศแต่งตั้งกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
- ↑ สั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 183/2559 กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- ↑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- ↑ "ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
- ↑ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
- ↑ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
- ↑ ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สวพส.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-28. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-08. สืบค้นเมื่อ 2015-03-19.
- ↑ ดำรงตำแหน่งซี 11 นานที่สุด อาวุโสสูงสุด ในบรรดาข้าราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง ยาวถึง 12 ปี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๓, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๗๒, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๒, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
ก่อนหน้า | อำพน กิตติอำพน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุรชัย ภู่ประเสริฐ | เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559) |
ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส | ||
วีรพงษ์ รามางกูร | ประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2558 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561) |
ดร.ปรเมธี วิมลศิริ | ||
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช | เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553) |
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |