สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. (อังกฤษ: Office of the National Economics and Social Development Council) เดิมชื่อ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานราชการไทย ส่วนสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วงระยะเวลา 5 ปี และวิเคราะห์ ประเมินแผนงานและโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ พิจารณางบลงทุนประจำปี ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี และกระทรวงต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2522 กำกับดูแล และติดตามผลการดำเนินงาน ของบริษัทเอกชนในโครงการที่มีการลงทุนหรือมีทรัพย์สินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย จากคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ เช่น เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพิเศษ เช่น คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการเหล่านี้มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Office of the National Economic and Social Development Council
เครื่องหมายราชการ
ตราพระตรีมูรติ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
(74 ปี 234 วัน)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ (2493)
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ (2502)
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2515)
สำนักงานใหญ่962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
งบประมาณต่อปี282,747,500 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ[2], ประธานกรรมการ
  • นายดนุชา พิชยนันท์, เลขาธิการ
  • ดร.วิชญายุทธ บุญชิต[3], รองเลขาธิการ
  • นายวิโรจน์ นรารักษ์[4], รองเลขาธิการ
  • นายโสภณ แท่งเพ็ชร์, รองเลขาธิการ
  • นางธิดา พัทธธรรม[5], รองเลขาธิการ
  • ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ[6], รองเลขาธิการ
  • นางสาววรวรรณ พลิคามิน[7], รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดหน่วยงานสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์http://www.nesdc.go.th

ประวัติ

แก้

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[8] ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 โดยใช้ชื่อว่า สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีหน้าที่เสนอความเห็น คำแนะนำ ต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2502 มีการเพิ่มบทบาทหน้าที่ให้เป็นหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่วางแผนพัฒนาประเทศเป็นการเฉพาะ และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีการนำแผนพัฒนาสังคมมาใช้ควบคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และเปลี่ยนชื่อของหน่วยงานใหม่เป็น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216[9]

กระทั่งวันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ จังหวัดนครสวรรค์ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ... ฉบับใหม่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จแล้วก่อนส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไปสาระสำคัญคือให้ยุบเลิกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพร้อมกับตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นมาแทนทำนองเดียวกับ พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2502 ซึ่งร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้เข้าสู่การประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 47/2561 วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ในวาระที่ 1 ชั้นรับหลักการ[10] ซึ่งที่ประชุมมีมติรับหลักการด้วยคะแนนเห็นด้วย 180 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง

โดยมีกำหนดพิจารณาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 68/2561 วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ ร่าง พ.ร.บ. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกาศใช้เป็นกฎหมาย[11] ด้วยคะแนน เห็นด้วย 186 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง โดยส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้พร้อมกับข้อเสนอแนะกลับไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป

กระทั่งวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561[12]

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่อาคารสุริยานุวัตร ถนนกรุงเกษม ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเดิมเป็นบ้านของมหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง สศช. ได้ซื้ออาคารและที่ดินนี้ในปี พ.ศ. 2493 และบูรณะปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2534[ต้องการอ้างอิง]

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค

แก้

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีสำนักงานซึ่งมีฐานะเป็นราชการส่วนกลางตั้งอยู่ในภูมิภาค จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

  • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
  • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น
  • สำนกงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง ตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี
  • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจแสะสังคมภาคใต้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

แก้

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (National Economics and Social Development Council - NESDC) เป็นสภาที่ตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มีหน้าที่เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี พิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานงานระหว่าง สศช.กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการจัดทำแผนงาน และในด้านการปฏิบัติงาน

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามมาตรา 6 มี 23 คน ประกอบด้วย

ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่

เลขาธิการ

แก้

เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

แก้

รายนามเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ลำดับ ชื่อ วาระการดำรงตำแหน่ง
1 นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ พ.ศ. 2493-2499
2 นายฉลอง ปึงตระกูล พ.ศ. 2499-2506
3 นายประหยัด บุรณศิริ พ.ศ. 2506-2513
4 นายเรณู สุวรรณสิทธิ์ พ.ศ. 2513-2516
5 ดร.เสนาะ อูนากูล พ.ศ. 2516-2518 (สมัยที่ 1)
6 นายกฤช สมบัติสิริ พ.ศ. 2518-2523
5 ดร.เสนาะ อูนากูล พ.ศ. 2523-2532 (สมัยที่ 2)
7 นายพิสิฏฐ ภัคเกษม พ.ศ. 2532-2537
8 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พ.ศ. 2537-2539
9 นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม พ.ศ. 2539-2542
10 นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม พ.ศ. 2542-2545
11 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช พ.ศ. 2545[14] - 2547
12 ดร.อำพน กิตติอำพน พ.ศ. 2547 - 2553
13 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ พ.ศ. 2553[15] - 30 กันยายน 2558[16]
14 ดร.ปรเมธี วิมลศิริ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[17] - 10 เมษายน พ.ศ. 2561[18]
15 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561[19]

เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

แก้
ลำดับที่ ชื่อ ระยะเวลา
15 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
16 นายดนุชา พิชยนันท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เล่ม 139 ตอนที่ 57 ก วันที่ 19 กันยายน 2565
  2. แต่งตั้ง ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานบอร์ดสภาพัฒน์
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  8. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต.“ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.[ลิงก์เสีย]
  9. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2506 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรม เสียใหม่) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอน 145 ก พิเศษ หน้า 1 29 กันยายน พ.ศ. 2515
  10. บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 47/2561 วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561 ณ ตึกรัฐสภา
  11. บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 68/2561 วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2561 ณ ตึกรัฐสภา
  12. พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561
  13. โปรดเกล้ากรรมการสภาพัฒน์
  14. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-09-25.
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายปรเมธี วิมลศิริ)
  18. ตั้ง"ปรเมธี วิมลศิริ"ข้ามห้วยนั่งปลัดพม.แทน"พุฒิพัฒน์
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (นายทศพร ศิริสัมพันธ์)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้