พลเอก อักษรา เกิดผล (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2498) นักการเมืองและอดีตทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1] ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[2] ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[3]อดีตหัวหน้าส่วนยุทธการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[4] อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตรองเสนาธิการทหารบก อดีตผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ และอดีตเจ้ากรมยุทธการทหารบก ในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 เขาเป็นกรรมการในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

อักษรา เกิดผล
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าพลเอก จิรเดช โมกขะสมิต
ถัดไปพลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มกราคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
คู่สมรสพลตรี หญิง สุชาดา เกิดผล
บุพการี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้กองทัพบกไทย
ยศ พลเอก

ประวัติ แก้

อักษรา หรือ บิ๊กโบ้ (ตท.14 จปร.25) เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2498 เป็นบุตรชายของพลเอก สายหยุด เกิดผล อดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สมรสกับ พลตรีหญิง สุชาดา เกิดผล

การศึกษา แก้

อักษราจบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 14 และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่น 25

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. อดีตราชองครักษ์พิเศษ
  2. ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  3. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  4. ศอฉ.ไม่ประกาศเคอร์ฟิวสลายม็อบแดง
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๑๑ มิถุนายน ๒๕๓๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓