เทพพงศ์ ทิพยจันทร์
พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ (28 พฤษภาคม 2501 - ) หรือ บิ๊กเข้ สมาชิกวุฒิสภา และราชองครักษ์พิเศษ[4] อดีตราชองครักษ์เวร[5] อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด[6] อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม[7] อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[8] อดีตคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อดีตรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[9] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 อดีตคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย [10] อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 อดีตคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[11] อดีตกรรมการอิสระ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)[12] อดีตคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[13] เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[14] ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กันยายน พ.ศ. 2557 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
ปลัดกระทรวงกลาโหม[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล |
ถัดไป | พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | นริศรา ทิพยจันทร์ |
บุตร | ณัฐรวี ทิพยจันทร์ สุทธินันท์ ทิพยจันทร์ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนประตูชัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย โรงเรียนปทุมคงคา โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 18 (ตท.18) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 29 (จปร.29) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.54) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย กระทรวงกลาโหม |
ประจำการ | พ.ศ. 2525 - 2561 |
ยศ | พลเอก[2] พลเรือเอก พลอากาศเอก[3] |
ประวัติ
แก้พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ เกิดที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของพันตำรวจตรี สุรพล กับนางวราภรณ์ ทิพยจันทร์ ชีวิตในวัยเด็กเติบโตที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางนริศรา ทิพยจันทร์ มีธิดา 2 คน
การศึกษา
แก้เข้ารับการศึกษาในระดับมัธยมต้น ที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนปทุมคงคา[15] จากนั้นก้าวเข้าสู่ชีวิตทหารด้วยการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 18 รุ่นเดียวกับพลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ เข้ารับการศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 29 รุ่นเดียวกับ พลเอกพรพิพัฒน์ เบญญศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบูรพา และปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2511 โรงเรียนประตูชัย
- พ.ศ. 2514 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2517 โรงเรียนปทุมคงคา
- พ.ศ. 2518 โรงเรียนเตรียมทหาร
- พ.ศ. 2520 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- พ.ศ. 2528 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 70
- พ.ศ. 2531 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 49
- พ.ศ. 2533 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 68
- พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยบูรพา (รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต)
- พ.ศ. 2554 ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.54)
- พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา (รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์)
การรับราชการทหาร
แก้การรับราชการทหาร มีความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ โดยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ดังนี้ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ จังหวัดชลบุรี จากนั้นในปีพุทธศักราช 2554 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผู้บัญชาการกองกำลังบูรพา) จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสำคัญตามลำดับอาทิ แม่ทัพภาคที่ 1, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 จากผลงานและความสำเร็จซึ่งก่อเกิดประโยชน์ต่อกองทัพและประเทศชาติ จนเป็นที่ยอมรับ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลเรือเอก และพลอากาศเอก เป็นกรณีพิเศษ
นอกเหนือจากความสำเร็จตามแนวทางรับราชการ คือการปฏิบัติหน้าที่นายทหารเสริมกำลังพิเศษถวายความปลอดภัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อย่างใกล้ชิด ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และแต่ละคราวที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมในภูมิภาคต่างๆของประเทศ เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรและติดตามงานตามโครงการพระราชดำริต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 - 2559 รวมถึงการเป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และคณะกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2561
- พ.ศ. 2539 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2541 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2544 เสนาธิการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2547 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2550 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2552 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2554 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์[16]
- พ.ศ. 2556 รองแม่ทัพภาคที่ 1[17]
- พ.ศ. 2557 แม่ทัพน้อยที่ 1[18]
- พ.ศ. 2558 แม่ทัพภาคที่ 1[19]
- พ.ศ. 2559 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[20]
- พ.ศ. 2560 ปลัดกระทรวงกลาโหม[21]
ราชการพิเศษ
แก้- ราชองครักษ์พิเศษ
- ราชองครักษ์เวร
- ตุลาการศาลทหารสูงสุด[22]
ทางการเมือง
แก้- คณะกรรมาธิการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
- คณะกรรมาธิการคมนาคม
- สมาชิกวุฒิสภา
- คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
- คณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
- รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- โฆษกคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
งานอื่น ๆ
แก้- คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
- คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ
- คณะกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (กรรมการอิสระ)
- คณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค
- คณะกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ปัจจุบัน คือ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)
- คณะกรรมการศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[23]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[23]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[24]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[25]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[26]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล เล่ม 133 ตอนที่ 31 ข หน้า 2 9 กันยายน 2559
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ (จำนวน 2 ราย 1. พลเอกเทพพงศ์ ทิพยจันทร์ 2.พลเอกธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๑๐ ข หน้า ๕๓ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ รายชื่อปลัดกระทรวงกลาโหมของไทย
- ↑ คณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
- ↑ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ↑ คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค (เพิ่มเติม) เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๒๗๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ กรรมการอิสระ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
- ↑ คณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
- ↑ ""ป๊อกแป๊ก" เปรยคนสนิทไม่เต็มใจคุม ศอฉ. จำใจเรียก ผบ.หน่วย ถกเครียด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
- ↑ รายชื่อนักเรียนเก่า เลขประจำตัว 14845-15000 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมนักเรียนเก่าปทุมคงคา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอน พิเศษ ๑๑๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๐ ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 203 ง พิเศษ หน้า 1 9 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๑๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑
- ↑ 23.0 23.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ เก็บถาวร 2022-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๒๖ ง หน้า ๖๓๒๑, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗๒, ๓ เมษายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๘, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗