สมคิด เลิศไพฑูรย์

สมคิด เลิศไพฑูรย์ (เกิด 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502) เป็นนักนิติศาสตร์ชาวไทย เป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะดังกล่าว และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2550 ต่อมาในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและประธานคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)​และอุปนายกสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
ถัดไปรศ.เกศินี วิฑูรชาติ
คณบดีคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553
(3 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้ากำชัย จงจักรพันธ์
ถัดไปสุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502
กรุงเทพมหานคร
(65 ปี 66 วัน)
ศาสนาอิสลาม
คู่สมรสฉัตรแก้ว เลิศไพฑูรย์
วิชาชีพอาจารย์

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

สมคิด เลิศไพฑูรย์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 บิดาประกอบอาชีพเป็นช่างไฟฟ้า[1] ส่วนมารดาค้าขายเสื้อผ้าในตลาด[1] ทั้งบิดามารดาของสมคิดมีเชื้อสายเป็นคนจีน และมีพื้นเพเป็นคนกรุงเทพมหานคร ย่านบุคคโล ฝั่งธนบุรี บิดามารดาเดิมสกุล แซ่เล แต่สมคิดได้ตั้งนามสกุล "เลิศไพฑูรย์" ขึ้นมา โดยมีคำรณ บุญเชิด (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย) น้าชาย เป็นผู้ตั้งให้[1]

ใน พ.ศ. 2540 ได้สมรสกับ ฉัตรแก้ว นิธิอุทัย หญิงชาวมุสลิม เขาจึงรับอิสลามเปลี่ยนเป็นมุสลิมตามภรรยา ทั้งคู่มีบุตรชายฝาแฝด คือ ฐากร และฐากูร เลิศไพฑูรย์ ซึ่งปัจจุบันศึกษา ณ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ด้วยกันทั้งสอง[2]

การศึกษา

แก้

สมคิด เลิศไพฑูรย์ สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสมจิตร[2] ระดับประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส[2] ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดราชโอรส[2] และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[2]

ต่อมา สมคิดเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นเดียวกับ สุรพล นิติไกรพจน์, อภิชาติ ดำดี, วสันต์ ภัยหลีกลี้, วิฑูรย์ นามบุตร, นพดล ปัทมะ, อัญชลี วานิช เทพบุตร และบุญสม อัครธรรมกุล[1] สมัยนั้น เขาเคยทำกิจกรรมในพรรคแสงธรรม องค์การนักศึกษา และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1]

เขาเป็นนิติศาสตรบัณฑิตแห่งคณะดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ครั้นแล้ว ได้เป็นเนติบัณฑิตไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2527 จากนั้น เขาได้ทุนจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส 2 ประเทศฝรั่งเศส สำเร็จปริญญาโทและปริญญาเอกทางกฎหมายมหาชน ในปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2533 ตามลำดับ นอกจากนี้ เขายังได้ประกาศนียบัตร หลักสูตรการปกครองท้องถิ่น จากประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2537 ด้วย[3]

ประสบการณ์การทำงาน

แก้

สมคิดเริ่มทำงานในคณะกรรมการข้าราชการพลเรียน แต่ทำได้เดือนเดียวก็ลาออก[1] จากนั้น เขาผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ที่ 1 ในปี พ.ศ. 2525[1] เขาจึงได้สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง[2] ครั้งนั้น เขาเปิดสอนวิชากฎหมายปกครองท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งแรก[1] ต่อมา เขาจึงได้เป็นเป็นผู้ช่วยรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4], กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4] และ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[5]

อนึ่ง สมคิดยังเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ และมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ฯลฯ [2], เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยทักษิณ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ[6] และกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต[7]

นอกจากประสบการณ์ในด้านมหาวิทยาลัยแล้ว สมคิด เลิศไพฑูรย์ ยังมีประสบการณ์อื่นอีก[7] เช่น เป็นกรรมการสถาบันพระปกเกล้า, กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ใน พ.ศ. 2550 ตลอดจนเป็นกรรมการสนับสนุนระบบจังหวัดแบบบูรณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี, อนุกรรมการข้าราชการพลเรือนวิสามัญ เกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาลรัฐธรรมนูญ ผู้เชี่ยวชาญประจำศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานศาลปกครองและรองประธานกรรมการ คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[8]

รัฐประหาร พ.ศ. 2549

แก้

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 สมคิดได้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญปี 50[1] จึงมีผู้ตั้งคำถามว่า เป็นไฉนเขาจึงร่วมหัวจมท้ายกับเผด็จการทหาร[1] สมคิดว่า เขาเรียนและสอนเรื่องรัฐธรรมนูญเรื่อยมา ถึงเวลาต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญ ก็ควรเข้าไปร่วม เพื่อให้เนื้อหาออกมาเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด[1]

ต่อมา เมื่อสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สิ้นสุดวาระอยู่ในตำแหน่งลงใน พ.ศ. 2553 มีการหยั่งเสียงเพื่อสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนใหม่ สมคิด เลิศไพฑูรย์ ซึ่งใกล้ชิดกับสุรพล ได้คะแนน 1,722 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 30 จากบรรดาผู้สมัครทั้งหมด[9] ในการเลือกตั้งอธิการบดีฯ ณ วันที่ 18 ตุลาคม ของปีเดียวกัน สมคิดจึงชนะไปด้วยคะแนนเสียง 25 คะแนน[10]

รัฐประหาร พ.ศ. 2557

แก้

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 สมคิดให้สัมภาษณ์ว่า ตนไม่เคยสนับสนุนหรือส่งเสริมรัฐประหาร แต่ควรมองต่อไปว่าเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นแล้วจะทำอย่างไรให้ประเทศก้าวต่อไปข้างหน้า ดีกว่ามาคิดว่ารัฐประหารนี้ควรหรือไม่ "โจทย์ใหญ่วันนี้คือเราจะทำอย่างไรให้รัฐประหารซึ่งมีทั้งคนชอบและไม่ชอบจะไม่สูญเปล่า" และกล่าวว่า ไม่มีทางที่รัฐประหารจะอยู่ค้ำฟ้า อีกไม่นานก็จะกลับสู่วิถีประชาธิปไตย เขายังเชื่อว่า หากรัฐบาลยอมลาออกจากตำแหน่งจะไม่เกิดรัฐประหาร[11]

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[12]

ในปี พ.ศ. 2560 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560[13]

ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561 ได้รับแต่งตั้ง​เป็นประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการและกรรมการอิสระ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล​ จำกัด (มหาชน)​

ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 อนุมัติแต่งตั้ง ให้เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

รางวัลที่ได้รับ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 มติชน. (2552). สมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ชายคิดบวก. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 ไทยรัฐ. (มปป.). สมคิด เลิศไพฑูรย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  3. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). ประวัติสมคิด เลิศไพฑูรย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2010-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  4. 4.0 4.1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2007-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 27 กันยายน 2554).
  5. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รายนามคณบดี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link[ลิงก์เสีย]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 กันยายน 2554).
  6. มหาวิทยาลัยทักษิณ. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยทักษิณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link[ลิงก์เสีย]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 กันยายน 2554).
  7. 7.0 7.1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ประวัติกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link. (เข้าถึงเมื่อ: 27 กันยายน 2554).
  8. การดำรงตำแหน่งในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[ลิงก์เสีย]
  9. มติชน. (2552). "สมคิด เลิศไพฑูรย์"คว้าชัยผลหยั่งเสียง"อธิการบดีมธ." ครองใจทั้งครู นศ. และจนท.. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
  10. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ลอยลำ อธิการบดีคนใหม่ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยม.ธรรมศาสตร์ เลือกด้วยคะแนน 25 เสียง จากมติชน เข้าถึง 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
  11. ""อย่าให้รัฐประหารสูญเปล่า"สมคิด เลิศไพฑูรย์". โพสต์ทูเดย์. 2014-06-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 2014-06-11.
  12. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซต์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  13. "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  15. ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓๒, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ มติชน53
  20. กรุงเทพธุรกิจ. (2553.). นักวิจัยขุนสมุทรจีน คว้านักวิจัยดีเด่นวช.. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2012-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).


ก่อนหน้า สมคิด เลิศไพฑูรย์ ถัดไป
ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์    
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
  รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ