กัมปนาท รุดดิษฐ์

พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ.2499) ชื่อเดิม: ลมโชย[1] หรือ บิ๊กโชย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[2]องคมนตรี [3] ราชองครักษ์พิเศษ[4]อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด[5] อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก กรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[7]นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์[8]
[9]เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[10] ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[11]อดีต รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[12]ได้รับ พระราชทานยศ พลเอกในวันที่ 1 ตุลาคม 2558

กัมปนาท รุดดิษฐ์
องคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม 2559
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม 2557 – 21 ธันวาคม 2559
(2 ปี 143 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
คู่สมรสผศ. วิศัลย์ศยา รุดดิษฐ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2523 - 2559
ยศ พลเอก

วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าเป็น ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[13]

ประวัติ

แก้

เป็นบุตรของนายบุญช่วย กับ นางบุญล้อม รุดดิษฐ์ มีพี่น้อง 6 คน คือ

  • นางสาวครวญคำนึง รุดดิษฐ์ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลบางบ่อ
  • นางชวาลา ปริยพันธุ์ ข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี
  • พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • พลอากาศตรี เชี่ยวชาญ รุดดิษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
  • นางสาวอมรรัตน์ รุดดิษฐ์ ถึงแก่กรรม

ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิศัลย์ศยา รุดดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษา

แก้

โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 27 รุ่นเดียวกับ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท อดีตผู้บัญชาการทหารบก , พลเอก ธวัช สุกปลั่ง อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 และพลโท ภัทรพล รักษนคร อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก

การรับราชการ

แก้
  • พ.ศ. 2551 ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเพชรบุรี[14]
  • พ.ศ. 2552 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15[15]
  • พ.ศ. 2552 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[16]
  • พ.ศ. 2554 รองแม่ทัพภาคที่ 1[17]
  • พ.ศ. 2556 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
  • พ.ศ. 2557 แม่ทัพภาคที่ 1[18]
  • พ.ศ. 2558 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและสากล ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. “ป๋าเปรม” แซว! “บิ๊กป้อม” นิ้วล็อกไปต่อยใครมา? เจ้าตัวตอบ “ต่อยตัวเอง”
  2. กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  3. พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี ราชกืจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๓๐๕ ง พิเศษ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๙
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์
  5. แต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
  6. กรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  7. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน[ลิงก์เสีย] สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  8. นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์
  9. ประจำการควบคุมพื้นที่
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.
  11. อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-13. สืบค้นเมื่อ 2016-12-06.
  13. พระราชโองการโปรดเกล้าเป็น ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๕ ตอน พิเศษ ๑๖๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๖ ตอน พิเศษ ๙๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๖ ตอน พิเศษ ๑๕๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอน พิเศษ ๑๑๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๑, ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๗๘ ข หน้า ๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๙
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๘, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๕
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๓, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๗, ๒๖ มกราคม ๒๕๔๔