ธวัช สุกปลั่ง
พลเอก ธวัช สุกปลั่ง อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1] อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 2 และอดีตผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรีและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 2 ส่วนแยก 1
ธวัช สุกปลั่ง | |
---|---|
ไฟล์:ธวัช.jpg | |
แม่ทัพภาคที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 (1 ปี 181 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลโท ชาญชัย ภู่ทอง |
ถัดไป | พลโท วิชัย แชจอหอ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ศิวาพร สุกปลั่ง |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 27 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพภาคที่ 2 |
ประวัติ
แก้พลเอก ธวัช สุกปลั่ง [2] มีชื่อเล่นว่า มี่ บรรดาสื่อมวลชนจึงมักจะเรียกว่า บิ๊กมี่
การศึกษา
แก้พลเอกธวัชจบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 (ตท.16) และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 27 (จปร.27) รุ่นเดียวกับ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และ พลโท ภัทรพล รักษนคร อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
รับราชการ
แก้พลเอกธวัช สุกปลั่งขณะมียศเป็น พลตรี ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรีและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 2 ส่วนแยก 1 ต่อมาได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็น พลโท และย้ายไปดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 และได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 แทนพลโท ชาญชัย ภู่ทอง[3] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตราพลเอก)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล
- ↑ ตท.15ยกแผง‘ปรีชา จันทร์โอชา’จรัสแสง จาก คมชัดลึก วันพุธที่ 10 กันยายน 2557.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๐, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๒๐, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘