เอก อังสนานนท์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์ กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [1] อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี[2] กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ[3] , สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] , อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[5]อดีตประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[6]อดีตราชองครักษ์พิเศษ [7] อดีตประธานกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เอก อังสนานนท์ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล |
ถัดไป | จิรชัย มูลทองโร่ย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | พรรณี อังสนานนท์ |
รับใช้ | ![]() |
---|---|
ประจำการ | พ.ศ. 2520 - 2558 |
ชั้นยศ | ![]() |
ชีวิตและครอบครัวแก้ไข
เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนแรกในจำนวนพี่น้อง 6 คน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลวัดนิมมานนรดี มัธยมต้นจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี และมัธยมปลายจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ , ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี 2519 , ปริญญาโทนิติศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรนบ.รบ. รุ่น 7 , เนติบัณฑิตไทย สำนักศึกษาอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา จบหลักสูตร วตท. รุ่นที่ 7 สถาบันวิทยาการตลาดทุน สมรสกับ นางพรรณี อังสนานนท์
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ ประธานกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
การรับราชการตำรวจแก้ไข
- พ.ศ. 2520 รองสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสงขลา
- พ.ศ. 2524 รองสารวัตรแผนกวินัย กองกำกับการกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
- พ.ศ. 2525 รองสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ
- พ.ศ. 2528 รองสารวัตรแผนก 2 กองกำกับการสืบสวน กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
- พ.ศ. 2530 สารวัตรแผนกวินัย กองกำกับการกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
- พ.ศ. 2532 รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- พ.ศ. 2534 ผู้กำกับการภาควิชากฎหมาย สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ
- พ.ศ. 2535 รองผู้บังคับการกองแผนงาน 2
- พ.ศ. 2537 รองเลขานุการกรมตำรวจ
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ผู้บังคับการประจำกองบัญชาการศึกษา[8]
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 พลตำรวจตรี[9]
- 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เลขานุการกรมตำรวจ[10]
- 2 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ[11]
- 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3[12]
- 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[13]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 รองผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[14]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ[15]
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นายตำรวจราชสำนักเวร[16]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ฝ่ายอำนวยการและยุทธศาสตร์ด้านยุทธศาสตร์)[17]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 พลตำรวจโท[18]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผู้บัญชาการสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ[19]
- 30 เมษายน พ.ศ. 2550 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1[20]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[21]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านกฎหมายและสอบสวน[22]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 พลตำรวจเอก[23]
- 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[24]
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแก้ไข
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเลือกพลตำรวจเอกเอกให้โอนย้ายจากข้าราชการตำรวจมาเป็นข้าราชการพลเรือนและดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คนใหม่แทน หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ซึ่งลาออกจากราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558
วันที่ 1 ตุลาคม 2558 พลตำรวจเอกเอกได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการ[25]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[27]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[28]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ![ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/247/10.PDF
- ↑ https://www.ipthailand.go.th/images/633/law_info2540.pdf
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/147/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/140/6.PDF
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 177/2557
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล (หน้า ๗๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๒๙)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๕)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๓๙)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๘)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน เล่ม 132 ตอน 247 ง พิเศษ 9 ตุลาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๕, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๘๗, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕