ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน
พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ชื่อเล่น ต่าย, กระต่าย หรือ บิ๊กต่าย ทหารอากาศและนักการเมืองชาวไทย นายทหารราชองครักษ์พิเศษ[3] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน[4] อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 อดีตกรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ[5] กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[6]อดีตกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[7][8]
ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
สมาชิกโดยตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 (0 ปี 142 วัน) | |
ถัดไป | พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562[1] (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง |
ถัดไป | พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[2] (0 ปี 288 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2501 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 18 โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 25 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลอากาศเอก |
ประวัติ
แก้ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรคนสุดท้องของพลอากาศเอก ประหยัด ดิษยะศริน อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กับคุณหญิงวิจิตรา ดิษยะศริน (สกุลเดิม วิกิณิยะธนี) [9] มีพี่ชายและพี่สาว คือ นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และ ปาริชาติ ดิษยะศริน หอวัฒนกุล อดีตภรรยาของพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ [10] ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางพงศ์อุมา ดิษยะศริน เขามีศักดิ์เป็นพระปิตตุลา (อา) ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
อนึ่งสกุล ดิษยะศริน เป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏใน ทะเบียนนามสกุลที่เราได้ให้ไป ปรากฏอยู่ในลำดับที่ตามสมุดทะเบียน 1389 สะกดว่า ดิษยศริน และสะกดอย่างโรมันว่า Tishyasarin แต่ในราชกิจจานุเบกษา ครั้งที่ 17 ประกาศวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ลงว่า ดิษยะศริน จึงได้ยึดถือการสะกดนามสกุลดังกล่าวสืบมา [11]
รับราชการ
แก้- ผู้บังคับการกองบิน 1 (นครราชสีมา)
- เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ
- เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ
- รองเสนาธิการทหารอากาศ
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
- ผู้บัญชาการทหารอากาศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[14]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารอากาศ
- ↑ สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ↑ ประกาศแต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 17/2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
- ↑ กรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
- ↑ กรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
- ↑ "ประหยัด ดิษยะศริน ครอบครัวลูกทัพฟ้า". ไทยรัฐออนไลน์. 3 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ครูของครู... คือครูประณีต. สาแหรกตระกูล. เรียกดูเมื่อ 2 กันยายน 2555
- ↑ "ฉลองครบ 72 ปี ท่านอาจารย์ประณีต ดิษยะศริน - ต้นสกุลดิษยะศริน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๑๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาและเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๕๘, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖
- ↑ Ministry of Defence Singapore. Royal Thai Air Force Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 1 สิงหาคม 2562. เมื่อ 1 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566