สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์
พลเอก [1] สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ (เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2499) ชื่อเล่น ปุย สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ราชองครักษ์พิเศษ[2] ราชองครักษ์เวร[3] กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก[4] ตุลาการศาลทหารสูงสุด [5] ประธานกรรมการบริษัททีโอที อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ [6] นายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช[7] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[8] และอดีตเสนาธิการทหาร
สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | พลเอก สมหมาย เกาฏีระ |
ถัดไป | พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ |
เสนาธิการทหาร | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | พลเอก สมหมาย เกาฏีระ |
ถัดไป | พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2499 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 (จปร.26) |
ชื่อเล่น | ปุย |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการกองทัพไทย |
ประวัติ
แก้พล.อ. สุรพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2499 [9]เป็นบุตรของนายถาวร กับนาง ผ่องศรี สุวรรณอัตถ์ มีชื่อเล่นว่า ปุยง บรรดาสื่อมวลชนสายทหารจึงเรียกท่านว่า บิ๊กปุย
พลเอกสุรพงษ์ จบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 รุ่นเดียวกับพล.อ. สมหมาย เกาฏีระ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ วิทยาลัยการทหารเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัลดีเด่น "ไอเซ่นฮาวน์"
ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 68 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก, หลักสูตรเสนาธิการทหารบก และหลักสูตรปริญญาโทด้านการทหาร โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศสหรัฐอเมริกา
เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางทหาร เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา, เจ้ากรมข่าวทหาร, เจ้ากรมยุทธการทหาร, รองเสนาธิการทหาร เสนาธิการทหาร และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รับราชการ
แก้พล.อ. สุรพงษ์เริ่มรับราชการและได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อ พ.ศ. 2522 [10] หลังจากนั้นจึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง
จนกระทั่งวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558 พล.อ. สุรพงษ์ ในตำแหน่งรองเสนาธิการทหารได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารสืบต่อจาก พล.อ. สมหมาย เกาฏีระ เสนาธิการทหารที่ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด [11]
ต่อมาในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559 พล.อ. สุรพงษ์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดสืบต่อจากพล.อ. สมหมาย ที่เกษียณอายุราชการ [12]
ตำแหน่งและหน้าที่พิเศษ
แก้- 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 - ตุลาการศาลทหารสูงสุด
- 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 - นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- 10 มกราคม พ.ศ. 2560 - นายทหารพิเศษประจำโรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) [13]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) [14]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2560 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[16]
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2560 - เครื่องอิสริยาภรณ์ อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล และ พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔ ข หน้า ๑ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ "กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-01-18.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๐๙ ง พิเศษ หน้า ๒ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๕๙ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๒๑ หน้า ๓๒ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙
- ↑ นายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
- ↑ บล็อกประวัติของพลเอกสุรพงษ์จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๒) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอน ๙๔ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๒๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน ๘๓๑ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอน ๑๙๘ ง พิเศษ หน้า ๑ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน ๗๙๘ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๐๓ ง พิเศษ หน้า ๑ ๙ กันยายน ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ ตอน ๒๗ ข หน้า ๓ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอน ๒๔ ข หน้า ๑๖ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 130 ตอนที่ 18 ข หน้า 4, 8 สิงหาคม 2556
- ↑ Chief of Defense Forces of the Royal Thai Armed Forces Visits USPACOM
- ↑ "Top Military Award Conferred on Thai Chief of Defence Forces". www.mindef.gov.sg (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-19. สืบค้นเมื่อ 2022-10-19.
ก่อนหน้า | สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก สมหมาย เกาฏีระ | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560) |
พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ |