ชัยชาญ ช้างมงคล

พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2500) ชื่อเล่น ช้าง พลเอกชัยชาญเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประธานกรรมการในคณะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[2] และเป็นราชองครักษ์เวร[3] อดีตสมาชิกสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และราชองครักษ์พิเศษ[5]

ชัยชาญ ช้างมงคล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(5 ปี 282 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการประวิตร วงษ์สุวรรณ
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอุดมเดช สีตบุตร
ปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าปรีชา จันทร์โอชา
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
3 กุมภาพันธ์ – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
(0 ปี 287 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มกราคม พ.ศ. 2500 (67 ปี)
คู่สมรสวิภาพร ช้างมงคล
บุตรชนยชา ช้างมงคล
บุพการี
  • สมาน ช้างมงคล (บิดา)
  • ละเมียด ช้างมงคล (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร (ตท.16)
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.27)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกระทรวงกลาโหม
ประจำการพ.ศ. 2523–2560
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก[1]

ประวัติ แก้

พลเอกชัยชาญหรือที่สื่อมวลชนมักจะเรียกว่า บิ๊กช้าง เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นบุตรชายของนายสมาน และนางละเมียด ช้างมงคล จบการศึกษาระดับมัธยม จากโรงเรียนวัดราชโอรส รุ่น 57 และจบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 16 และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 27 รุ่นเดียวกับพลเอกพอพล มณีรินทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหมและพลโทสมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล แม่ทัพภาคที่ 3

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางวิภาพร ช้างมงคลมีบุตรสาว 1 คนคือนางสาวชนยชา ช้างมงคล

รับราชการ แก้

พลเอกชัยชาญรับราชการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหมก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลเอกชัยชาญได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559 พลเอกชัยชาญได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม สืบต่อจากพลเอกปรีชา จันทร์โอชา โดยมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 [6]

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก ให้กับพลเอกชัยชาญและโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นนายทหารพิเศษประจำ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

พลเอก ชัยชาญ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม 2 สมัย ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง[7] กรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ[8] กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว[9] กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[10] กรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[11] ในช่วงรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาอีกด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑, ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
  2. เช็ก มติ ครม. แต่งตั้งครบทุกตำแหน่งที่นี่
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง หน้า ๑, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๓๖ ง หน้า ๑, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้นายทหารสัญญาบัตรและนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร แต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษและนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ, เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๗ ง หน้า ๘, ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๒๐๓ ง หน้า ๑, ๙ กันยายน ๒๕๕๙
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๖/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ, เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง หน้า ๑๐๐, ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๖๕ ก หน้า ๕, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๗๙ ก หน้า ๕, ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐
  11. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
ก่อนหน้า ชัยชาญ ช้างมงคล ถัดไป
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร    
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.6162)
(23 พฤศจิกายน พ ศ. 2560 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
  พลเอก อุดมเดช สีตบุตร

รักษาการ

ปรีชา จันทร์โอชา    
ปลัดกระทรวงกลาโหม
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560)
  เทพพงศ์ ทิพยจันทร์