บัญญัติ จันทน์เสนะ
บัญญัติ จันทน์เสนะ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2487) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รองประธานกรรมการคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[1] ประธานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนคณะรัฐมนตรี ในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
บัญญัติ จันทน์เสนะ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช สมชาย สุนทรวัฒน์ |
ถัดไป | สุพล ฟองงาม สิทธิชัย โควสุรัตน์ ประสงค์ โฆษิตานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2487 อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
คู่สมรส | วรรณา จันทน์เสนะ |
ประวัติ
แก้นายบัญญัติ จันทน์เสนะ เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ที่ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดเกษตรชลธี ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ต่อมาได้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน และจบปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ด้านชีวีตครอบครัว สมรสกับนางวรรณา จันทน์เสนะ (บุตรสาวกำนันวร ทวีรัตน์) มีบุตร 1 คน
การทำงาน
แก้นายบัญญัติ จันทน์เสนะ เริ่มรับราชการในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่ง วิทยากรโท เมื่อปี พ.ศ. 2513 เป็นปลัดอำเภอนาทวี ในปี พ.ศ. 2514 จากนั้นจึงได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นจ่าจังหวัดสงขลา และเป็นนายอำเภอในปี พ.ศ. 2521 เคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอ 3 อำเภอ คือ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล อำเภอรัตภูมิ และอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2531
ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2534 จนได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2534 ได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก
ในปี พ.ศ. 2536 และจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2537 และพ.ศ. 2538 ตามลำดับ ซึ่งผลงานการบริหารราชการในพื้นที่จังหวัดภาคใต้เป็นที่ประจักษ์ จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในปี พ.ศ. 2543 และเป็นอธิบดีกรมที่ดิน ในปี พ.ศ. 2545 จนเกษียณอายุราชการ[2]
งานการเมือง
แก้นายบัญญัติ จันทน์เสนะ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 นายบัญญัติ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ รองประธานกรรมการคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รมช.มท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๗, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ มกราคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๒๐, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗