สุพล ฟองงาม
สุพล ฟองงาม เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ [2] อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหนึ่งในอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติในภาคอีสาน เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของ นายสุบิน และนางกัน ฟองงามเป็นแกนนำกลุ่มชักธงรบ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภเป็นหนึ่งในผู้ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินออกหมายเรียกเนื่องจากอาจมีส่วนรู้เห็นกับการเผาสถานที่ราชการ(ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ)ในขณะนั้น
สุพล ฟองงาม ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน พ.ศ. 2553 – 19 เมษายน พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | สุณีย์ เหลืองวิจิตร |
ถัดไป | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | บัญญัติ จันทน์เสนะ ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ |
ถัดไป | ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ประสงค์ โฆษิตานนท์ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | ชูศักดิ์ ศิรินิล จักรภพ เพ็ญแข |
ถัดไป | วีระชัย วีระเมธีกุล สาทิตย์ วงศ์หนองเตย องอาจ คล้ามไพบูลย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี |
พรรค | สร้างอนาคตไทย (2565-ปัจจุบัน) พลังประชารัฐ เพื่อไทย พลังประชาชน ไทยรักไทย กิจสังคม |
คู่สมรส | สายฝน ฟองงาม |
ศาสนา | พุทธ |
การศึกษาแก้ไข
สุพล ฟองงาม สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนชุมชนบ้านกุดเป่ง มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง ระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และระดับปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การทำงานแก้ไข
สุพล ฟองงาม ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ต่อมาได้เข้าทำงานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย หลังจากการยุบพรรคพลังประชาชน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 พรรคเพื่อไทย ได้มีการประชุมเพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่ แทนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐที่ลาออก ซึ่งการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคในครั้งนี้ นายสุพล ฟองงาม ได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[3] และได้ลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา[4]
ในปี 2565 เขาได้รับเลือกให้ทำหน้าที่รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย[5]
ตำแหน่งทางการเมืองแก้ไข
สุพล ฟองงาม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช[6] ต่อมาหลังจากรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่ง นายสุพล ฟองงาม ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง ในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากการยุบพรรคพลังประชาชน ทำให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย
รางวัลและเกียรติยศแก้ไข
- พ.ศ. 2551 สุพล ฟองงาม ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก สุพล ฟองงาม[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ 'บิ๊กป้อม'ร่วมครั้งแรก พปชร.ถกใหญ่ เพิ่ม 17 กก.บห. 'สุริยะ'นอนมาจากร.พ.
- ↑ "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
- ↑ “สุพล ฟองงาม”ลาออกเลขาฯ“เพื่อไทย”[ลิงก์เสีย]
- ↑ พรรคสร้างอนาคตไทย: อุตตม-สนธิรัตน์ลั่น “ไม่ซ้ายสุดขั้ว ไม่ขวาสุดโต่ง ไม่เสนอชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ในบัญชี”
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
- ↑ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ก่อนหน้า | สุพล ฟองงาม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุณีย์ เหลืองวิจิตร | เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (15 กันยายน พ.ศ. 2553 - 19 เมษายน พ.ศ. 2554) |
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |