สุณีย์ เหลืองวิจิตร
นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2553
สุณีย์ เหลืองวิจิตร | |
---|---|
สุณีย์ ใน พ.ศ. 2561 | |
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 14 กันยายน พ.ศ. 2553 | |
ก่อนหน้า | สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี[1] |
ถัดไป | สุพล ฟองงาม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2502 อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร |
พรรคการเมือง | มวลชน (2529–2541) ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561, 2564–ปัจจุบัน) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) |
ประวัติ
แก้สุณีย์ เหลืองวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของนายปลิว กับนางแจ่ม เหลืองวิจิตร[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุณีย์ เหลืองวิจิตร มีน้องชาย ได้แก่ นาย ปุณยวัจน์ เหลืองวิจิตร อดีตรองนายก อบจ.พิจิตร
การทำงาน
แก้สุณีย์ เหลืองวิจิตร เคยทำงานเป็นคณะทำงานของพรรคไทยรักไทย และเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ในตำแหน่ง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สุณีย์ เหลืองวิจิตร ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในปี พ.ศ. 2551 จนถึงปี พ.ศ. 2553 และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (สันติ พร้อมพัฒน์) ในปี พ.ศ. 2551[3]จากนั้นได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 73[4]
เธอขึ้นเวทีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ที่จังหวัดพิจิตร
ในปี พ.ศ. 2561 เธอได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 คือ การยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคฯ[5][6] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติพร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี [7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ ๓๕๓/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ "ครั้งประวัติศาสตร์! ทูลกระหม่อมฯ ตอบรับ ไทยรักษาชาติ ลงชิงนายกฯ". ข่าวสด. 8 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ "Princess Ubolratana: Thai royal to stand as PM candidate". Thailand General Election 2019. Bangkok: BBC. 2019-02-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
- ↑ "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 มีนาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๘๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๔๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า | สุณีย์ เหลืองวิจิตร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 14 กันยายน พ.ศ. 2553) |
สุพล ฟองงาม |