สาทิตย์ วงศ์หนองเตย
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย (เกิด 23 เมษายน พ.ศ. 2504) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง หลายสมัย
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย | |
---|---|
สาทิตย์ ในปี พ.ศ. 2552 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | สุขุมพงศ์ โง่นคำ สุพล ฟองงาม |
ถัดไป | สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ กฤษณา สีหลักษณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 เมษายน พ.ศ. 2504 อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2538–2566) |
คู่สมรส | สุพร วงศ์หนองเตย |
ประวัติ
แก้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เกิดวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2504 ที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีชื่อเล่นว่า "ตาล" เป็นบุตรของประสิทธิ์ กับสมปอง วงศ์หนองเตย โดยเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกาหรือแคะ โดยบรรพบุรุษมาจากเมืองหลินชวน มณฑลเจียงซี[1] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ, ระดับปริญญาตรี สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ร่วมรุ่นกับ พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล) เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2525 และระดับปริญญาโท จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) (เกียรตินิยมอันดับ 1) เมื่อปี พ.ศ. 2535 มีน้องชายชื่อ นายสาวุฒิ วงศ์หนองเตย เป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานภาค 9 (ฝ่ายนายจ้าง)[2] และนายสาทร วงศ์หนองเตย
การทำงาน
แก้ข้าราชการการเมือง
แก้นายสาทิตย์ เคยดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในสมัยรัฐบาลชวน 2 (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543) ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] รับผิดชอบดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)
ในปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำทำเนียบได้ตั้งฉายาให้รัฐบาลและรัฐมนตรี โดยนายสาทิตย์ ได้รับฉายาว่า "กริ๊ง...สิงสื่อ" อันเนื่องมาจากการโทรศัพท์ถึงสื่อมวลชนเพื่อชี้นำทิศทางการนำเสนอข่าวหลายครั้ง[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้นายสาทิตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังหลายสมัย ในปี พ.ศ. 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554 และ 2562
กรรมการพรรคการเมือง
แก้นายสาทิตย์ เคยดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ช่วง ปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2554 ได้ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[5] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556[6] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.
ตำแหน่งอื่น
แก้นายสาทิตย์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (ประธานวิปฝ่ายค้าน) ปี พ.ศ. 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549 ต่อมาภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเงา[7]
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
แก้ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายสาทิตย์เป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยมีบทบาทเป็นผู้ดูแลเรื่องการจัดการชุมนุมและการบริหารเวทีปราศรัยทั้งหมด จนถูกเรียกขานว่าเป็น "ผู้ใหญ่บ้านราชดำเนิน" หรือ "ผู้ใหญ่สาทิตย์" เช่นเดียวกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งถูกเรียกขานว่า "กำนันสุเทพ" หรือ "ลุงกำนัน" อีกทั้งเมื่อมีการเคลื่อนไหวผู้ชุมนุมไปตามที่ต่าง ๆ นายสาทิตย์ไม่เคยไปเลยซึ่งต่างจากแกนนำคนอื่น ๆ เนื่องจากต้องดูแลสถานที่ชุมนุมหลัก[8]
ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยนายสาทิตย์เป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 2[9][10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Big Picture คิดต่างระหว่างบรรทัด 30 11 60 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 2017-11-30. สืบค้นเมื่อ 2017-12-01.
- ↑ เป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานภาค 9
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ ฉายานักการเมืองปี 53
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ ราย), เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑ง หน้า ๑๗๗ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗
- ↑ "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
- ↑ หน้า 064-065, เวทีชีวิต'ผู้ใหญ่สาทิตย์'แห่งราชดำเนิน. นิตยสาร ฅ คน Magazine ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (97): มกราคม 2557
- ↑ "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 May 2014.
- ↑ "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 May 2014.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลจากพรรคประชาธิปัตย์ เก็บถาวร 2009-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย เก็บถาวร 2012-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลจาก ThaisWatch.com
- Twitter ของสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
ก่อนหน้า | สาทิตย์ วงศ์หนองเตย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุขุมพงศ์ โง่นคำ สุพล ฟองงาม |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ กฤษณา สีหลักษณ์ |