อำเภอห้วยยอด
ห้วยยอด เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง ที่มีชื่อเรียกว่า "ห้วยยอด" เนื่องมาจากภูมิประเทศของอำเภอห้วยยอด โดยคำว่า "ห้วย" หมายถึง ลำห้วยต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำตรัง อันเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดที่พาดผ่านพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของอำเภอ ส่วนคำว่า "ยอด" หมายถึง ยอดเขาที่เรียงรายตลอดแนวทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอ ซึ่งเรียกว่า ภูเขาบรรทัด โดยพื้นที่ห้วยน้ำและยอดเขาสลับกันไปมา จึงได้เรียกว่าห้วยยอดมาจนปัจจุบัน
อำเภอห้วยยอด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Huai Yot |
คำขวัญ: ห้วยยอดเมืองตรัง เค้กลือเลื่องทั่วทิศ งามวิจิตรถ้ำเล เสน่ห์โตนคลาน ตำนานเขาปินะ กรุพระวัดหาร เล่าขาน เลสองห้อง ถิ่นทองแดนธรรม | |
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอห้วยยอด | |
พิกัด: 7°34′18″N 99°20′42″E / 7.57167°N 99.34500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตรัง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 747.25 ตร.กม. (288.51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 93,996 คน |
• ความหนาแน่น | 125.79 คน/ตร.กม. (325.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 92130, 92190 (เฉพาะตำบลปากแจ่มและตำบลลำภูรา) , 92210 (เฉพาะตำบลนาวง ตำบลบางดี ตำบลบางกุ้ง และตำบลวังคีรี) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9206 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอห้วยยอด ถนนเพชรเกษม ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้จากข้อมูลที่ค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2355 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่ปกครองของอำเภอห้วยยอดถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำตรัง ได้แก่ บ้านเขาปินะ บ้านบางกุ้ง บ้านท่าประดู่ บ้านควน บ้านหนองหงษ์ บ้านเขาขาด บ้านหนองไม้แก่น บ้านหนองแค และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตรังบางส่วน ได้แก่ บ้านในเตา ขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตรังส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับเมืองตรัง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จประพาสเมืองตรัง ปรากฏว่ามีกรรมกรจีนจำนวนมากจากเกาะปีนัง เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่บ้านท่ามะปราง ทำให้ชุมชนบริเวณนั้นเจริญมากขึ้น และเกิดตลาดแห่งแรกที่บ้านท่ามะปราง ต่อมามีเรือขุดแร่ของฝรั่งมาทำการขุดแร่แถวหน้าวัดห้วยยอด จึงทำให้ชุมชนบริเวณอำเภอห้วยยอดเจริญขึ้นตั้งแต่นั้นมา
ต่อมา พ.ศ. 2423 ทางราชการได้โอนเมืองตรังไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ จึงได้โอนพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำตรังมาขึ้นกับเมืองตรังด้วย ทำให้เกิดแขวงขึ้น 4 แขวง คือ แขวงบางกุ้ง แขวงบ้านนา แขวงปากคม แขวงเขาขาว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2430 จึงได้รวมท้องที่บ้างส่วนของเมืองนครศรีธรรมราชทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำตรังเป็น อำเภอเขาขาว ขึ้น โดยตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลเขาขาว ต่อมาจึงได้ย้ายที่ทำการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำพราย ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบันนี้ แต่ยังเป็นชื่ออำเภอเขาขาว ต่อมาได้แยกพื้นที่ตำบลน้ำพรายบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอออกมาตั้งเป็นตำบลใหม่ ให้ชื่อว่า "ตำบลห้วยยอด" ดังนั้นในปี พ.ศ. 2455 จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอห้วยยอด เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเขาขาวอีกครั้ง และในปี พ.ศ. 2482 จึงได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอห้วยยอดจนกระทั่งปัจจุบัน[1]
เดิมเขตการปกครองในจังหวัดตรังมีเพียง 6 อำเภอ และอำเภอห้วยยอดเป็นอำเภอเดียวที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล เนื่องพื้นฐานเศรษฐกิจของอำเภอห้วยยอดมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุก เมื่อจำนวนประชากรมากขึ้น จึงได้มีการแยกส่วนการปกครองของจังหวัดเพิ่มขึ้น และเมื่อ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2534 ได้แยกส่วนหนึ่งของอำเภอห้วยยอด ได้แก่ ตำบลควนเมา ตำบลคลองปาง ตำบลหนองบัว ตำบลหนองปรือ และตำบลเขาไพรออกไปเป็นอำเภอรัษฎา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย[2]
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอห้วยยอดตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางขัน (จังหวัดนครศรีธรรมราช) และอำเภอรัษฎา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง อำเภอชะอวด (จังหวัดนครศรีธรรมราช) อำเภอป่าพะยอม และอำเภอศรีบรรพต (จังหวัดพัทลุง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองตรัง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวังวิเศษ
ภูมิประเทศ
แก้สภาพพื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นที่ดอนลาดจากเทือกเขาบรรทัดทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศเหนือ
ภูเขา เป็นภูเขาจากทิวเขาบรรทัด ส่วนใหญ่อยู่ในตำบลในเตา ตำบลท่างิ้ว ตำบลเขาปูน และตำบลปากแจ่ม
แม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบรรทัด ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลผ่านตำบลต่าง ๆ ของอำเภอห้วยยอด หลายตำบล ผ่านอำเภอเมืองตรังและอำเภอกันตังออกทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย ราษฎรสามารถใช้ในเกษตรกรรม และในฤดูฝนเมื่อฝนตกหนักทำให้น้ำหลากผ่านแม่น้ำตรังทำให้เกิดอุทกภัยในตำบลต่าง ๆ ของอำเภอ
อำเภอห้วยยอดอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดตรัง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 28 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยยอดในเขตเทศบาลตำบลห้วยยอด ตัวอำเภอมีพื้นที่ประมาณ 762.63 ตารางกิโลเมตร[3]
ภูมิอากาศ
แก้พื้นที่อำเภอห้วยยอดได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออก ฝนจะเริ่มตกประมาณเดือนพฤษภาคม และจะมีฝนตกระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม เป็นการเข้าสู่ฤดูฝน ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จะย่างเข้าสู่ฤดูร้อนไปจนถึงเดือนมิถุนายน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอห้วยยอดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 133 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[4] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | ห้วยยอด | Huai Yot | 5
|
9,807
|
|
2. | หนองช้างแล่น | Nong Chang Laen | 12
|
8,572
| |
5. | บางดี | Bang Di | 12
|
8,410
| |
6. | บางกุ้ง | Bang Kung | 9
|
5,591
| |
7. | เขากอบ | Khao Kop | 12
|
8,311
| |
8. | เขาขาว | Khao Khao | 7
|
3,977
| |
9. | เขาปูน | Khao Pun | 7
|
5,037
| |
10. | ปากแจ่ม | Pak Chaem | 7
|
5,152
| |
11. | ปากคม | Pak Khom | 7
|
3,489
| |
14. | ท่างิ้ว | Tha Ngio | 8
|
4,983
| |
15. | ลำภูรา | Lamphu Ra | 10
|
5,771
| |
16. | นาวง | Na Wong | 11
|
6,675
| |
17. | ห้วยนาง | Huai Nang | 8
|
6,067
| |
19. | ในเตา | Nai Tao | 4
|
3,071
| |
20. | ทุ่งต่อ | Thung To | 8
|
3,891
| |
21. | วังคีรี | Wang Khiri | 6
|
4,884
|
หมายเลขที่หายไปเป็นรหัสของตำบลที่แยกไปขึ้นกับอำเภอรัษฎา
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอห้วยยอดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลห้วยยอด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยยอดและตำบลเขาปูน
- เทศบาลตำบลนาวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาวง ตำบลบางดี ตำบลบางกุ้ง และตำบลวังคีรี
- เทศบาลตำบลลำภูรา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลำภูรา
- เทศบาลตำบลท่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่างิ้วทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลห้วยนาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยนางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยอด (นอกเขตเทศบาลตำบลห้วยยอด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้างแล่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองช้างแล่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางดี (นอกเขตเทศบาลตำบลนาวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกุ้ง (นอกเขตเทศบาลตำบลนาวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขากอบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาปูน (นอกเขตเทศบาลตำบลห้วยยอด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแจ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากคม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากคมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำภูรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำภูรา (นอกเขตเทศบาลตำบลลำภูรา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาวง (นอกเขตเทศบาลตำบลนาวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลในเตา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเตาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งต่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังคีรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังคีรี (นอกเขตเทศบาลตำบลนาวง)
ประชากร
แก้อำเภอห้วยยอดมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 90,931 คน ชาย จำนวน 45,487 คน หญิงจำนวน 45,444 คน ความหนาแน่นของประชากร 121.69 คน/ตารางกิโลเมตร (สำรวจเมื่อเดือนธันวาคม 2548) [3]
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ทำสวนปาล์ม และทำนา อาชีพเสริม ได้แก่ ทำไร่และทำสวนผลไม้
สถานที่ที่น่าสนใจ
แก้ตำบลห้วยยอด
แก้สถานีรถไฟห้วยยอด เดิมเป็นอาคารไม้ขนาดเล็ก ต่อมาทำการขยายต่อเติมที่พักผู้โดยสารเมื่อ พ.ศ. 2510 บริเวณลานจอดรถด้านหน้าสถานีและที่ทำการแขวงบำรุงทางห้วยยอด มีรถซ่อมบำรุงทางของเก่าตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกจอดเป็นอนุสรณ์อยู่กลางวงเวียนขนาดเล็ก
อำเภอห้วยยอดมีการจัดเทศกาลกินเจซึ่งถือปฏิบัติกันมายาวนาน โดยมีศาลเจ้า (โรงพระ) ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ ศาลเจ้าแม่กวนอิมและศาลเจ้ากิมอ๋องซึ่งตั้งอยู่ในรั้วเดียวกัน ที่นี่จะมีการกินเจปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกประมาณเดือนสิงหาคม กินเจเนื่องในโอกาสวันเกิดเจ้าแม่กวนอิม โดยมีระยะเวลา 7 วัน ส่วนครั้งที่สองก็คือช่วงเทศกาลกินเจที่เรารู้จักกันทั่วประเทศ คนห้วยยอดจะเรียกกินเจนี้ว่ากินเจของกิวอ๋อง
- น้ำตกโตนคลาน
น้ำตกโตนคลาน เป็นน้ำตกขนาดเล็ก เกิดขึ้นจากป่าต้นน้ำในแนวเทือกเขาบรรทัด มีน้ำไหลตลอดปี ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร
- เขาพระยอด
เป็นสถานปฏิบัติธรรมที่เพิ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ราวปี พ.ศ. 2545 เนื่องจากสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ตั้งอยู่บนเชิงเขาขนาดเล็ก สามารถมีความเงียบสงบ และมองเห็นทิวทัศน์ของตัวอำเภอห้วยยอดจากมุมสูงได้ จึงเป็นอีกสถานที่ ที่ได้รับความนิยมทั้งจากนักปฏิบัติธรรม และนักท่องเที่ยวในการแวะขึ้นไป
ตำบลเขากอบ
แก้ถ้ำเลเขากอบเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ทำให้เกิดธารน้ำไหลตลอดถ้ำบนแผ่นดิน มีลักษณะเป็นภูเขาผาหินสูงชันสลับซับซ้อน มีลำคลองที่ไหลมาจากทิวเขาบรรทัด เมื่อไหลมาถึงบริเวณเขากอบจะแยกออกเป็น 3 สาย โดย 2 สายจะไหลอ้อมภูเขาและอีกสายหนึ่งจะไหลลอดถ้ำใต้ภูเขา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย ระยะทาง 4 กิโลเมตร องค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบได้จัดเรือพายบริการนำเที่ยวชมความงามของถ้ำ ถือเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนในท้องถิ่น ค่าบริการเรือลำละ 200 บาทต่อ 6 คน หรือคนละ 30 บาท ใช้เวลาในการล่องเรือประมาณ 1 ชั่วโมง ล่องเรือได้ตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ โทร. 0 7520 6620, 0 7550 0088
การเดินทาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้วยยอดไปตามถนนเพชรเกษมประมาณ 7 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าบ้านเขากอบประมาณ 700 เมตร
ตำบลนาวง
แก้- วัดถ้ำเขาปินะ
ห่างจากถ้ำเลเขากอบไปบนถนนเพชรเกษม เป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเขาปินะ บริเวณเขาปินะนี้ มีถ้ำขนาดใหญ่ซึ่งเดิมเป็นแหล่งที่อยู่ของค้างคาว ต่อมาได้มีพระภุดงค์มาพำนักและได้รับศรัทธาจากชาวบ้านสร้างกุฎิถวายบริเวณเชิงเขาแทน จึงได้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์ และยกระดับเป็นวัดในเวลาต่อมา
ตำบลบางดี
แก้- ทะเลสองห้อง
ทะเลสองห้องตั้งอยู่ที่ตำบลบางดี ห่างจากตัวอำเภอห้วยยอดประมาณ 27 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนเพชรเกษม สายห้วยยอด-กระบี่ ถึงสามแยกท่ามะพร้าว แยกขวาไปอีก 12 กิโลเมตร เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติกว้างใหญ่คล้ายทะเลสาบโอบล้อมด้วยภูเขาหลายลูก ดูสลับซับซ้อนและอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้นานาชนิด ตอนกลางของแอ่งน้ำมีเขายื่นออกมาเกือบติดต่อกัน แบ่งแอ่งน้ำออกเป็น 2 ตอน จึงเป็นที่มาของชื่อทะเลสองห้อง
- ค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติ
ทะเลสองห้องยังเป็นที่ตั้งของค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่ายลูกเสือระดับชาติประจำภาคใต้อีกด้วย ค่ายลูกเสือแห่งนี้มีทัศนียภาพสวยงามของภูเขา และทะเลสาบสองห้อง มีอาคารประชุม ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการอยู่ค่ายพักแรมพร้อม ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดตรังเพียง 60 นาที สถานที่ติดต่อค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติบ้านทะเลสองห้อง หมู่ที่ 10 ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โทร. 0 7521 0258
วัดถ้ำเขาสายเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่โบราณ เป็นที่ตั้งเมืองตรังครั้งแรก มีบันทึกในประวัติศาสตร์เป็นหนังสือที่เขียนโดยทอเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกซึ่งได้กล่าวถึง แม่น้ำไครโลนาส หมายถึง แม่น้ำตรัง แม่น้ำอัตตาบาส์ หมายถึง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปะลันดา หมายถึง คลองโอ๊ก และคลองมีนในจังหวัดตรัง เป็น 1 ในแหล่งมวลสารวัตถุจากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา
ตำบลลำภูรา
แก้เดิมชื่อวัดถ้ำพระ ตั้งอยู่เลขที่ 5/1 หมู่ที่ 6 บ้านถ้ำพระ ตำบลหนองบัว สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินทั้งวัดเนื้อที่ 84 ไร่ 60 ตารางวา เป็น 1 ในแหล่งมวลสารวัตถุจากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระสมเด็จจิตรลดา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านชายเขา ตำบลลำภูรา ทางเข้าอยู่ตรงข้ามกับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ที่ตั้งของวัดเป็นภูเขาสูงมีทางเดินขึ้นภูเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของจังหวัดตรังโดยทั่วไปได้อย่างชัดเจน ภายในถ้ำสามารถเดินเข้าไปชมหินงอกหินย้อยได้ และถายในบริเวณวัดมีสถานที่กว้างสามารถจอดรถได้อย่างสะดวก ทั้งยังอยู่ในบริเวณเดียวกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้ำพรายอีกด้วย
- หมู่บ้านขนมเค้ก
ตำบลลำภูราเป็นแหล่งกำเนิดของเค้กขึ้นชื่อของจังหวัดตรัง ซึ่ง ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ได้เคยมาแวะชิมและแนะนำให้คนไทยได้รู้จัก เค้กขึ้นชื่อของลำภูรามีลักษณะที่ไม่เหมือนเค้กทั่วไปคือ ตรงกลางของขนมเค้กจะมีช่องว่างตรงกลางเป็นวงกลม ร้านจำหน่ายขนมเค้ก ได้แก่ เค้กขุกมิ่ง เค้กนำเก่ง เค้กศรียง เค้กศิริวรรณ เค้กช่อลดา ลำภูรา เป็นต้น
ธนาคาร
แก้- ธนาคารกรุงเทพ สาขาห้วยยอด (ตรัง)
- ธนาคารทหารไทย สาขาห้วยยอด (ตรัง)
- ธนาคารธนชาต 1 สาขาห้วยยอด (ตรัง)
- ธนาคารธนชาต 2 สาขาห้วยยอด (ตรัง)
- ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาห้วยยอด (ตรัง)
- ธนาคารออมสิน สาขาห้วยยอด (ตรัง)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาห้วยยอด (ตรัง)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาย่อยลำภูรา (ตรัง)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขานาวง (ตรัง)
- ธนาคารกรุงไทย สาขาห้วยยอด (ตรัง)
สถานศึกษา
แก้- มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาคารห้วยยอด (ศูนย์ตรัง ห้วยยอด)
- วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด
- โรงเรียนห้วยยอด
- โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร)
- โรงเรียนเทศบาลห้วยยอดวิทยา
- โรงเรียนวิวัฒน์วิทยา
- โรงเรียนธาดาอนุสรณ์
- โรงเรียนสามัคคีศึกษา
- โรงเรียนห้วยนางราษฎร์บำรุง
- โรงเรียนในเตาพิทยาคม
- โรงเรียนบางดีวิทยาคม
- โรงเรียนลำภูราเรืองวิทย์
- ฯลฯ
การเดินทาง
แก้- ทางรถยนต์
- เส้นทางที่ 1 ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม จากกรุงเทพฯ ลงมาจนถึงแยกปฐมพร จังหวัดชุมพร แล้วแยกเข้าจังหวัดระนอง ลงมาตามถนนเพชรเกษม ผ่านจังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ อำเภอวังวิเศษ เข้าสู่อำเภอห้วยยอด จนกระทั่งถึงแยกห้วยยอด ตรงเข้ามาทางเส้นทางเก่า จะถึงที่ว่าการอำเภอห้วยยอด เส้นทางนี้เป็นถนนสายหลักดั้งเดิม แต่จะมีความคดเคี้ยวของถนนมากและค่อนข้างเปลี่ยวโดยเฉพาะในช่วงเส้นทางจากชุมพร-ระนอง-พังงา การขับขี่ต้องอาศัยความระมัดระวัง แต่จะเป็นเส้นทางที่ผู้ขับขี่ได้สัมผัสอำเภอได้มากและผ่านสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญต่าง ๆ ของอำเภอ
- เส้นทางที่ 2 ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม จากกรุงเทพฯ ลงมาถึงจังหวัดชุมพร จึงใช้เส้นทางสายเอเชียเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณทางแยกเข้าอำเภอทุ่งสง จะต้องกลับรถใต้สะพานข้ามทางรถไฟเพื่อเข้าสู่อำเภอห้วยยอด เส้นทางดังกล่าวมีระยะทางประมาณ 812 กิโลเมตร เป็นถนน 4 ช่องทางจราจรตลอดเส้นทาง การเดินทางค่อนข้างสะดวกสบาย และเป็นเส้นทางที่รถโดยสารประจำทางกรุงเทพฯ-ตรัง ใช้เดินทางในปัจจุบัน
- ทางรถไฟ
- ปัจจุบันมีรถไฟ 2 ขบวน เดินทางโดยตรงจากกรุงเทพ ถึงจังหวัดตรัง โดยทั้งสองขบวนจะแวะรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟห้วยยอด ได้แก่
- ขบวนรถด่วนขบวนที่83 กรุงเทพฯ-ตรัง ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เวลา 17.30 น. ถึงสถานีรถไฟห้วยยอด เวลา 8.00 น. โดยประมาณ
- ขบวนรถด่วนขบวนที่84 ตรัง-กรุงเทพฯ ออกเดินทางจากสถานีรถไฟห้วยยอด เวลา 18.00 น. ถึงกรุงเทพฯ เวลา 8.35 น. โดยประมาณ
- ขบวนรถเร็วขบวนที่167 กรุงเทพฯ-กันตัง ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เวลา 18.20 น. ถึงสถานีรถไฟห้วยยอด เวลา 11.40 น. โดยประมาณ
- ขบวนรถเร็วขบวนที่168 กันตัง-กรุงเทพฯ ออกเดินทางจากสถานีรถไฟห้วยยอด เวลา 14.30 น. ถึงกรุงเทพฯ เวลา 5.35 น. โดยประมาณ
บุคคลสำคัญ
แก้- ขุนกอบ คีรีกิจ (นายอิน วรรณบวร) ผู้ก่อตั้ง และดำรงตำแหน่งกำนันตำบลเขากอบ[5]
- นายทวี สุระบาล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 จังหวัดตรังหลายสมัย
- นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 จังหวัดตรังคนปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
เรื่องน่ารู้
แก้- ที่จังหวัดตรังเป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงเรียกปาท่องโก๋ ว่า จาโก้ว ซึ่งเป็นชื่อเรียกภาษาจีนที่ถูกต้อง
- อำเภอห้วยยอด มีขนมปาท่องโก๋ ต้นตำรับวางจำหน่ายในตลาดเช้าทุกวัน โดยมีจำหน่ายมากเป็นพิเศษทุกวันพระ
- ตามบันทึกประวัติศาสตร์ อำเภอห้วยยอดเป็นที่ตั้งเมืองตรังครั้งแรก ตั้งแต่สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ต่อมาจึงได้มีการย้ายเมืองอีกหลายลงใต้ไปตามแม่น้ำตรัง ที่สุดจึงย้ายไปอยู่ ณ ที่ตั้งเมืองในปัจจุบัน
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-29. สืบค้นเมื่อ 2009-09-01.
- ↑ http://www.dmcr.go.th/dclm/DownloadAlldata/doc/trang.doc
- ↑ 3.0 3.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-01.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-09-01.
- ที่ว่าการอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เก็บถาวร 2007-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อำเภอดอตคอม เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2550.
- คณะลูกเสือแห่งชาติ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 9 มีนาคม 2550.
7°47′22″N 99°36′17″E / 7.78931°N 99.60480°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อำเภอห้วยยอด
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
- ตรังโซน เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลและรูปภาพสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดตรัง เก็บถาวร 2009-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน