ทวี สุระบาล
ทวี สุระบาล (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2491) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ทวี สุระบาล | |
---|---|
![]() ทวี ใน พ.ศ. 2561 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 350 วัน) | |
ก่อนหน้า | สาทิตย์ วงศ์หนองเตย |
คะแนนเสียง | 63,185 (64.03%) |
ดำรงตำแหน่ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | วิเชียร คันฉ่อง |
ถัดไป | สาทิตย์ วงศ์หนองเตย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2491 อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ชาติไทย (2517–2530) ประชาธิปัตย์ (2530–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) เพื่อแผ่นดิน (2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2552–2561) |
คู่สมรส | ณิชาพัฒน์ สุระบาล |
ชื่อเล่น | ปั๊บ |
ประวัติ
แก้ทวี เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นบุตรของนายเจตน์ นางชูชีพ สุระบาล[1] ด้านครอบครัวสมรสกับนางณิชาพัฒน์ สุระบาล มีบุตร 3 คน ประกอบด้วย สุวิชาณ สุระบาล, พรหมกรณ์ สุระบาลธนวัชร์ และอิสรีย์ สุระบาลธนวัชร์[2]
สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต จากBanaras Hindu University ประเทศอินเดีย และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
งานการเมือง
แก้ทวี มีอาชีพเป็นนักธุรกิจ และสมาชิกสภาจังหวัด ใน พ.ศ. 2528 ตามลำดับ ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในพ.ศ. 2529 สังกัดพรรคชาติไทย แต่ได้รับเลือกตั้งในครั้งถัดมา (พ.ศ. 2531) ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึงพ.ศ. 2548 แต่ในครั้งนั้นได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อและได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 7[3]
พ.ศ. 2550 ทวี ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 8 ลำดับที่ 2 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากทางพรรคได้รับเลือกตั้งเพียง 1 ที่นั่ง แต่ลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดิน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แต่เป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน ในวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และต่อมาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยในเวลาต่อมา และในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 46[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ทวี สุระบาล ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5]
ในพ.ศ. 2566 ทวี ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และเอาชนะคู่แข่งอย่างสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ไปด้วยคะแนนกว่า 63,185 คะแนน ถือเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ทวี สุระบาล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 20 สิงหาคม 2562
- ↑ ว่าที่ สส.พปชร.คะแนนอันดับ 1 ของประเทศ นั่งรถตระเวนขอบคุณทุกคะแนนเสียง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๗, ๕ มกราคม ๒๕๔๙