การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เป็น การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งที่ 19[1] มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[2] การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคความหวังใหม่ ที่เพิ่งลงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกประสบความสำเร็จ สามารถเฉือนเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ ไปได้ 2 เสียง ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 393 ที่นั่งในรัฐสภาไทย ต้องการ 197 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 62.4% | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รหัสสี: ความหวังใหม่, ประชาธิปัตย์, ชาติพัฒนา, ชาติไทย, กิจสังคม, เอกภาพ, ประชากรไทย, อื่น ๆ แต่ละจังหวัดอาจประกอบด้วยที่นั่งเดียวหรือหลายที่นั่งก็ได้ โดยสีที่ปรากฏนี้บ่งบอกถึงพรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในจังหวัดนั้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ที่มา
แก้ที่มาของการเลือกตั้งครั้งนี้ สืบเนื่องจากนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 27 กันยายน ปีเดียวกันนั้น เพราะก่อนหน้านั้นไม่นานมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน การอภิปรายฯครั้งนั้น มีหลายกรณีทั้งข้อสงสัยเรื่องสัญชาติกำเนิดของบิดานายบรรหาร, การหลีกเลี่ยงที่จะเสียภาษีจำหน่ายที่ดินให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยของรัฐบาล, การรับเงินสนับสนุนจากนายราเกซ สักเสนา ซึ่งเป็นอาชญากรจากคดียักยอกเงินของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ, กรณีคัดลอกวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงของนายบรรหาร [3] เป็นต้น สร้างความสะเทือนแก่เสถียรภาพของรัฐบาลเป็นอย่างมาก ต่อมา ก่อนการวันลงมติอภิปรายฯ พรรคร่วมรัฐบาลได้มีมติที่จะให้นายบรรหาร ลาออกจากตำแหน่ง มิฉะนั้นจะไม่ยกมือไว้วางใจให้ แต่นายบรรหารต่อรองที่จะขอลาออกภายใน 7 วันแทน ขณะเดียวกันได้มีความพยายามที่จะรวบรวมเสียงสนับสนุนของพรรคร่วมรัฐบาลต่าง ๆ ที่จะสนับสนุน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ด้วยจำนวนเสียง 118 เสียง แต่ทว่านายบรรหารได้เลือกที่จะยุบสภาฯขึ้นเสียก่อน [4]
ผลการเลือกตั้ง
แก้คะแนนเสียง | |||||
---|---|---|---|---|---|
ความหวังใหม่ | 16,585,528 | 29.14 |
125 / 393
| ||
ประชาธิปัตย์ | 18,087,006 | 31.8 |
123 / 393
| ||
ชาติพัฒนา | 7,044,304 | 12.4 |
52 / 393
| ||
ชาติไทย | 5,621,890 | 9.88 |
39 / 393
| ||
กิจสังคม | 3,036,544 | 5.33 |
20 / 393
| ||
ประชากรไทย | 2,330,135 | 4.09 |
18 / 393
| ||
เอกภาพ | 8 / 393
| ||||
เสรีธรรม | 4 / 393
| ||||
มวลชน | 2 / 393
| ||||
พลังธรรม | 1 / 393
| ||||
ไท | 1 / 393
| ||||
คะแนนสมบูรณ์ | 100 | 393 | |||
คะแนนเสีย | |||||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | |||||
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | |||||
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | |||||
ที่มา: |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (ยุบสภาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2539 และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539)
- ↑ https://prachatai.com/journal/2016/04/65397 ปิดตำนานปลาไหลสุพรรณ บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 21]
- ↑ รัฐนาวา "บรรหาร" ล่ม, หน้า 255-256. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์ มติชน (สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพมหานคร) ISBN 974-323-889-1
- ↑ Nohlen, D, Grotz, F & Hartmann, C (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p288 ISBN 0-19-924959-8