สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 20
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 20 (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 393 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตทั้งหมด จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 20 | |||||
---|---|---|---|---|---|
| |||||
ภาพรวม | |||||
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎร | ||||
เขตอำนาจ | ประเทศไทย | ||||
ที่ประชุม | อาคารรัฐสภาไทย | ||||
วาระ | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (3 ปี 357 วัน) | ||||
การเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 | ||||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีชวลิต (2539-2540) คณะรัฐมนตรีชวน 2 (2540-2543) | ||||
ฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ (2539-2540) พรรคความหวังใหม่ (2540-2543) | ||||
สภาผู้แทนราษฎร | |||||
สมาชิก | 393 | ||||
ประธาน | วันมูหะมัดนอร์ มะทา จนถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543 พิชัย รัตตกุล ตั้งแต่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 | ||||
รองประธานคนที่ 1 | โสภณ เพชรสว่าง | ||||
รองประธานคนที่ 2 | สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ | ||||
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ จนถึง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ชวน หลีกภัย ตั้งแต่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | ||||
ผู้นำฝ่ายค้าน | ชวน หลีกภัย จนถึง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ชวลิต ยงใจยุทธ ตั้งแต่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | ||||
พรรคครอง | รัฐบาลผสมพรรคความหวังใหม่กับพรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรค (2539-2540) รัฐบาลผสมพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลอีก 4 พรรค (2540-2543) |
องค์ประกอบของสภา
แก้สภาผู้แทนราษฎรไทย ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 393 ที่นั่ง
พรรค | จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |
ผลการเลือกตั้ง | ณ วันสิ้นอายุสภา | |
ประชาธิปัตย์ | 123 | 113 |
ไม่สังกัดพรรค | - | 71 |
ชาติพัฒนา | 52 | 35 |
ชาติไทย | 39 | 32 |
ความหวังใหม่ | 125 | 21 |
ราษฎร | - | 9 |
กิจสังคม | 20 | 8 |
เอกภาพ | 8 | 8 |
เสรีธรรม | 4 | 5 |
ประชากรไทย | 18 | 2 |
มวลชน | 2 | 0 |
ไท | 1 | 0 |
พลังธรรม | 1 | 0 |
รวม | 393 | 306 |
ว่าง | - | 87 |
เหตุการณ์สำคัญ
แก้- ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 กลุ่มงูเห่า ทั้ง 12 คนที่ถูกขับออกจากการเป็นสมาชิก พรรคประชากรไทย เข้าสังกัด พรรคราษฎร 9 คน (สส.นนทบุรี และ สส.สมุทปราการ), พรรคชาติพัฒนา 2 คน (สส.พิษณุโลก), และ พรรคเสรีธรรม 1 คน (สส.อุตรดิตถ์)
- 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ พร้อมด้วย สส.ส่วนใหญ่จากพรรคความหวังใหม่และพรรคฝ่ายค้าน ประกาศลาออกด้วยการเดินออกจากสภา เพื่อกดดันรัฐบาล ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์บริหารประเทศล้มเหลว ประชาชนยากจน บริหารประเทศอย่างไร้ประสิทธิภาพ ไม่ซื่อตรง มีการทุจริตเกิดขึ้นมากมาย แสวงหาประโยชน์ และปกป้องคนผิดที่เป็นพรรคพวกตนเอง ที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศชาติพังเสียหาย กดดันให้รัฐบาลที่นำโดย ชวน หลีกภัย รีบยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน เพื่อเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่[1] โดยในรายงานการประชุมสภาได้ระบุว่า ในวันนั้นมีการลาออกทั้งสิ้น 74 คน ถึงแก่กรรม 8 คน ทำให้สมาชิกสภาฯ เหลือทั้งสิ้น 311 คน
- ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 20 ปีที่ 4 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) ซึ่งได้จัดการประชุมในวันเดียวกันนั้น ได้มีการเสนอรายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ สืบเนื่องจาก วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับตำแหน่งเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ โดย วิเชษฐ์ เกษมทองศรี สส.ราชบุรี พรรคชาติพัฒนา เสนอชื่อ พิชัย รัตตกุล สส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ สาคร พรหมภักดี สส.สกลนคร พรรคกิจสังคม เสนอชื่อ โชคสมาน สีลาวงษ์ สส.อุดรธานีจากพรรคเดียวกัน ทว่า โชคสมานขอถอนตัว ทำให้พิชัยได้รับการดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ คนใหม่ในที่สุด[2]
- 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภา ก่อนเวลาที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นสุดวาระเพียงไม่กี่วัน
จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำแนกตามพรรค
แก้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำแนกตามพรรค ณ วันสิ้นอายุของสภาผู้แทนราษฎร
พรรค | แบ่งเขต | รวม | ||||||
กรุงเทพ | กลาง | เหนือ | อีสาน | ใต้ | ตะวันออก | ตะวันตก | ||
ประชาธิปัตย์ | 27 | 11 | 7 | 12 | 46 | 3 | 7 | 113 |
ไม่สังกัดพรรค | 2 | 17 | 5 | 31 | 1 | 9 | 6 | 71 |
ชาติพัฒนา | - | 8 | 11 | 12 | - | 3 | 1 | 35 |
ชาติไทย | - | 16 | 4 | 4 | - | 7 | 1 | 32 |
ความหวังใหม่ | - | 5 | 2 | 14 | - | - | - | 21 |
ราษฎร | - | 9 | - | - | - | - | - | 9 |
กิจสังคม | - | 3 | - | 5 | - | - | - | 8 |
เอกภาพ | - | 3 | - | 5 | - | - | - | 8 |
เสรีธรรม | - | - | 1 | 4 | - | - | - | 5 |
ประชากรไทย | 1 | 1 | - | - | - | - | - | 2 |
รวม | 30 | 74 | 30 | 88 | 47 | 22 | 15 | 306 |
รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ ออกจากตำแหน่ง |
มีรายนามดังนี้[3]
กรุงเทพมหานคร
แก้ภาคกลาง
แก้ภาคเหนือ
แก้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แก้ภาคใต้
แก้ภาคตะวันออก
แก้ภาคตะวันตก
แก้ผู้ดำรงตำแหน่ง
แก้- ประธานสภาผู้แทนราษฎร : วันมูหะมัดนอร์ มะทา
- รองประธานประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง : โสภณ เพชรสว่าง
- รองประธานประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง : สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
การลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง
แก้ตำแหน่ง | ชื่อ | พรรค | คะแนนเสียง |
---|---|---|---|
ประธานสภาผู้แทนราษฎร[4] (ใช้วิธีการขานชื่อ) |
วันมูหะมัดนอร์ มะทา | ความหวังใหม่ | 221 |
พิชัย รัตตกุล | ประชาธิปัตย์ | 167 | |
3 | |||
391 | |||
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง (ใช้วิธีการยกมือ) |
โสภณ เพชรสว่าง | ชาติพัฒนา | 207 |
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ | ชาติไทย | 178 | |
385 | |||
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง (ใช้วิธีการยกมือ) |
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ | กิจสังคม | 208 |
ชัย ชิดชอบ | เอกภาพ | 143 | |
351 |
ฉายารัฐสภา
แก้ตำแหน่ง | พ.ศ.2543[5] |
---|---|
ดาวเด่น | จาตุรนต์ ฉายแสง |
ดาวดับ | ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ |
ฉายาสภาผู้แทนราษฎร | สภาหลังยาว |
ฉายาวุฒิสภา | อวสานสภาสูง |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ประธานวุฒิสภา | โน้ตประกาศิต |
ผู้นำฝ่ายค้าน | ผู้นำ 3 ก๊ก (ชวลิต ยงใจยุทธ) |
เหตุการณ์แห่งปี | ศึกซักฟอกรัฐบาล 5 วัน 4 คืน |
คู่กัดแห่งปี | สนั่น ขจรประศาสน์ และ เฉลิม อยู่บำรุง |
วาทะแห่งปี | “ผมเสียใจ แต่ไม่ขอโทษ” (ชวน หลีกภัย) |
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2539 แต่ยังคงสมาชิกภาพ สส. ไว้ และได้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2541 ก่อนจะลาออกจากการเป็น สส. เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2543
อ้างอิง
แก้- ↑ "พลิกตำนาน 'ความหวังใหม่' ลาออกยกพรรค หวังบีบ ปชป.ยุบสภา". www.thairath.co.th. 2013-12-09.
- ↑ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓
- ↑ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, รายงานการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2539 เก็บถาวร 2009-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๙.๐๕ น.– ๒๐.๕๓ น.
- ↑ "สวนดุสิตโพล: กรณี "ฉายารัฐบาล" และ "ฉายาสภา"". ryt9.com.