ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ

ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Bangkok Bank of Commerce Public Company Limited ชื่อย่อ: BBC) เป็นธนาคารในอดีต ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยผู้บริหารธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ได้ยุติการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541 โดยมีการโอนกิจการของธนาคารฯ ไปยัง ธนาคารกรุงไทย[1] เฉพาะสินทรัพย์และเงินฝากของลูกค้าที่มีคุณภาพดี และบริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะสินทรัพย์และลูกหนี้ที่มีความด้อยคุณภาพ (หมายถึง บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2542) ซึ่งทำให้ธนาคารฯ แปลงสภาพเป็นบริษัทลูกหนี้ ภายใต้ชื่อ บริษัท กรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) แต่ในที่สุดก็ปิดกิจการลงเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2546 เนื่องจากศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้ล้มละลาย[2] อนึ่ง วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ยึดใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ของธนาคารฯ ด้วยสาเหตุจากการมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก ซึ่งปัญหาการเงินและสืบเนื่องมาถึงปิดตัวของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การนั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540

ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
ก่อตั้ง18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487
เลิกกิจการ17 สิงหาคม พ.ศ. 2541
สาเหตุโอนกิจการไปยังธนาคารกรุงไทย
สำนักงานใหญ่เลขที่ 99 ถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
บริการธนาคาร

สำหรับตราสัญลักษณ์ของธนาคารฯ ได้ใช้รูปเหรียญสตางค์ด้านหลัง ที่เป็นรูปตราจักรเฉียงจากทางซ้ายไปทางขวา 8 ซีก โดยมีคำว่า พ.ศ. ๒๔๘๗ อยู่ในวงกลมด้านบนของตราจักร ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสัญลักษณ์เหรียญสตางค์ตราจักรเป็นสีเหลือง และถูกประดับด้วยกล่องสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ซึ่งปรับเปลี่ยนประมาณปี พ.ศ. 2537[ต้องการอ้างอิง]เป็นรูปแบบสุดท้ายก่อนที่จะปิดกิจการลง

รายพระนามและชื่อประธานกรรมการ

แก้
  1. พลโท หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร (พ.ศ. 2487-2492)
  2. พลตำรวจเอก พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) (พ.ศ. 2492-2498)
  3. พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล (พ.ศ. 2498-2502)
  4. พลอากาศโท สวน สุขเสริม (พ.ศ. 2502-2507)
  5. พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร (พ.ศ. 2508-2511)
  6. พลเอก ผ่อง บุญสม (พ.ศ. 2511-2514)
  7. พลอากาศเอก ศิริ เมืองมณี (พ.ศ. 2514-2516)
  8. ท่านผู้หญิงพรพรรณ ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (พ.ศ. 2516-2518)
  9. นายแถบ นีละนิธิ (พ.ศ. 2518-2521)
  10. หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี (พ.ศ. 2521-2524)
  11. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (พ.ศ. 2524-2527)
  12. พลเรือเอก นิพนธ์ ศิริธร (พ.ศ. 2527-2530)
  13. นางมุกดา จันทรสมบูรณ์ (พ.ศ. 2530-2532)
  14. พลเรือเอก หม่อมราชวงศ์พันธุม ทวีวงศ์ (พ.ศ. 2532-2534)
  15. พลเอก ไพบูลย์ เอมพันธุ์ (พ.ศ. 2534-2536)
  16. นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์ (พ.ศ. 2536-2539)
  17. นายกมล จันทิมา (พ.ศ. 2539-2541)

รายพระนามและชื่อนายกคณะกรรมการ

แก้
  1. หลวงวิเชียรแพทยาคม (เถียร ตูวิเชียร) (พ.ศ. 2487-2490)
  2. พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) (พ.ศ. 2490-2493)
  3. พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) (พ.ศ. 2493-2495)
  4. หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) (พ.ศ. 2495-2498)
  5. พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (พ.ศ. 2498-2504)
  6. พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร (พ.ศ. 2504-2507)
  7. นายหยุด แสงอุทัย (พ.ศ. 2508-2510)
  8. นายกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (พ.ศ. 2510-2513)
  9. หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี (พ.ศ. 2513-2516)
  10. หม่อมเจ้าลุอิสาณ์ ดิศกุล (พ.ศ. 2516-2519)
  11. หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ (พ.ศ. 2519-2523)
  12. พลเอก ประเทียบ เทศวิศาล (พ.ศ. 2523-2525)
  13. พลเอก สุรกิจ มัยลาภ (พ.ศ. 2525-2529)
  14. นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ (พ.ศ. 2529-2531)
  15. ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ (พ.ศ. 2531-2534)
  16. นายกมล จันทิมา (พ.ศ. 2534-2536)
  17. พลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา (พ.ศ. 2537-2541)

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด(มหาชน)ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)และบริษัทบริหารสินทรัพย์ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2541
  2. "ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำพิพากษาให้ล้มละลายและกำหนดนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-02-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์. ความจริง...บีบีซี. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น,2556.