มนตรี พงษ์พานิช
บทความนี้คล้ายโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์
วิกิพีเดียมิใช่ช่องทางการสื่อสารการตลาดของหน่วยธุรกิจใด ๆ กรุณาเขียนใหม่ด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และนำแหล่งข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องออก |
มนตรี พงษ์พานิช (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2543) อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข และเป็นผู้อนุมัติ "โครงการโฮปเวลล์"[1] เมื่อปี พ.ศ. 2533 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
มนตรี พงษ์พานิช | |
---|---|
มนตรี ในปี พ.ศ. 2533 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ดำรงตำแหน่ง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
ก่อนหน้า | บรรหาร ศิลปอาชา |
ถัดไป | สมัคร สุนทรเวช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
ก่อนหน้า | ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ |
ถัดไป | สุบิน ปิ่นขยัน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
ก่อนหน้า | เสนาะ เทียนทอง |
ถัดไป | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | ประจวบ ไชยสาส์น |
ถัดไป | สุวิทย์ คุณกิตติ |
หัวหน้าพรรคกิจสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 29 กันยายน พ.ศ. 2541 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา |
ถัดไป | บุญพันธ์ แขวัฒนะ |
เลขาธิการพรรคกิจสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มีนาคม 2532 – 9 มิถุนายน 2534 | |
ก่อนหน้า | สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ |
ถัดไป | ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ |
ดำรงตำแหน่ง 27 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 12 กันยายน พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | บุญชู โรจนเสถียร |
ถัดไป | เกษม ศิริสัมพันธ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก |
เสียชีวิต | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (56 ปี) เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2512—2517) กิจสังคม (2517—2543) |
คู่สมรส | คุณหญิงธิดา พงษ์พานิช |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้มนตรี พงษ์พานิช เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายจำรัส กับนางพริ้ง พงษ์พานิช มีพี่น้อง 9 คน ด้วยครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง มนตรีร่อนเร่ไปอยู่กับพี่ชายที่ทำงานอยู่เชียงใหม่ จนเรียนจบชั้น ม.6 จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีน้องชายคนหนึ่ง คือ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร
มนตรี พงษ์พานิช เรียนจบชั้น ม.6 จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาจากวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน เมื่อปี พ.ศ. 2505 เมื่อจบจากช่างกลปทุมวัน แล้วได้เข้าทำงานที่ โรงกลั่นน้ำมันบางจาก แล้วลาออกมาเป็นลูกจ้างกรมทางหลวง ก่อนสอบชิงทุนไปเรียนที่โรงเรียนช่างกลระดับสูงในเยอรมนีตะวันตก เทียบเท่าปริญญาโท และ ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง) จาก Staatliche Ingenieur Institute Konstanz ประเทศเยอรมัน เมื่อเรียนจบจึงไปฝึกงานที่สวิตเซอร์แลนด์ ก่อนกลับเมืองไทย มนตรีไปทำงานกับ บริษัท บี.กริมแอนด์โก เป็นนายช่างใหญ่ จากนั้นก็ลาออกไปตั้งบริษัท มณีพันธ์ จำกัด ค้าขายข้าวอยู่ที่อยุธยา และแต่งงานกับ คุณหญิงธิดา พงษ์พานิช ลูกสาวคหบดีกรุงเก่าตระกูลหงษ์ทอง
เขาสมรสกับคุณหญิงธิดา พงษ์พานิช (สกุลเดิม หงษ์ทอง) มีบุตร-ธิดา 2 คน
ชีวิตการเมือง
แก้มนตรี พงษ์พานิช เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ถือว่าเป็นนักการเมืองที่มีแนวคิดทันสมัย มีผลงานในการผลักดันโครงการพัฒนาจังหวัดหลายโครงการ อาทิ ผลักดันงบประมาณสร้างสถานีตำรวจภูธรปากท่า อำเภอท่าเรือ การก่อสร้างสถานีอนามัยตำบลโพธิ์เอนแห่งที่สอง ผลักดันงบประมาณก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างอำเภอท่าเรือ-อำเภอนครหลวง เพื่อมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา การบำรุงซ่อมแซมเส้นทางท่องเที่ยวสายนครหลวง-บ้านไผ่หนองต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมีดอรัญญิก การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอท่าเรือเพื่อเชื่อมเทศบาลท่าเรือเข้ากับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสักที่ตำบลโพธิ์เอน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางแก่ประชาชนและความสะดวกในการรักษาความสงบในชุมชน การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าสักที่อำเภอนครหลวงเพื่อเชื่อมอำเภอภาชี นครหลวง และบางปะหัน เข้ากับถนนสายเอเชีย การขยายเส้นทางสายเอ 32 หรือสายเอเชียเป็นถนนนซุปเปอร์ไฮเวย์ที่มุ่งสู่ภาคเหนือ ผลักดันงบประมาณในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลมากกว่า 200 แห่งรวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลให้กลายเป็นระบบประปาหมู่บ้านและตำบล นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการจำนำข้าวเปลือกให้แก่เกษตรกร บทบาทในสภาผู้แทนราษฎรที่ส่งผลต่อกฎหมายระดับชาติที่สำคัญคือ การแก้ไขกฎกระทรวงคมนาคม เพื่ออนุญาตให้รถกระบะขนาดไม่เกินหนึ่งตันสามารถวิ่งได้บนถนนหลวงโดยสามารถให้เป็นรถโดยสารส่วนบุคคลได้มาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้นายมนตรี พงษ์พานิช ยังถือได้ว่าเป็นส.ส.คนแรก ๆ ที่พยายามผลักดันการขยายเขตไฟฟ้าเข้าสู่พื้นที่ในท้องถิ่นห่างไกล รวมถึงการผลักดันไฟฟ้าส่องสว่างตามทางสาธารณะในชนบทซึ่งในอดีตเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ถือเป็นเรื่องยากสำหรับการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในชนบท
มนตรี พงษ์พานิช เป็นได้ชื่อว่าเป็นศิษย์รักของปรมาจารย์ซอยสวนพลู "หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช"[3] เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลายสมัย ตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2539 รวม 9 สมัย เป็นอดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม นอกจากนี้แล้วยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2524) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2529)[4] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2529)[5] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2531)[6] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2538) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2539) และรองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535 , 2539)[7][8][9]
มนตรี พงษ์พานิช เป็นผู้มีบทบาทสำคัญภายหลังจากรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ถึงกาลล่มสลาย นายมนตรี พงษ์พานิช นำพรรคกิจสังคม มาจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล "ชวน 2" ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วการเมือง
การตรวจสอบทรัพย์สินของคณะ รสช.
แก้ในการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ปรากฏว่านายมนตรี พงษ์พานิช เป็น 1 ใน 10 นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ในครั้งนี้จำนวนกว่า 336.5 ล้านบาท [10]แต่ในที่สุดศาลยุติธรรมก็ได้พิพากษาให้คืนทรัพย์สินทั้งหมดแก่นายมนตรี ในเวลาต่อมาภายหลังคณะรสช.และเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
ปั้นปลายของชีวิต
แก้ในช่วงปลายชีวิตนายมนตรี พงษ์พานิช ป่วยเป็นมะเร็งปอด ที่รุมเร้าอย่างหนักจนสุขภาพทรุดโทรม จึงค่อยๆ ลดบทบาทตัวเองลงในเวทีการเมือง ประกอบกับเกิดปัญหาภายในพรรคกิจสังคม นายมนตรีจึงลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบที่บ้านซอยพรรณีจนกระทั่งเสียชีวิต [11]
รางวัลและเกียรติยศ
แก้- พ.ศ. 2529 ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก มนตรี พงษ์พานิช[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[15]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง
แก้- ↑ A Timeline of Thai Railways เก็บถาวร 2008-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2bangkok.com
- ↑ รู้จัก “มนตรี พงษ์พานิช” เป็นอะไรกับ “เสริมศักดิ์” และ “ปรีชาพล” อดีต หน.ไทยรักษาชาติ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-10-19.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายโกศล ไกรฤกษ์ นายประยูร จินดาศิลป์ นายผัน บุญชิต นายโอภาส พลศิลป ลาออก นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และตั้ง พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ลาออก ให้นายมนตรี พงษ์พานิช เปลี่ยนตำแหน่ง และตั้งนายสันติ ชัยวิรัตนะ)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ http://www.ryt9.com/s/refb/193985/
- ↑ เบื้องหลัง “โฮปเวลล์” 29 ปีความหวังพังทลาย กับตัวละครที่ชื่อ “มนตรี พงษ์พานิช”
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-10-19.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/169/22.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
ก่อนหน้า | มนตรี พงษ์พานิช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (7 พฤศจิกายน 2529 – 4 สิงหาคม 2531) |
สุบิน ปิ่นขยัน | ||
เสนาะ เทียนทอง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540) |
สมศักดิ์ เทพสุทิน |