ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 สายบางปะอิน–แยกหลวงพ่อโอ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธาน เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 150.545 กิโลเมตร ในอนาคตมีโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 สายบางปะอิน-นครสวรรค์ โดยใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32
ถนนสายเอเชีย
แผนที่
Thailand AH1 AH2 Route 32 Ayutthaya.JPG
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ
ความยาว150.545 กิโลเมตร (93.544 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2509 (ตามราชกิจจานุเบกษา) และ พ.ศ. 2516–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ ถ.พหลโยธิน / ถ.กาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ใน อ.บางปะอิน จ.อยุธยา
 
ปลายทางทิศเหนือ ถ.พหลโยธิน ใน อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

เส้นทาง

แก้
 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 แยกออกจากถนนพหลโยธิน ที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 ในอำเภอบางปะอิน และอำเภอวังน้อย
 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 บริเวณทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เริ่มต้นบนถนนพหลโยธิน และถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 ในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าขึ้นไปทางเหนือ ผ่านนิคมอุตสาหกรรมไฮ-เทค เข้าสู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา ผ่านศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค ผ่านอำเภออุทัย ข้ามแม่น้ำป่าสักในตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง ไปตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ในอำเภอบางปะหัน (ช่วงนี้มี 12 ช่องจราจร แบ่งเป็นช่องทางหลัก 8 ช่อง และทางคู่ขนาน 4 ช่อง) จากนั้นมุ่งขึ้นไปทางเหนือ เข้าสู่จังหวัดอ่างทอง ผ่านอำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอไชโย เข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี ผ่านอำเภอพรหมบุรี, อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภออินทร์บุรี จากนั้นเข้าสู่จังหวัดชัยนาท ผ่านอำเภอสรรพยา, อำเภอเมืองชัยนาท และบรรจบกับถนนพหลโยธิน ที่แยกหลวงพ่อโอ ในอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท (ช่วงนี้มี 8 ช่องจราจร)

ประวัติ

แก้

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายทางหลวงสายเอเชีย โดยทางหลวงสายนี้เป็นทางหลวงเอเชียสาย 1 (แม่สอด-ตาก-พยุหะคีรี-บางปะอิน-หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี-อรัญประเทศ) และทางหลวงเอเชียสาย 2 (แม่สาย-เชียงราย-พิษณุโลก-นครสวรรค์-บางปะอิน-กรุงเทพฯ-นครปฐม-เพชรเกษม-หาดใหญ่-สะเดา) ตามลำดับ แต่เดิมเป็นเพียงทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรสวนทาง และมีด่านเก็บค่าผ่านทางที่บางปะอิน บางปะหัน พรหมบุรี และสรรพยา เพื่อนำมาเป็นเงินทุนสำรองค่าธรรมเนียมผ่านทาง สำหรับนำไปชดใช้ดอกเบี้ยเงินกู้ และบูรณะทางหลวง เช่นเดียวกับถนนมิตรภาพ (ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา) ถนนบางนา-บางปะกง และถนนพระรามที่ 2 ในสมัยนั้น (คล้ายกับทางหลวงพิเศษ) แต่เมื่อนายจรัส พั้วช่วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ประกาศยกเลิกเก็บค่าผ่านทางช่วงปี 2537 ทำให้ด่านต่าง ๆ กลายสภาพเป็นด่านร้างในที่สุด บ้างก็ถูกดัดแปลงเป็นสำนักงานแขวงการทาง, หมวดการทาง และด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุก[1]

ทางหลวงสายนี้ได้ขยายเป็น 4 ช่องจราจรเมื่อปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2537 โดยได้มีการสร้างทางแยกต่างระดับตามจุดต่าง ๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี อินทร์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี และยกเลิกการเก็บค่าผ่านทาง และในปี พ.ศ. 2549 กรมทางหลวงได้ทำการขยายช่องจราจรเป็น 6-8 ช่องจราจรไป-กลับ ปัจจุบันแล้วเสร็จทั้งโครงการ ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ได้นับหลักกิโลเมตรที่ 0 จากต่างระดับบางปะอิน แต่เดิมนั้นได้นับหลักกิโลเมตรจากถนนพหลโยธินมา

ทางแยกที่สำคัญ

แก้
รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ทิศทาง: บางปะอิน−มโนรมย์
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  บางปะอิน−มโนรมย์
พระนครศรีอยุธยา 0+000 ทางแยกต่างระดับบางปะอิน   ถนนพหลโยธิน ไป กรุงเทพมหานคร     ถนนพหลโยธิน ไป สระบุรี
    ถนนกาญจนาภิเษก ไป อ.บางบัวทอง, จ.กรุงเทพ ไม่มี
1+363   ถนนอุดมสรยุทธ์ ไป อ.บางปะอิน ไม่มี
14+543   ทล.356 ไปบรรจบ   ทล.347 ไม่มี
18+400 ทางแยกต่างระดับอยุธยา   ถนนโรจนะ เข้า จ.อยุธยา   ถนนโรจนะ ไป อ.อุทัย อ.วังน้อย
26+858 สะพาน ข้ามแม่น้ำป่าสัก
30+870 สะพาน ข้ามแม่น้ำลพบุรี
35+432 ทางแยกต่างระดับบางปะหัน   ทล.347 ไป จ.ปทุมธานี   ทล.347 ไป อ.บางปะหัน, อ.ภาชี, จ.ลพบุรี
37+970 ทางแยกนครหลวง   ทล.33 ไป อ.ป่าโมก, จ.สุพรรณบุรี   ทล.33 ไป อ.ภาชี, จ.สระบุรี
จุดขึ้น-ลงบางปะหัน (2)   ทล.พ.53 (โครงการในอนาคต) ไป แจ้งวัฒนะ, ดินแดง, พระราม 9 ไม่มี
อ่างทอง 50+001 ทางแยกต่างระดับอ่างทอง   ทล.334 เข้า จ.อ่างทอง   ถนนอ่างทอง-ท่าเรือ ไป อ.มหาราช, อ.ท่าเรือ
สิงห์บุรี 84+000 ทางแยกต่างระดับสิงห์บุรีใต้   ทล.311 เข้า จ.สิงห์บุรี   ทล.311 ไป จ.ลพบุรี
87+596 ทางแยกต่างระดับสิงห์บุรีเหนือ   ทล.335 เข้า จ.สิงห์บุรี ไม่มี
106+500 ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ไม่มี   ทล.11 ไป อ.ตากฟ้า
ชัยนาท 131+595 ทางแยกต่างระดับชัยนาท   ถนนพหลโยธิน เข้า จ.ชัยนาท   ถนนพหลโยธิน ไป อ.ตาคลี
138+800 แยกหางน้ำสาคร   ทล.3212 ไป อ.มโนรมย์   ทล.3212 ไป สถานีรถไฟหนองโพ
150+545 แยกหลวงพ่อโอ   ถนนพหลโยธิน ไป ชัยนาท ไม่มี
ตรงไป:       ถนนพหลโยธิน ไป จ.นครสวรรค์
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้