ประจวบ ไชยสาส์น

ประจวบ ไชยสาส์น (20 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 1 เมษายน พ.ศ. 2563) อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม อดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในรัฐบาลชวน หลีกภัย และรัฐมนตรีหลายกระทรวง และเป็นบิดาของต่อพงษ์ ไชยสาส์น[1] และจักรพรรดิ ไชยสาส์น

ประจวบ ไชยสาส์น
ประจวบ ในปี พ.ศ. 2502 ภาพตอนเรียนกับ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(0 ปี 343 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าอำนวย วีรวรรณ
ถัดไปสุรินทร์ พิศสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(0 ปี 17 วัน)
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้ามารุต บุนนาค
ถัดไปปิยะณัฐ วัชราภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(0 ปี 207 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้านิพนธ์ พร้อมพันธุ์
ถัดไปมนตรี พงษ์พานิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม 2531 – 22 พฤศจิกายน 2533
(2 ปี 105 วัน)
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน
ถัดไปเจริญ คันธวงศ์
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 8 กันยายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้านาวาโท เดชา สุขารมณ์
ถัดไปสุชน ชามพูนท
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ชูชีพ หาญสวัสดิ์
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
มนตรี พงษ์พานิช
หัวหน้าพรรคเสรีธรรม
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2543 – 6 กันยายน พ.ศ. 2544
ก่อนหน้าพินิจ จารุสมบัติ
ถัดไปยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย
นายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ดำรงตำแหน่ง
16 กันยายน พ.ศ. 2546 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
(9 ปี 235 วัน)
ก่อนหน้าประภาศน์ อวยชัย
ถัดไปวิรัช ชินวินิจกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 สิงหาคม พ.ศ. 2487
อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย
เสียชีวิต1 เมษายน พ.ศ. 2563 (75 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองแนวร่วมประชาธิปไตย (2511–2518)
ชาติไทย (2518–2527)
ประชาธิปัตย์ (2527–2535)
ชาติพัฒนา (2535–2540)
เสรีธรรม (2540–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
คู่สมรสทองพูน ไชยสาส์น (หย่า)
ทับทิม ไชยสาส์น
บุตร7

ประจวบ เป็นที่รู้จักกันในฉายา "อีดี้อีสาน"[2]

ประวัติ

แก้

นายประจวบ ไชยสาส์น เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2487 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] สมรสกับนางทองพูน ไชยสาส์น มีบุตร 4 คน คือ จารุภรณ์ ไชยสาส์น จักรพรรดิ ไชยสาส์น ต่อพงษ์ ไชยสาส์น จิราภรณ์ ไชยสาส์น และได้หย่าในภายหลัง

ต่อมาประจวบ สมรสกับ นางทับทิม ไชยสาส์น มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ วชิระ ไชยสาส์น อัจฉรา ไชยสาส์น และสุดารัตน์ ไชยสาส์น

งานการเมือง

แก้

นายประจวบ ไชยสาส์น เข้าสู่การเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี หลายสมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2529 ในตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[5] กระทรวงสาธารณสุข[6] กระทรวงการต่างประเทศ[7] กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทบวงมหาวิทยาลัย

นายประจวบ ไชยสาส์น เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคการเมืองหลายพรรค อาทิ รองเลขาธิการพรรคแนวประชาธิปไตย กรรมการพรรคแนวร่วมประชาธิปไตย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม และต่อมาได้ตัดสินใจยุบพรรคเสรีธรรม รวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

การถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

แก้

ในปี พ.ศ. 2549 นายประจวบ ไชยสาส์น ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8] อีกด้านหนึ่งนายประจวบ ไชยสาส์น ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

นายประจวบ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 7 สมัย

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัด พรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัด พรรคชาติพัฒนา
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัด พรรคชาติพัฒนา
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัด พรรคชาติพัฒนา

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

นายประจวบ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563[9] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ต่อพงษ์ ไชยสาส์น
  2. "เซปิง-ไชยสาส์น ไฮโซลูกทุ่ง (คนงาม)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-05. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  3. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  8. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.
  9. สิ้นแล้ว ”ประจวบ ไชยสาส์น” อดีต รมต.หลายกระทรวง เจ้าของฉายา "อีดี้อีสาน"
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
ก่อนหน้า ประจวบ ไชยสาส์น ถัดไป
มารุต บุนนาค    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(22 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533)
  ปิยะณัฐ วัชราภรณ์
พินิจ จารุสมบัติ   หัวหน้าพรรคเสรีธรรม
(15 กันยายน พ.ศ. 2543 – 6 กันยายน พ.ศ. 2544)
  ยุบพรรค