นายสุชน ชามพูนท อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย

สุชน ชามพูนท
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
8 กันยายน – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าประจวบ ไชยสาส์น
ถัดไปสุธรรม แสงประทุม
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี
ไพจิตร เอื้อทวีกุล
มีชัย วีระไวทยะ
สายสุรี จุติกุล
ถัดไปมีชัย วีระไวทยะ
สายสุรี จุติกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ นิพนธ์ พร้อมพันธุ์
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าศุภชัย พานิชภักดิ์
ประภัตร โพธสุธน
ถัดไปตนเอง
ชวลิต ธนะชานันท์
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ชวลิต ธนะชานันท์
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าตนเอง
นิพนธ์ พร้อมพันธุ์
ถัดไปวีรพงษ์ รามางกูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กรกฎาคม พ.ศ. 2480
อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
เสียชีวิต3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (81 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองสังคมชาตินิยม (2521 - 2522)
ชาติไทย (2522 - 2540)
ชาติพัฒนา (2540 - 2547)
พลังประชาชน (2548 - 2551)
เพื่อไทย (2551 - 2561)
คู่สมรสนางเปรมฤดี ชามพูนท

ประวัติ แก้

นายสุชน ชามพูนท เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 เป็นบุตรของนายศักดิ์ชัย กับ นางเสริมศรี ชามพูนท มีพี่น้อง 7 คนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์บัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร[1]

ด้านครอบครัวนายสุชน ชามพูนท สมรสกับนางเปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีเทศบาลนครพิษณุโลก

งานการเมือง แก้

นายสุชน ชามพูนท เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 12 สมัย เคยลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก[2] ต่อมาจึงเปลี่ยนมาลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ และแบบสัดส่วน นายสุชน เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองพิษณุโลกระหว่างปี พ.ศ. 2509 - 2510 ก่อนจะได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2512 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2518 แต่ไม่ได้รับเลือก[3] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2526 เขาสังกัดพรรคชาติไทยและได้รับเลือกตั้งต่อมาหลายสมัย เขายังได้รับเลือกให้เป็นกรรมการบริหารพรรคในปี พ.ศ. 2527[4] และรองเลขาธิการพรรคในปี พ.ศ. 2530[5] นายสุชน ยังเคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 2 สมัยในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย[6][7] รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[8] ในปี พ.ศ. 2535 เขาเข้าร่วมพรรคชาติพัฒนา และได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2538[9] เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย

เมื่อปี พ.ศ. 2554 ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[10][11] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่ง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557[12]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

สุชน ชามพูนท ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมทั้งสิ้น 12 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 พิษณุโลก ไม่สังกัดพรรคการเมือง
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 พิษณุโลก สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 พิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 พิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 พิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 พิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 พิษณุโลก สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 พิษณุโลก สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 พิษณุโลก สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  10. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พิษณุโลก สังกัดพรรคไทยรักไทย
  11. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  12. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน สังกัดพรรคพรรคพลังประชาชน

งานการศึกษา แก้

สุชน ชามพูนท เคยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนจังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2529 ในชื่อ วิทยาลัยบัณฑิตพิษณุโลก[13] แต่ก็ได้ยุติการดำเนินกิจการในปี พ.ศ. 2534[14]

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

นายสุชน ชามพูนท ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561[15] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมาชิกรัฐสภา[ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพิษณุโลก - สถาบันพระปกเกล้า
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคชาติไทย
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคชาติไทย ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  9. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคชาติพัฒนาเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค (รวม ๔๔ คน)
  10. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 170/2555 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  11. ครม.ตั้งพัลลภ-โอฬาร-สุชน-บิ๊กตุ้ยเป็นที่ปรึกษานายกฯ เก็บถาวร 2011-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก เดลินิวส์
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (นายสุชน ชามพูนท)
  13. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยบัณฑิตพิษณุโลก (จัดตั้งโดย นายสุชน ชามพูนท ใบอนุญาตที่ ๓/๒๕๒๙ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๒๙)
  14. คำสั่งทบวงมหาวิทยาลัย ที่ ๒/๒๕๓๘ เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งวิทยาลัยบัณฑิตพิษณุโลก
  15. มะเร็งตับอ่อนคร่า 'สุชน ชามพูนท' อดีต รมต.-ส.ส. 14 สมัย
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๐
  19. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๗ จากเว็บไซต์ thaiscouts