ใหม่ ศิรินวกุล
ใหม่ ศิรินวกุล (15 มีนาคม พ.ศ. 2482 – 16 กันยายน พ.ศ. 2536) นักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 5 สมัย
ใหม่ ศิรินวกุล | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 29 เมษายน พ.ศ. 2531 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ชุมพล ศิลปอาชา | |
ก่อนหน้า | ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ |
ถัดไป | ไสว พัฒโน |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป |
|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป |
|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มีนาคม พ.ศ. 2482 อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ |
เสียชีวิต | 16 กันยายน พ.ศ. 2536 (54 ปี) |
คู่สมรส | ประภาวรรณ ศิรินวกุล |
บุตร | 4 คน |
ประวัติ
แก้ใหม่ ศิรินวกุล เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2481 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2482) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [1]
ใหม่ ศิรินวกุล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2536 สิริอายุรวม 54 ปี
งานการเมือง
แก้ใหม่ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ ในการเลือกตั้งซ่อม พ.ศ. 2525 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535
ใหม่ ศิรินวกุล ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 15 ต่อมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[2] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ใหม่ ศิรินวกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2525 (เลือกตั้งซ่อม) จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘, ๒ สิงหาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๙, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒