ประยูร สุรนิวงศ์

ประยูร สุรนิวงศ์ (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 4 สมัย

ประยูร สุรนิวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สมาน ภุมมะกาญจนะ
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าสมาน ภุมมะกาญจนะ
ถัดไปวีระ สุสังกรกาญจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476
อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ประเทศสยาม
เสียชีวิต29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (65 ปี)
พรรคการเมืองปวงชนชาวไทย
คู่สมรสวีนัส สุรนิวงศ์

ประวัติ

แก้

ประยูร สุรนิวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 เป็นบุตรคนโต ของนายเมธี กับนางคำบุ้น สุรนิวงศ์ มีน้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ปริญญาโทสาขาเดียวกัน จาก มหาวิทยาลัย Indiana ประเทศสหรัฐอเมริกา[1]

ประยูร สมรสกับนางวีนัส สุรนิวงศ์ (สกุลเดิม : ปัทมดิลก) มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ นายปณิธิ สุรนิวงศ์ และ นางสาวอรวิชชา สุรนิวงศ์

การทำงาน

แก้

หลังจากจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรประโยคครูประถม ประยูรได้ทำการสอนในโรงเรียนในจังหวัดอุดรธานี

ต่อมาเข้าเริ่มรับราชการที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน เมื่อปี พ.ศ. 2500 หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาโท ก็ได้ย้ายไปสอนที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ระหว่างนั้นได้ไปช่วยราชการที่วิทยาลัยครูเทพสตรี แล้วก็ย้ายกลับไปสอนที่ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร

จนกระทั่งได้โอนไปเป็นอาจารย์ที่คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ก่อนที่จะลาออกใน พ.ศ. 2512 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปีนั้น แต่เมื่อไม่ได้รับเลือกตั้งจึงกลับเข้ารับราชการตามเดิม และได้ลาออกจากราชการอีกครั้งใน พ.ศ. 2518 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง[2]

งานการเมือง

แก้

ประยูร ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 4 สมัย[3]

ประยูร ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 (ครม.45)[4] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 (ครม. 46) ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[5]

ประยูร เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับเลียง ไชยกาล ในชื่อพรรคประชาชน และเป็นกรรมการบริหารพรรค[6] ต่อมาเข้าร่วมงานกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย[7] ต่อมาเป็นเลขาธิการพรรค[8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ประยูร สุรนิวงศ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคพลังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคพลังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย (พ.ศ. 2525)

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

ประยูร สุรนิวงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 สิริอายุ 65 ปี 3 เดือน 5 วัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
  2. ประวัติครู ๑๖ มกราคม ๒๕๖๓. สำนักงานเลขาครุสภา. 2563
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาชน)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/171/86.PDF
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑