ไสว พัฒโน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2477 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงคมนาคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 8 สมัย

ไสว พัฒโน
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
(2 ปี 204 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ธนา เมตตาริกานนท์
ก่อนหน้าใหม่ ศิรินวกุล
ถัดไปเชาวน์วัศ สุดลาภา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสุวิทย์ คุณกิตติ
ถัดไปร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้ามนตรี พงษ์พานิช
ถัดไปไตรรงค์ สุวรรณคีรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2536
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าหม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู
ถัดไปพินิจ จารุสมบัติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2477
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เสียชีวิต8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (84 ปี)
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2512–2561)
คู่สมรสละเอียด พัฒโน

ประวัติ

แก้

ไสว พัฒโน เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2477[1] ณ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 4 ของปลื้ม กับกนกวรรรณ พัฒโน (สกุลเดิม สุดสุข) มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา,โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนราชินี แล้วจบจากปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับละเอียด พัฒโน (สกุลเดิม ทองเลิศ) มีบุตรชาย คือ ไพร พัฒโน อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่

งานการเมือง

แก้

อดีตประกอบอาชีพทนายความ และเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด 2 สมัย ก่อนที่จะได้รับการชักชวนโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ให้มาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2518 แต่ในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2519) ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ [2]

ไสว พัฒโน ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[3] ต่อมาได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลชวน หลีกภัย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2535[4] และต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 เขาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[5] แทนสุวิทย์ คุณกิตติ ซึ่งถูกปรับออกจากตำแหน่ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ไสว พัฒโน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

ไสว พัฒโน ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สิริอายุรวม 84 ปี [6] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ วัดโคกนาว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายไสว พัฒโน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีเล่ม 110 ตอนที่ 146 วันที่ 24 กันยายน 2536
  6. 'ไสว พัฒโน'อดีต รมว.ยุติธรรม-อดีตสส.สงขลา 8 สมัยเสียชีวิตแล้ว
  7. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗