สันติ ชัยวิรัตนะ
นายสันติ ชัยวิรัตนะ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 7 สมัย และเป็นพี่ชายของ ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.
สันติ ชัยวิรัตนะ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ |
เสียชีวิต | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (54 ปี) อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย |
คู่สมรส | กัลยา ชัยวิรัตนะ[1] |
ประวัติ
แก้สันติ ชัยวิรัตนะ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488[2] เป็นบุตรของนายฮวด และ นางอ่องแอ ชัยวิรัตนะ จบการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล [3]
สันติ ชัยวิรัตนะ เสียชีวิตด้วยการถูกคนร้ายบุกยิง ณ สำนักงานบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 สิริอายุรวม 54 ปี
งานการเมือง
แก้อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองชัยภูมิ ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 7 ครั้ง
สันติ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย คือ ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.44)[4][5] และ ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (ครม.45)[6][7] ซึ่งหลังจากนั้นเขาได้ออกมาเปิดโปงการทุจริตคอร์รัปชันจนเป็นที่ฮือฮามากที่สุดในรอบปี 2533 ว่ารัฐมนตรีของพรรคกิจสังคม ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ต้องการหาเงินเข้าพรรคจำนวน 500 ล้านบาท แต่เนื่องจากตนเป็นรัฐมนตรีใหม่จึงไม่สามารถหาเงินเข้าพรรคได้ตามจำนวนที่สั่ง จึงเกิดปัญหา และยังระบุว่า ผู้ใหญ่ในพรรคสอนวิธีให้ทุจริต[8]
ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร (ครม.48)[9][10]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สันติ ชัยวิรัตนะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคประชาไทย → พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ รู้จักคน รู้จักข่าว สุนทรี ชัยวิรัตนะ, ไทยรัฐ
- ↑ ประวัติย่อ นายสันติ ชัยวิรัตนะ
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ลาออก ให้นายมนตรี พงษ์พานิช เปลี่ยนตำแหน่ง และตั้งนายสันติ ชัยวิรัตนะ)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 45 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ฉายารัฐบาลชาติชาย คอร์รัปชันทานไม่อั้น หนึ่งในข้ออ้างรัฐประหาร 2534[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐